สรุป PS 706



แนวคำตอบ
1.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่าเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดโครงสร้างส่วนบนโดยให้นำเอาข้อมูล ข้อเท็จจริงในสังคมนำมาคัดค้านหรือสนับสนุน
-- เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า เศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดโครงสร้างส่วนบน จากสภาพการณ์ของการเมืองไทยในปัจจุบัน นั้นจะเห็นว่ามีนักธุรกิจพ่อค้าซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีเข้ามาสู่เวทีทางการเมืองเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับคนที่ไม่มีฐานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่สามารถที่จะก้าวขึ้นสุ่เวทีการเมืองได้ง่ายนักหรือขึ้นมาได้ก็ด้วยการสนับสนุนของผู้มีเงินหรือมีอำนาจทางเศรษฐกิจดี จะเห็นได้จากมีนักการเมืองหน้าใหม่จำนวนมากที่ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีเลยซึ่งจะต่างจากบางคนที่ไม่ค่อยมีฐานะทางเศรษฐกิจดี เป็น ส.ส.มาหลายสมัยแต่ไม่เคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีสักทีเพราะพรรคการเมืองแต่ละพรรคนั้นจะต้องมีนายทุนพรรคให้การสนับสนุน การที่ใครจะได้ตำแหน่งตำแหน่งอะไรต้องเป็นไปตามที่นายทุนพรรคเป็นผู้กำหนด ซี่งนี้ก็สามารถกล่าวได้ว่า ผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นผู้คุมอำนาจทางการเมือง(โครงสร้างส่วนบน)ซึ่งก็เป็นไปตามทฤษฎีของมาร์กซ์ หรือจะดูจากวิวัฒนาการของการเมืองไทยนั้นก็จะทราบว่าตั้งแต่การปกครองแบบอมาตยาธิปไตย บุคคลที่มีบทบาททางการเมืองก็คือข้าราชการที่มีที่ดินจำนวนมากซึ่งถือว่าเป็นการกุมอำนาจทางเศรษฐกิจในสมัยนั้นจะเป็นผู้ปกครองหรือโครงสร้างส่วนบนของประเทศด้วย และในปัจจุบันนี้ที่ พ.ต.ท.ทักษิน ชินวัตรก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะกุมอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำไมคนที่เป็น ส.ส.มาก่อนคุณทักษินซึ่งมีจำนวนมากที่ความรู้ความสามารถและเป็น ดอกเตอร์ ……นั่นคือเศรษฐกิจกำหนดโครงสร้างส่วนบนทางแนวทางของ Marx
2.จริงหรือไม่ที่ว่าการเมืองไทย พรรคการเมืองไทย รวมทั้งนักการเมืองไทย จะมีความสัมพันธ์กันในแบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นปัญหาในการพัฒนาการเมืองไทยหรือไม่ อย่างไร ให้ใช้ข้อเท็จจริงในสังคมมาวิเคราะห์
จริงที่ว่าการเมืองไทย พรรคการเมืองไทย รวมนักการเมืองไทยมีความสัมพันธ์กันแบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์ในพรรคการเมืองไทยก็จะเป็นในรูปแบบอุปถัมภ์ ดังจะเป็นจากบทบาท Drug allegation reflects role of big money in political (เอกสารประกอบการบรรยาย)ที่กล่าวว่าพรรคการเมืองไทยจะถูกครอบงำโดยผู้อิทธิพล(มืด)และนายทุนใหญ่ บริษัทต่างๆอาจจะบริจาคเงินให้พรรคได้ไม่จำกัดจำนวน และพรรคก็จะหลีกเลี่ยงที่จะเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินและการใช้จ่ายเงินที่ไม่ชัดเจน ทำให้พรรคการเมืองไทยเป็นพรรคการเมืองของเอกชนหรือของบุคคลใดคนหนึ่ง และเป็นการเมืองที่วิสาหกิจที่ฉ้อฉล ซึ่งก็หมายความว่าพรรคการเมืองนั้นแทนที่จะเป็นของประชาชนทำงานเพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคมแต่กลับไปทำงานเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของใครบางคน ทั้งนี้ก็เพราะบุคคลที่ให้เงินทุนพรรคสนับสนุนพรรคเพราเป็นเพียงบุคคลบางกลุ่มบางคนเท่านั้น เมื่อได้รับเลือกตั้งหรือได้รับจัดตั้งรัฐบาลก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานเพื่อตอบแทนนายทุนพรรคบุคคลนั้นหรือกลุ่มนั้น ซึ่งการพึ่งพากันในเชิงอุปถัมภ์ หรือในบทความเรื่องThe patron-client relationship in Thai political ที่พูดถึงความสัมพันธ์ระนายทุนพรรคกับลูกพรรค โดยอ้างคำพูดของคุณเลียง ไชยกาฬ ถึงความสัมพันธ์ของหัวหน้าพรรคกับสมาชิกพรรคหางแถว ว่าเป็นลักษณะของต้นไม้ใหญ่ก็ต้องมีนกมาอาศัย มากถ้าเมื่อใดต้นไม้เหี่ยวแห้งไร้ผลไร้ใบ นก(น้อย แก่)ก็ต้องหาที่พึ่งให้เช่นพรรคความหวังใหม่ กับพรรคไทยรักไทยในปัจจุบัน การที่บุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคก็หวังให้พรรคดูแล อุปถัมภ์ทั้งในรูปของชื่อเสียงเงินทอง และตัวผู้สมัครที่จะชนะการเลือกตั้งก็ต้องมีความสามารถในการอุปถัมภ์ ดูแลประชาชนด้วย และเมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วก็ต้องตอบแทนพรรคโดยการปฏิบัติตามมติพรรคอย่างเคร่งครัด…..
3.วิกฤตเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากอะไร จึงวเคราะห์ปัญหาดังกล่าวโดยใช้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นกรอบในการพิจารณา และเสนอแนะทางการแก้ไข …สาเหตุสำคัญของวิกฤตเศรษฐกิจไทยเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตจากภาคเกษตรมาเป็นภาคอุตสาหกรรม จากอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เปลี่ยนจากการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งก็ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำงให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอยู่ในระดับสูงเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งไม่มีประเทศใดทำได้ในโลกนี้ จนทำ UN ได้นำไปปรับใช้พัฒนาประเทศในแอฟริกา รายได้เพิ่มจาก 2,100 บาทต่อปี ในปี 2504 เป็น 68,000 บาทในปี 2538 เพิ่มขึ้นถึง 32 เท่าตัว ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สัดส่วนความยากจนลดลง แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยนั้นเป็นลักษณะของการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมในพื้นฐานที่แข็งแรงพอที่จะรองรับปัญหาต่างๆที่มาควบคู่กับความเจริญ เช่น
1.ปัญหากระจุกตัวของเมือง รายได้ที่ห่างกันระหว่างเมืองกับชนบท ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย นับวันก็ยิ่งห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ
2.ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เลื่อมโทรม
3.ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดเริ่มขาดแคลน
4.การก้าวกระโดดของภาคการเงินที่ขยายตัวตามภาคการผลิตทำให้ระบบการเงินแปรปรวน เช่นการปล่อยสินเชื่อ อย่างผิดปกติ ของสถาบันการเงิน ทำให้เกิดความล้มเหลวของสถาบันการเงิน เกิดภาวะหนี้เสีย ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะการชะลอตัวทรงเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจเริ่มส่อเค้าเกิดวิฤตอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ กรณี BBC และการล้มของ ทรัชต่างๆ อาจจะสรุปได้ว่าปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไทยก็เพราะการพัฒนาที่เป็นการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด ไม่มีพื้นฐานที่แข็งแรงพอที่จะรองรับปัญหาต่างๆได้คือเป็นการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวไม่ได้สนใจการพัฒนาด้านอื่นดังที่ได้มีคำกล่าวว่า การพัฒนาจากแผนฯ 1 - 7 นั้น ว่า" เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน" เมื่อทราบว่า " เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน" วิธีการแก้ไขปัญหาก็คือ จะต้องทำให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนคือเน้นการพัฒนามาที่ คน เมื่อคนได้รับการพัฒนาที่ดีคนซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับการพัฒนาก็จะไปพัฒนาด้านอื่นได้เองดังที่ได้กำหนดเอาไว้ในแผน ฯ 8 แล้วยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) นั้นคือการพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งการพัฒนาคน พัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ ดังนี้ พอเพียง คือการทำพอประมาณไม่มากไปหรือน้อยไป นั่นคือไม่ได้หมายความว่าเราจะหยุดการพัฒนา แต่จะเดินด้วยความระมัดระหวังมีเหตุมีผล หลักสมดุล จะต้องพัฒนาในรูปขององค์รวม มีเสถียรภาพ มีความหลากหลายและยั่งยืน ภูมิคุ้มกัน จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อมีปัญหาจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เช่นการฉีดวัดซีน ว่าซั้น…ว้า.. และการพัฒนาตามทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เกิดสังคมที่มีความเข้มแข็งและสมดุลใน 3 ประการ คือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญา และสังคมที่มีความสมานฉันท์โดยมุ่งการพัฒนาไปที่ 1. การพัฒนาคน คุณภาพชีวิต และคุณค่าวัฒนธรรมไทย โดยการสร้างคนให้เป็นคนดีมีความสามารถ สามารถยืนหยัดแข่งขันได้ในเวทีต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สามารถทำตัวให้เป็น กระปลอมได้
2.การสร้างเสริมเครือข่ายชุมชน เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม โดยเริ่มที่สถาบันครอบครัวพัฒนาความมั่นคงทางจิตใจและความเอื้ออาทรต่อกัน
3.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลก วางรากฐานเศรษฐกิจให้มีความมั่นคงระยะยาวให้เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเกษตรกับอุตสาหกรรมและการบริการ สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นการสร้างแนวทางเศรษฐกิจ อันเป็นการช่วยเสริมการพัฒนารากฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศในระยะยาว
5.ปรับระบบการบริหารจัดการของประเทศ
4.ความยากจนของคนในชนบท และความล้มเหลวในการสร้างประชาธิปไตยของไทยมีสาเหตุมาจากอะไร จงวิเคราะห์โดยใช้โครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมืองเป็นกรอบในการพิจารณา และเสนอแนวทางแก้ไข
ความยากจนของคนในชนบทก็เนื่องมาจากที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2503 ซึ่งประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 มาจนถึง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่7(2539)ประเทศไทยจะมุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ในช่วงแรกเน้นอุตสาหกรรมการส่งออก และมาปี 2523 ก็เริ่มหันมาหันใจอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า คือผลิตภายในประเทศและจำหน่ายภายในประเทศแต่ก็ล้มเหลวเพราะขาดตลาดรองรับ เพราะโครงสร้างของประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งส่งเสริมเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีอยู่เฉพาะในเมืองหลวงหรือบริเวณโดยรอบไม่ได้กระจายอยู่ทั่วประเทศจึงทำให้รายได้ระหว่างคนเมืองกับชนบทนั่นมีความแตกต่างกันมากและยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการ อพยพ แรงงานจากชนบทเข้าสู่เมือง เฉพาะรายได้ภาคการเกตรกรรมไม่ดี
สาเหตุของการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยล้มเหลวก็เพราะตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นผู้ปกครองประเทศก็จะอยู่ในแวดวงของข้าราชการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นทหาร ซึ่งเรียกการปกครองที่ว่านั้นคือ อมาตยาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบที่อำนาจการปกครองอยู่ขึ้นอยู่กับข้าราชการ คนที่เข้าไปกุมอำนาจทาง การบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการจะมาจากข้าราชการประจำทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นทหาร ในปี 2514 ถึงกับมีการกำหนดให้รัฐมนตรีต้องเป็นทหาร และในระบบการเมืองไทยนั้นจะอยู่ภายใต้วงจรอุบาทก์มาตลอด คือ

นั่นคือการพัฒนาการเมืองไทยนั้นก็มีปัญหามาโดยตลอดตั้งแต่ประเทศเปลี่ยนแปลงการกครองในปี 2475 ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเพื่อแสวงหาการปกครองทีดี ก็คือประชาธิปไตย ที่เชื่อกันว่า "เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุด" แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยมาเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ก็จะไม่ก้าวหน้าที่ที่ควรก็จะวนเวียนอยู่วงจรอุบาทว์ซ้ำแล้วซ้ำอีกก็เพราะการพัฒนาการเมืองไทยกระทำไปอย่างไม่สมดุลและไม่รอบด้าน จนทำให้ประชาชนคิดว่าการปกครองในสมัยนั้นเป็นเรื่องของทหาร ไม่เกี่ยวอะไรกับชาวบ้าน เดี๋ยวก็มีการปฏิวัติรัฐประหาร ประชาชนจึงไม่ให้ความสนใจการปกครองสักเท่าใด และเมื่อเข้ามากุมอำนาจปกครองแล้วก็จะสร้างประโยชน์สร้างความร่ำให้กับตนเองและพวกพ้องเท่านั้นไม่สนใจประชาชน จึงเท่ากับประชาชนไม่สนใจการเมือง ผู้ปกครองบ้านเมืองก็ไม่สนใจประชาชน การพัฒนาประชาธิปไตยก็ล้มเหลวด้วยประการฉะนี้…….. 5.ให้วิเคราะห์การปฏิรูปการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ2540 เป็นประเด็นมาให้เข้าใจ โดยแยกแยะจากสภาพปัญหามาสู่การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ 2540 สามารถแยกเป็นประเด็นได้ดังนี้


การปฏิรูปพรรคการเมือง การปฏิรูป สภา ส.ส. การปฏิรูป ส.ว.
1.ส.ส.ต้องสกัดพรรคการเมือง
2.15คนตั้งพรรคการเมืองได้ (รธน.238(1))180 วัน หาสมาชิก 5 ห้าขึ้น(พรบ.29)
3.ต้องทำให้พรรคเป็นประชาธิปไตย ( รธน.47 ว.2,3)
4.ให้เงินอุดหนุนพรรค(รธน.328(5))
5.ตรวจสถานะทางการเงินพรรค( รธน.326(6))
การเลือกตั้ง ส.ส.แต่ก่อนเสียงข้างมากแบ่งเขตเรียงเบอร์ ส่วนระบบใหม่ใช้แบบผสม เขตเดียวเบอร์และ บัญชีรายชื่อพรรค โดยมองว่า
- ระบบไม่มีความเสมอภาคบางเขตเลือกตั้งได้ 1 คนบางเขตเลือกได้ 3 คน ระบบใหม่เลือกได้เท่ากัน One man one vote
- ระบบเสียงข้างมากคะแนนตกน้ำ ระบบใหม่มาคิดปาร์ตี่ลิสท์
- Party list เป็นระบบให้คนดีไม่มีเงิน หาเสียงไม่เก่ง ได้เข้ามาทำงานการเมือง
- ห้าม สส.เป็น รมต.
- เปลี่ยนจากระบบแต่งตั้งมาเป็นระบบเลือกตั้ง
-ห้าม สว.สกัดพรรค ห้ามหาเสียง ให้มีหน้าที่ 3 ประเภท
1.ยับยั้งร่าง กม.ที่ผ่าน สส.
2.แต่งตั้งถอดถอน องค์กรอิสระ
3.ถอดถอนนักการเมือง
- ใช้เขต จว.เป็นเขตเลือกตั้ง เลือกได้ 1 คน

การปฏิรูปกระวนการนิติบัญญัติ 1. ขยายสมัยประชุมสามัญ จาก 90 วัน เป็น 120 วัน เพื่อให้ สส.ได้ทำหน้าที่นิติบัญญัติ เพิ่มมากขึ้น 2. แยกสมัยประชุมสามัญทั่วไปกับสามัญนิติบัญญัติ ทำทุกอย่างเหมือนกันยกในสมัย สามัญนิติบัญญัติห้ามอภิปรายไม่ไว้วางใจ 3. แต่มีเฉพาะกระทู้แห้ง เดี๋ยวนี้กำหนดให้มีกระทู้สด ยื่นเช้า ตอบบ่าย ถามได้ 3 ครั้ง เวลา 12 นาที 4. เพื่อให้กระบวนการนิติบัญญัติทำงานอย่างต่อเนื่องและคล่องตัวมากขึ้น เมื่อมีการยุบ สภา ร่าง กม.ถึงขั้นใดก็ให้พิจารณาต่อโดยให้ ครม.และสภาเห็นชอบ โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ 5. รธน.40 ห้าม สส.เป็น รมต.ในขณะเดียวกัน 6. ให้นักศึกษาายกตัวอย่างกลุ่มหรือองค์กรประชาสังคมที่อยู่ใกล้ตัวนักศึกษามา 1 องค์กรโดยให้อธิบายว่าองค์กรดังกล่าวคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายในเรื่องอะไรและนักศักษาเห็นด้วยกับท่าที่ขององค์กรนั้นหรือไม่เพราะอะไร และให้เสนอความเห็นว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้นอย่างไร? สมัชชาคนจน เป็นการรวมตัวกันโดยมีสถานะทางกฎหมายไม่ชัดเจนนั่นคือ ไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแต่ประการใด สมัชชาคนจนจึงไม่ได้มีความสัมพันธ์กับรัฐอย่างใกล้ชิด การจัดตั้งเป็นไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาคมเป็นหลัก สมัชชาคนจน เป็นเครือข่ายองค์กรประชาชนผู้ประสบชะตากรรมเดียวกัน อันเนื่องมาจากแนวทางการพัฒนาประเทศที่มุ่งสู่ความเป็นอุตสาหกรรม ละเลยภาคเกษตรกรรม แนวทางการพัฒนากระแสหลักนี้ได้นำมาซึ่งการล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติ คนจนซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคมถูกละเลย ชุมชนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ทรัพยากรถูกทำลาย และตกอยู่ในมือของคนส่วนน้อย ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยหลักของเกษตรกรถูกแย่งชิง การประกาศใช้นโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าทับที่ทำกินของชาวบ้าน การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ทำลายทรัพยากรและทำลายชุมชน ที่ทำกินผืนสุดท้ายต้องอยู่ใต้ผืนน้ำที่เรียกว่าเขื่อน คนหนุ่มสาวถูกภาวะการทางเศรษฐกิจที่บีบรัดให้ต้องเข้ามาขายแรงงานในเมือง อันเป็นที่มาของการขูดรีดแรงงาน ชุมชนแออัด รัฐกลับไม่เหลียวแล การพัฒนาเกษตรแผนใหม่ที่เน้นการใช้สารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ได้ทำลายสภาพดินและสภาพแวดล้อม ขณะที่เกษตรกรรมที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ เช่น เกษตรปลอดสารเคมี เกษตรผสมผสาน เกษตรยั่งยืน วนเกษตร กลับไม่ได้รับการเหลียวแล คนจนเหล่านี้จึงได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระดมความคิด เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ทั้งปัญหาในระดับปากท้องที่เกี่ยวข้องกับตนเองและปัญหาในระดับโครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม ปรับเปลี่ยนนโยบายและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม ความยั่งยืนของชุมชนและสภาพแวดล้อม กลุ่มสมัชชาคนจนจะคัดค้านนโยบายรัฐทุกนโยบายที่รัฐบาลกำหนดแล้วเป็นผลกระทบต่อสมาชิกกลุ่มสมัชชาคนจน เครือข่ายของชาวบ้านผู้ได้รับชะตากรรมผลกระทบจากแนวทางการพัฒนาประเทศ ที่มุ่งสู่ความเป็นอุตสาหกรรมละเลยภาคเกษตรกรรม แนวทางการพัฒนากระแสหลักนี้ได้ก่อสงครามการแย่งชิงทรัพยากร ธรรมชาติระหว่างภาครัฐ ธุรกิจ บรรษัทข้ามชาติ และสนธิสัญญาทางการค้าที่เอารัดเอาเปรียบ กับชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นทั้งในชนบทและในเมือง โครงการพัฒนาของรัฐรูปแบบต่างๆ ได้รุกรานวิถีชีวิตชุมชน ทำลายวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายอดีตและปัจจุบันของคนจนเหล่านี้ นำมาสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมกันแก้ไขปัญหาในระดับปากท้องของตนเองและปัญหาในระดับนโยบาย กฎหมาย และโครงสร้างสังคม เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม ความยั่งยืนของชุมชนและสภาพแวดล้อม โดยมีเครือข่ายคนจนต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายลุ่มน้ำหรือเครือข่ายเขื่อน เครือข่ายปัญหาป่าไม้ เครือข่ายปัญหาที่ดิน เครือข่ายปัญหาโครงการของรัฐ เครือข่ายผู้ป่วยจากแรงงาน เครือข่ายชุมชนแออัด เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ องค์กรพัฒนาเอกชนภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เขมร อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปิน เนปาล และไทยเนื่องจาก สมัชชาคนจน มีลักษณะเป็น "เครือข่าย" อำนาจตัดสินใจในการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมตัวแทนกรณีปัญหา เรียกว่า "พ่อครัวใหญ่" โดยมีนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน เป็นที่ปรึกษา และมีพันธมิตรเป็นเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน องค์กรแรงงาน สถาบันวิชาการ นักศึกษา สิ่อมวลชน องค์กรในภาคธุรกิจฯ ร่วมสนับสนุน และต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐเป็นปัญหาร่วมของคนทุกชั้นชน กระผมเห็นด้วยกับท่าทีของกลุ่มสมัชชาคนจนในบางเรื่องที่เป็นเรื่องที่เรียกร้องเพื่อประโยชน์ของคนจนซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มจริงๆถ้าไม่เป็นการเรียกร้องเพื่อหวังผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม เช่น เห็นด้วยกับ ข้อเรียกร้องการแก้ไขเศรษฐกิจโดยไม่ให้กระทบต่อประชาชน กล่าวคือ 1)ห้ามผลักภาระอันเกิดจากความผิดพลาดของภาคธุรกิจเอกชนและรัฐบาล ไปให้ประชาชนด้วยการขึ้นภาษี ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทางตรงและทางอ้อม เช่น ภาษีน้ำมัน (ค่าขนส่ง/สินค้าแพงขึ้น) แต่ให้เรียกเก็บภาษีชนิดอื่น เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย เป็นต้น 2)หนี้สินที่ภาคเอกชนเป็นผู้ก่อขึ้น(70 พันล้านดอลล่าร์) เอกชนต้องรับผิดชอบ แต่ขณะนี้ได้ผลักภาระไปให้ประชาชนด้วยมาตรการงบประมาณและภาษี ประชาชนจึงควรได้รับผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินด้วย ในฐานะผู้ร่วมแบกรับภาระที่ไม่ได้ก่อ 3)เงินที่กู้ IMF มา (17,200 ล้าน ดอลลาร์) งบประมาณที่กู้มาส่วนหนึ่งต้องแก้ไขปัญหาคนจน คนว่างงาน ภาคการเกษตร ประเทศไทยไม่ใช่มีแค่ปัญหาสถาบันการเงิน หนี้เอกชน และค่าเงินบาท รัฐบาลต้องดำเนินการจัดให้มีทางเลือกที่เหมาะสม เช่น จัดหาที่ดินพื้นที่รกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินเอกชนให้ประชาชน จัดสรรน้ำให้ภาคเกษตร ส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยังชีพ 4)การอาศัยเงื่อนไขIMF เพื่อกู้เงินWorld Bank และAsian Development Bank (ADB) มาช่วยเหลือ กรณีการขาดสภาพคล่อง การส่งสินค้าออก และการว่างงาน 300 ล้านดอลลาร์ ต้องให้คนจนมีส่วนเข้าถึงเงินเหล่านี้ ไม่ใช่ได้รับเพียงเศษเงิน ข้อเรียกร้องข้างต้นถือว่าเป็นผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และเพื่อประโยชน์ของคนจนโดยแท้ แต่ข้อเรียกร้องบางก็ไม่เห็นด้วยตัวอย่างข้อเรียกร้องของกลุ่มสมัชชาคนจน เช่นกรณี เขื่อนปากมูลสมัชชาคนจนที่ต้องการให้มีการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 8 บาน เพื่อคืนอาชีพชาวประมงให้กับประชาชน ซึ่งเดิมทีนั้นประชาชนเหนือเขื่อนจะมีอาชีพในการทำประมงพอนั้นความเดือดร้อนจากการสูญเสียอาชีพประมงที่ชาวบ้านต้องประสบหลังจากเขื่อนเสร็จสิ้น โดยการจ่ายจ่ายชดเชยให้ครอบครัวละ 90,000 บาท แต่ด้วยสาเหตุจำนวนปลาจากแม่น้ำโขงลดลงเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วการเรียกร้องค่าชดเชยจึงกลายเป็นค่าชดเชยสำหรับการสูญเสียอาชีพอย่างถาวรรัฐบาลพล.อ.ชวลิต มีมติให้ชดเชยการสูญเสียอาชีพถาวรเป็นที่ดินครอบครัวละ 15 ไร่ แต่เมื่อไม่สามารถหาที่ดินมาจัดสรรให้ได้ จากที่ดินจึงแปรสภาพกลายเป็นตัวเงินโดยมีมูลค่าไร่ละ 35,000 บาทแต่แล้วความฝันก็พังสลายเมื่อรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ลาออก รัฐบาล ชวน หลีกภัย ขึ้นมาบริหารประเทศ พร้อมกับมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 21 เมษายน 2541 ไม่จ่ายค่าชดเชยให้กับเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้ว สัญญาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเคยได้รับจึงถูกยกเลิกไปโดยปริยายเมื่อเห็นว่าการเรียกร้องเป็นตัวเงินในยุคเศรษฐกิจขาลงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก กลุ่มผู้ชุมนุมในนามสมัชชาคนจนจึงเปลี่ยนข้อเรียกร้องใหม่ เป็นการให้ กฟผ. เปิดประตูระบายน้ำ เพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขงขึ้นมาวางไข่ ซึ่งนำไปสู่การฟื้นฟูอาชีพประมง และวิถีชีวิตที่สูญเสียไปให้กลับคืนมาอย่างยั่งยืน ในข้อเรียกร้องข้างต้นนั้นกระผมไม่เห็นด้วย เพราะปรากฎข้อเท็จจริงว่าประชาชนได้รับเงินค่าชดเชยที่ดินที่ที่ถูกน้ำท่วมได้รับเงินไปแล้วแต่ก็ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม เช่น มา 1 ล้านบาทก็นำไปแบ่งให้ลูกๆคนละแสนสองแสน นำไปซื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ และในที่สุดเงินก็ถูกใช้หมดไปพอมีความเดือนร้อนก็ตั้งกลุ่มเรียกร้องว่าให้เปิดประตูน้ำทั้ง 8 บานเพื่อคืนอาชีพการประมงให้กับประชาชนเพื่อเรียกวิถีชีวิตแบบเดิมกลับมา การทดลองเปิดบานประตูระบายน้ำทั้ง 8 บาน ที่เขื่อนปากมูล เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระดับท้องถิ่น ที่มีผลกระทบต่อปัญหาระยะยาวในระดับประเทศ นับเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมเพราะเป็นการแก้ปัญหาเก่าด้วยการสร้างปัญหาใหม่ ควรแก้ปัญหาด้วยการสร้างงาน ให้ราษฎรชาวแม่มูลมั่นยืน มากกว่าการ พึ่งปลาธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการฝึกอาชีพต่าง ๆ เช่น ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้ กฟผ. หรือเป็นน้ำมันเติมรถ หรือการส่งเสริมการท่องเที่ยวหรือแม้กระทั่งการปรับปรุงบันไดปลาโจน ให้เหมาะสมกับชนิดของปลาที่จะกระโจน ภาครัฐเพียงแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้จบ ๆ กันไปตามหน้าที่ แต่ไม่ได้มีการวางโครงสร้างไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อชดเชยเงินให้พวกเขาแล้ว เงินก้อนโตนั้นควรจะนำไปใช้กันอย่างไร เพื่อให้มันสามารถเป็นทุนชีวิตได้ยาวนานองค์กรพัฒนาเอกชนเองก็ไม่ได้มีการให้ความรู้กับชาวบ้านในแง่นี้เท่าที่ควร"เขื่อน" ที่มีอยู่เกือบทั่วประเทศไทยไม่ใช่แค่ปากมูล จึงต้องมีปัญหาตามมาเสมอ ๆ แม้จะไม่มีการลุกขึ้นมาคัดค้านกันจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต แต่สิ่งที่พวกเขาผู้เสียสละต้องประสบก็คือ ความยากจนแบบถาวร แทบจะลืมตาอ้าปากกันไม่ได้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องทบทวนโครงการก่อสร้างเขื่อนที่กำลังจะก่อตัวขึ้นในอนาคตทั้งหมดหรือประเทศไทยไม่ควรมีการสร้างเขื่อนอีกต่อไปการเรียกร้องของสมัชชาคนจนที่ต้องการให้มีการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 8 บาน แม้ว่าจะไม่มีใครรับรองได้ว่า มันจะสามารถคืนชีวิตให้สายน้ำมูลแห่งนี้ได้ เพราะมันอาจเป็นการแก้ไขในระยะสั้นที่จะช่วยบำบัดสภาพน้ำ "ผลกระทบเท่าที่รู้ตอนนี้ ด้านบนน้ำแห้ง แต่ชาวบ้านจะมีน้ำใช้หรือเปล่าไม่รู้" หากมีการเปิดประตูเขื่อนทั้ง 8 บานตามมติคณะรัฐมนตรีหลังคณะรัฐมนตรีมีมติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการลดระดับน้ำเหนือเขื่อน และใต้เขื่อน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พบว่า ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรและระบบสูบน้ำเพื่อประปาของหมู่บ้านไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากปั๊มลอยอยู่เหนือน้ำ ความจริง กฟผ.ได้มีการประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากมีการเปิดเขื่อนไว้แล้ว โดยเอกสาร "ความจริงที่เขื่อนปากมูล" โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ กฟผ.ได้จัดทำไว้ตั้งแต่ มิ.ย. 43 ได้มีการจำแนกความเสียหายไว้เป็นด้าน ๆ ดังนี้ด้านเกษตรกรรม สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 29 สถานี เพื่อส่งน้ำไปให้ราษฎรที่ทำการเพาะปลูกในฤดูแล้ง รวมไปถึงการทำนาปีกรณีฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง หรือต้องการน้ำเพื่อตกกล้าก่อนฤดูกาล ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 43,730 ไร่จะได้รับผลกระทบโดยตรงผู้เลี้ยงปลาในกระชังบริเวณลำน้ำมูล 1,189 กระชังที่สำรวจไว้เมื่อ เม.ย. 43 ผลิตปลานิลได้ 4,280,400 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 171,216,000 บาท เมื่อระดับน้ำลดต่ำจะทำให้น้ำบริเวณก้นกระชังเน่าเสียเป็นพิษต่อปลา และปลาจะขาดออกซิเจนตายหมดส่วนผู้เลี้ยงปลาในบ่อริมลำน้ำมูล 170 ราย ในพื้นที่ 85 ไร่ ซึ่งอาศัยเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจะมีน้ำไปใช้น้อยลงหนอง ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ แหล่งวางไข่ของสัตว์น้ำบริเวณเหนือเขื่อนจะหายไปทันที รวมถึงสวนผัก ผลไม้ริมน้ำก็จะมีน้ำใช้น้อยลงกุ้งก้ามกรามที่ กฟผ.ปล่อยไว้บริเวณเหนือเขื่อนกว่า 3 ล้านตัวจะไหลลงสู่แม่น้ำโขงทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันสามารถจับกุ้งได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 350-500 บาทด้านความเป็นอยู่ของประชาชนตามริมแม่น้ำมูล ระบบประปาในหมู่บ้านจะได้รับความเสียหาย เนื่องจากน้ำแห้งจนแพสูบน้ำไม่สามารถทำงานได้แม้ว่าผลกระทบที่กล่าวมาชาวบ้านจะได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แต่ผลกระทบหลักที่ กฟผ.กังวลก็คือในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะปริมาณน้ำเหนือเขื่อน 130 ล้านลูกบาศก์เมตรที่ปล่อยออกไปจะสามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 3,234,125 หน่วย มูลค่ากว่า 6 ล้านบาทและ หากไม่มีการเดินเครื่องจะสูญพลังงาน 1,340,000 หน่วยต่อวัน คิดเป็นเงิน 2.6 ล้านบาท รวมทั้งปีประมาณ 560 ล้านบาทและจุดสำคัญอีกอย่างคือ เขื่อนปากมูลเป็นตัวที่ทำให้แรงดันไฟฟ้าในภาคอีสานตะวันออกสมบูรณ์ โดยเฉพาะอุบลราชธานีที่เปรียบเสมือนอยู่ปลายท่อน้ำประปา แรงดันบางครั้งมีไม่พอจนทำให้ไฟตกไฟดับได้ ซึ่งรวมไปถึงยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และศรีสะเกษซึ่งตอนนี้ กฟผ.ก็ต้องไปซื้อไฟฟ้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว เพื่อมาป้อนให้กับทั้ง 5 จังหวัด 6 วันต่อสัปดาห์ ยกเว้นก็เพียงวันอาทิตย์นั่นหมายความว่า หากไม่มีเขื่อนปากมูล 5 จังหวัดในภาคอีสานตะวันออก อาจมีไฟฟ้าใช้แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น และอาจส่งผลให้อาจต้องใช้ไฟที่แพงขึ้นเนื่องจากต้นทุนในการผลิตที่เปลี่ยนไป จากพลังน้ำที่ราคาถูกที่สุดไปเป็นน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นทุกวันสำหรับวิถีชีวิตคนเมืองนี่อาจเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องหาทางแก้ไข สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีเขื่อนปากมูลเห็นควร เห็นควรยืนยันโครงการเดิม แม้จะมีการต่อต้านเพราะมองว่าเป็นโครงการที่ดีตามเหตุผลข้างต้น โดยปฏิบัติดังนี้ 1.ต้องยอมรับว่านโยบายนั้นก่อให้เกิดปัญหาจริงๆ ยอมรับความกังวลของชาวบ้านจะได้คุยกันรู้เรื่อง 2.จะต้องเสนอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ในการค้นหาข้อเท็จจริงที่มีความสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่ 3.ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องยื่นข้อเสนอให้ประชาชนได้รับทราบว่าโครงการมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไร การเสียโอกาศในการทำมาหากิน 4.ในการเกิดปัญหาจริงโครงการจะต้องรับผิดชอบและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในแนวทางแก้ไข 5.ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องทำตัวน่าไว้ใจติดดิน 6.จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวแม้โครงการจะเสร็จไปแล้วเพื่อการแก้ไขปัญหาในอนาคต 7.. นายพนมไพร ปารมี รหัส 4322800629 เลขที่ 29 วิชา PS 706 สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียติจังหวัดอำนาจเจริญ เสนอ อาจารย์ สนธิ์ บางยี่ขัน จากปาฐกถาของนายกฯถ้าท่านเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีท่านจะแนะนำให้นายกฯแก้ไขปัญหาของชาติและส่วนตัวอย่างไร? นายกรัฐมนตรีมองวาประเทศไทยในขณะนี้มีปัญหาคอร์รั่ปชั่นรัฐบาลจึงได้ประกาศทำสงครามกับคอร์รั่ปชั่น ปัญหาระบบราชการ ปัญหาการเมือง ปัญหาการศึกษา ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม .. ถ้ากระผมเป็นที่ปรึกษานายกฯจะเสนอแนะนำปัญหากับท่านนายกรัฐมนตรี ดังนี้ - ปัญหาคอร์รั่ปชั่นนั้นจะต้องมีการปฏิรูปการเมืองโดยการพัฒนานักการเมืองจาก "นักการเมือง อาชีพเป็นรัฐบุรุษ" คือต้องเป็นการกระทำการบริหารที่มองถึงคนในรุ่นต่อๆไปในอนาคตไม่ใช่มองแค่บริหารอย่างไรถึงจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ในสมัยหน้า - ปัญหาระบบราชการทำงานล่าช้า ซ้ำซ้อน เสนอให้ปรับโครงสร้างระบบราชการใหม่ คือให้กระทรวง ทบวง กรม และราชการในส่วนกลาง ให้เป็นการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อน ให้มีการติดต่อประสานการทำงานได้ทั้งในแนวระดับ และแนวดิ่ง โดยไม่คำนึงถึงสายการบังคับบัญชา ทำลายกำแพงกั้นระหว่ากระทรวง ทบวง กรมต่างๆออกให้หมด ให้สามารถมองผ่านปัญหาต่างๆในแต่ละหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง และมีหน้าที่รับผิดชอบงานที่เป็นระบบ ทำอย่างมีการวางยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน - ปัญหาด้านการเมือง เสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540เน้นให้คนมีความรู้ความสามารถ หาเสียงไม่เก่ง ไม่มีเงิน แต่มีความรู้ความสามารถได้เข้ามาบริหารทำงานเพื่อบ้านเมือง การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีจะต้องเอาจากบัญชีรายชื่อพรรค เพราะเท่ากับเป็นการประกาศแล้วว่าบุคคลเหล่านี้แหล่ะคือ รัฐมนตรี.ตัวจริงและประชาชนก็ได้เลือกแล้ว ไม่ควรจัดตั้งแบบตามโควต้า เพราะเข้าไปแล้วก็ทำงานไม่ได้ เดี๋ยวก็กลายเป็น รมต.ข้าวนอกนา และที่สำคัญจะต้องมีการพัฒนานักการเมือง จากนักการเมืองมืออาชีพเป็น รัฐบุรุษให้ได้ คือทำงานเพื่อบุคคลในรุ่นต่อไปอีกอย่างน้อย 20 ปี ข้างหน้าไม่ใช่เพื่อ 4 ปี ข้างหน้าที่จะเลือกตั้งใหม่ - การพัฒนาประชาธิปไตย จะต้องเป็นการพัฒนาเพือให้ประชาชนได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองจริงๆ การเรียกร้องสิทธิต่างๆจะต้องรู้หน้าที่จะต้องรับผิดชอบด้วย เพราะถ้ารู้แต่สิทธิ์แต่ไม่รู้หน้าที่ถือว่าเป็นปัญหาสำหรับการพัฒนาประชาะปไตย เพราะเป้าหมายสำคัญของประชาธิปไตยก็คือความผาสุกของประชาชน คือผลสุดท้ายประชาธิปไตย ก็คือการให้มาซึ่งการปกครองที่ดีนั่นเอง การที่ประชาชนมาอยู่ร่วมกันก็เพื่อหาตัวแทนมาดูแลไม่ต้องการให้คนผู้มีอิทธิพลมีอำนาจมากกว่ามารังแก - 2 - - ปัญหาการบริหาร ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญมากกท่านนายกรัฐมนตรี ต้องทำการ Re - Management โดยจะต้องมีการปรับการบริหาร ปรับกลไก ปรับองค์กร ใหม่ และต้องมีวิธีการมองปัญหาใหม่คือ 1. ผู้นำองค์กรจะต้องกล้าเสี่ยงที่จะตัดสินใจบริหารงานเพื่อองค์กรไม่ต้องกลัวความผิดพลาดถ้าเป็นการทำงานเพื่อองค์กรเพื่อประชาชนเพราะคนทำงานทุกคนต้องผิดพลาดแต่จะผิดน้อยกว่าถูกถ้าผิดมากกว่าถูกก็แสดงว่าผู้นั้นทำงานไม่มีประสิทธิ์ภาพ 2. แก้ไขปัญหาการบริหารจัดการองค์กรที่ล้าสมัยคือมีการระดมความคิดเห็นร่วมกันโดยให้สมาชิกขององค์กรได้มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา 3. ลักษณะการแก้ไขปัญหาต้องจัดการทำงานที่เป็นเครือข่าย คือมีการติดต่อประสานงานกันได้ทั้งแนวระดับ และแนวดิ่งโดยไม่ยึดสายการบังคับบัญชาที่เข้มงวดนัก เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อน และการบริหารงานที่ไม่ต่อเนื่อง 4. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงจะต้องเป็นดังนี้ -ผู้นำจะต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง - จะต้้องรู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร - ฝ่ายการเมืองจะต้องให้การสนับสนุนกับการเปลี่ยนแปลงนั้น - การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องมองไปที่

นั่นคือเป้าหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลง การแก้ไขปัญหาในอนาคตจริงๆต้องทำอย่างมียุทธศาสตร์คือจะต้องมีการร่วมกันวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้ราชการประจำตั้งแต่ระดับอธิบดีขึ้นไป ในการแก้ไขปัญหาไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาวันต่อวัน ที่สำคัญจะต้องมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการพัฒนานั่นคือจะต้องมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้ประสบปัญหาจริงๆเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาโดยให้หน่วยงานระดับ กระทรวง ทบวง กรมเป็นแค่หน่วยวิชาการในการวางยุทธศาสตร์ หน่วยปฏิบัติควรเป็นระดับจังหวัดลงไปจนถึงท้องถิ่นระดับล่าง ถ้าจะพูดตามท่านนายกรัฐมนตรี ก็คือ ตัวต้องโต หัวต้องเล็ก ทุกวันนี้ข้าราชการในกระทรวง หรือส่วนกลางมากกว่าฝ่ายปฏิบัติเสียอีก - การแก้ไขปัญหาระบบราชการ จะต้องมีการให้้มีการทำงานแบบแข่งขันกันต้องทำงานอย่างมียุทธศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงานที่แท้จริงคือท้องถิ่นที่ประชาชนอาศัยอยู่ส่วนในระดับ 3 อธิบดีขึ้นไปให้ไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาร่วมกับฝ่ายการเมือง สำหรับผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นต้องทำเป็นระบบราชการ E - Government คนวางยุทธศาสตร์จะต้องรู้จริง คือจะต้องมีทั้งนักวิชาการและประชาชนเจ้าของปัจจัยการทรัพยากรรู้ถึงแนวทางการพัฒนาของตนเองด้วย สำหรับการแก้ไขปัญหาการศึกษานั้นจะต้องให้าการปฏิรูการศึกษาใหม่โดยเน้นการการเรียนการสอนที่นักศึกษาคิดเป็นไม่ใช่การสอนให้ท่องจำ จะต้องมีการสร้างเอกลักษณ์ของความเป็นไทยเพื่อการแข่งขันในเวทีโลกจะต้องมีการพัฒนาการศึกาษาให้เป็นมืออาชีพ คือต้องเป็นการศึกษาให้รู้จริง เป็นการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ในยุคโลกาภิวัตน์ ไม่สามารถหยุดการเรียนรู้ได้แม้แต่วินาทีเดียว ในด้านเศรษฐกิจ ต้องหันมาให้การส่งเสริมคนไทยให้มีการผลิตแบบสไตน์ไทยๆไม่ยึดแบบ East Asian Model แต่ต้องหันมาพึ่งเราเอง คือ 1. ต้องทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง 2. ต้องการมีการสร้างผู้ประกอบการใหม่และส่งเสริมผู้ประกอบการเก่าให้เข้มแข็ง 3. แก้ไขปัญหาความยากจนที่รากหญ้า เพราะว่าความยากจนเปรียบเสมือนร่างกายที่ขาดภูมิคุ้มกัน - ต้องมีการปรับฐาน เศรษฐกิจ ให้เข้าแข็งออะไรไม่ดีก็ต้องยุบเลิกไปในการปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจโดยการปรับการบริหาร แบบเมเป็นการบริหารที่มียุทธศาสตร์ โดยไม่มีผนังกำแพงระหว่างกระทรวง ทบวง กรมมากั้น สิ่งที่ต้องปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจคือ 1.การปรับโครงสร้างทางอุตสาหกรรม 2. การปรับโครงสร้างทางเกษตรกรรม 3.การมองทิศทางในเรื่องของวิทยาศาสตร์เพื่อจะไปเชื่อมโยงกับการผลิตกับการผลิตของลูกหลานของเราเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างทาง เศรษฐกิจของประเทศ มองไปที่การเปลี่ยนแปลงไปของระบบโลก ส่วนปัญหาเรื่องส่วนตัวนั้นอยากให้ท่านยอมรับในการตัดสินของ ศาล รัฐธรรมนูญ เพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันการเมืองตามที่ รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้และอยากให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนจริงๆ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้เป็นนายกฯ แต่พรรคไทยรักไทยก็ยังอยู่และสามารถจัดตั้งรัฐบาลต่อไปได้เพราะ เราไม่ได้ยึดความบุคคลแต่ยึดอุดมการณ์ของพรรค และเพื่อข้อเสนอแนะทั้งหมดข้างต้น เพื่อให้การแก้ปัญหาการพัฒนาการเมืองของไทยเป็นไปอย่างยั่งยืนสมควรนำปรัชญาต่อไปนี้มาพิจารณาในการกำหนดนโยบายต่างๆด้วยคือ 1.ปรัชญาแห่งอิสระภาพและเสรีภาพ คือคนไทยเป็นคนรักอิสระเสรีไม่ชอบการถูกบังคับดังจะเห็นว่าชาติไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นใคร การจะกำหนดนโยบายใดในการพัฒนา เศรษฐกิจ 4 สังคมการเมืองไทย จะต้องคำนึงถึงอิสระภาพ และเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก ถ้ามีลักษณะการบังคับคนไทยจะชอบฝ่าฝืน จะต้องทำพอประมาณ 2.ปรัชญาแห่งสันติภาพ คนไทยจะไม่ชอบแข่งขันกับใครไม่ชอบรุกรานใครไม่ชอบเป็นศรัทตรูกับใคร การทำการค้าก็ทำแค่พอกินไม่เบียดเบียนใคร อยู่กันแบบเครือญาติแบบพี่แบบน้อง อยู่ร่วมกันแบบเอื้ออาทรกันและกัน ดังนั้นการกำหนดนโยบายใดควรที่ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะหากนโยบายใดไปขัดกับวิถีชีวตของพวกเขาจะไม่ให้ความร่วมมือและต่อต้าน 3.ปรัชญาแห่งการเอาตัวรอด คนไทยเป็นคนที่ชอบเอาตัวรอดแต่ไม่เบียดเบียนคนอื่นก็คือจะชอบพึ่งตนเองเป็นหลักดังนั้นการกำหนดนโยบายใดควรที่จะเอาหลักนี้ประกอบการพิจารณาให้ ประชาชนได้ร่วมคิดด้วย และจะต้องให้เขาพึ่งตัวเองให้ได้ 4.ปรัชญาแห่งการหลุดพ้น คือเป็นปรัชญาที่ตรงกับพุทธศาสนา จึงสามารถนำมาปรับใช้ในการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมคือ เราจะรับปรัชญาแห่งความหลุดพ้นในระดับการปฏิบัติ ได้ทั่วกัน คือ เราต้องตั้งจุดหมายว่า สังคมไทยหรือคนไทย จะต้องหลุดพ้นจากความโง่ คือรู้หนังสือ และความคิดเป็นของตนเอง อย่างมีเหตุผล หลุดพ้นจากความจน คือ การมีอันจะกิน หลุดพ้นจากความเสื่อมโทรต่างๆ หลุดพ้นจากแอกต่างๆทั้งภายในชาติไทยและระหว่างชาติ ---------
สวัสดีครับ
โชคดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0