สรุปวิชา PS705

สรุปวิชา PS705/ไปดูรายงานหน่อย/

LO = Learning Organization (องค์การแห่งการเรียนรู้) เป็นแนวคิดที่สืบเนื่องมาว่าองค์การจะเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อคนในองค์การต้องเรียนรู้ก่อน การเรียนรู้ในองค์การจึงหมายถึงการเรียนรู้ของบุคคล การเรียนรู้ของทีมงาน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ขององค์การ และพัฒนาไปเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้(Learning Organization )หรือองค์การอัจฉริยะ โดยมีจุดเริ่มต้นจาก 1.การเรียนรู้ของคนในองค์การซึ่งมีลักษณะของ KUSA 1)Knowledge การเรียนรู้เพื่อให้บุคคลเกิดความรู้ในหลักการต่างๆ โดยการมีแนวคิดหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนั้น 2) Understand เมื่อเกิดความรู้แล้วก็ต้องมีความเข้าใจในหลักการนั้นๆจนสามารถวิเคราะห์ตีความได้ ถ่ายทอดสิ่งที่ตนรู้ได้ 3) Skill เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจแล้วก็ฝึกฝนจนเกิดทักษะ ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับต้น ทำสิ่งต่างๆภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ( ซี 1) ระดับกลาง ทำงานบางได้เอง ภายใต้การควบคุมดูแลอยู่ห่างๆ (ซี 2) ระดับสูง ทำงานทุกอย่างได้เองโดยไม่ต้องมีการควบคุมดูแล (พวกผู้บริหารหรือสายงานที่เริ่มต้นจาก ซี 3 ) 4) Attitude ทัศนะคติ เป็นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลในเข้ากับแบบแผนการปฏิบัติงานขององค์การ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งยังศึกษาความคิดเห็นของคนอื่นด้วย 2.การเรียนรู้ของทีม เมื่อแต่ละคนมีการเรียนรู้และมาจับกลุ่มกันเป็นทีมงานก็เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันทำงานและประคับประคองการทำงานให้ไปสู่เป้าหมาย. 3.การเรียนรู้ขององค์การ เมื่อผ่านขั้นตอนการเรียนของบุคคล การเรียนรู้ของทีมงาน ก็จะนำไปสู่การเรียนรู้ขององค์การ องค์การที่มีการเรียนรู้นั้นเรียกว่า องค์การอัจฉริยะ องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้ของบุคคล(Personal Learning) การเรียนรู้ของทีมงาน(Team

แนวคิดขององค์การแห่งการเรียนรู้ Learning Organization องค์การแห่งการเรียนรู้มีความสำคัญมากเน้นการเรียนรู้ของบุคคล ทีมงาน และการเรียนรู้ขององค์การ มีการพัฒนาศักยภาพของคนในการทำงาน นั่นคือการสร้างความพึ่งพอใจในการทำงาน และพัฒนาทัศนะคติในการทำงาน แนวคิดของ LO ประกอบด้วย 1.องค์การจะเรียนรู้ได้โดยผ่านบุคคลในองค์การที่มีความสนใจใฝ่รู้ (Organizations learn only through individual who learn 2. การเรียนรู้ของแต่ละคนก็ไม่ใช่จะเป็นหลักประกันว่านะเกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นได้ แต่ถ้าไม่มีการเรียนรู้ของบุคคลองค์การแห่งการเรียนรู้ก็เกิดขึ้นไม่ได้(Individual learning does not it no organization learning occurs) 3.ดังนั้นต้องมีการเรียนรู้ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ OK ( Do learn while your earn ) หลักพื้นฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ของ ปีเตอร์ เทนจี นักวิชาการของสถาบัน MIT บอกว่าหลักพื้นฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้มีอยู่ 5 ประการคือ

1.Personal Mastery คือการรอบรู้แห่งตน องค์การจะเกิดการเรียนรู้ไม่ได้ถ้าหากคนไม่มีการเรียนรู้ ความรอบรู้แห่งตนจะมีองค์ประกอบอยู่ 2 ประการคือ การกำหนดเป้าหมายที่จะทำ และ ต้องมีวิถีทางที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นต้องทำอย่างไร เป้าหมายนั้นจะต้องครอบคลุมถึงเป้าหมายตลอดชีวิตของคนที่กำหนดถึงความต้องการ และการก้าวไปสู่ความสำเร็จตามแนวทางที่วางไว้ การเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ซึ่งเป็นเสมือนวงล้อของการเรียนรู้(Wheel of Learning) ที่จะต้องหมุนไปตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แห่งตน โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องกระตุ้นให้คนในองค์การเกิดการเรียนรู้ 2.Mental Model หมายถึงจิตสำนึกหรือแบบแผนของความคิดอ่านของคนเป็นวิธีในการมองโลกเป็นกรอบในการมองโลก Mental Model เป็นกรอบของการรับรู้ (Frame work for the cognitive) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่บ่งชี้ว่าคนคิดอย่างไร และแสดงออกมาตามจิตสำนึก Mental Model จะสะท้อนสภาพจิตใจ สะท้อนให้เห็นสภาพแนวคิดจิตใจที่ไม่เหมือนกันของแต่ละคน เพราะการอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน Mental Model มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในองค์การ เพราะถือว่าสมาชิกในองค์การนั้นจะต้องเป็นสมาชิกที่มีสติ มีจิตสำนึกที่มั่นคง ไม่ย่อท้อเมื่อเจอปัญหาต่างๆ 3.Team Learning การเรียนรู้ร่วมกันขององค์การจะมีความสำคัญมาก การรวมกลุ่ม การเรียนรู้และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกัน มีการแสดงความคิดเห็นการเรียนรู้ร่วมกันของทีมจะเปิดโอกาสให้สมาชิกในองค์การได้แลกเปลี่ยนและพัฒนาความสามารถและความรอบรู้ของทีมงานให้เกิดขึ้น ลักษณะของทีมงานที่ดี (Team Characteristic) Clear and Evaluating Goal การรวมทีมงานมีเป้าหมายที่ชัดเจนและยกระดับให้สูงขึ้นอยู่เสมอ Results Driven Structure การรวมกลุ่มที่เน้นผลงานเป็นสำคัญ โดยผลงานจะชี้ให้เป็นถึงโครงสร้างในการทำงาน Competent Team Member สมาชิกของทีมจะต้องมีความรู้ความสามารถ Unified Commitment ทีมงานจะต้องมีเจตจำนงร่วมกันในการมารวมกันเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมาย Collective climate ต้องมีบรรยากาศของความร่วมมือ นั้นคือเมื่อมีคนมาอยู่ร่วมกันจะต้องสร้างบรรยากาศในการ่วมมือกัน Standards of Excellence ทีมจะต้องสร้างมาตรฐานที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศในสิ่งที่ต้องการ External Support and Recognition ทีมจะประสบความสำเร็จจะต้องมีปัจจัยสนับสนุนทั้งภายในและภายนอก Principle Leadership ทีมที่ดีจะต้องมีผู้นำที่มีหลักการ มีเหตุผลในการตัดสินใจ ทีมงานที่ประสบความสำเร็จ(Successful Team Learning)ประกอบด้วย FSNP 1) Forming ต้องเป็นทีมงานที่มีการจัดตั้ง และการจัดตั้งอาจจะจัดตั้งโดยการรวมทีมงานที่มีการเรียนรู้ 2) Storming มีการระดมสมองจากสมาชิกของทีมงาน 3)Norming ยอมรับในบทบาทและความคิดเห็นของคนอื่น 4)Performing การกำหนดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน 4.System Thinking มีการคิดอย่างมีระบบ พุทธศาสนาสอนในการคิดว่า ความสุขของมนุษย์ของที่การดำเนินชีวิตในถูกต้องทั้งตนเองและคนอื่น - รู้จักคิดเป็น พูดเป็น และทำเป็น - การคิดเป็นศูนย์กลางในการบริหาร การดำเนินชีวิตทั้งหมดอยู่ในกรอบที่ถูกต้องและชัดเจน ถ้าคิดถูกก็วางกรอบการทำงานถูก - กระบวนการคิดฝึกฝนพัฒนาได้ - ปัจจัยที่มีต่อกระบวนการคิดมีทั้งจากภายนอกและภายใน - การศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้ศึกษาคิดเป็น องค์ประกอบของความคิดอย่างมีระบบ 1)คิดแบบวิเคราะห์(Analytical Thinking) 2)คิดแบบโครงสร้าง(Structure Thinking) 3)การคิดแบบรวบยอด (Conceptual Thinking) 4)การคิดเพื่อสังคม (Social Thinking) 5. Shared Vision การมี วิสัยทัศน์ร่วมกัน จะต้องมีทางเลือกในการปฏิบัติที่จะไปสู่เป้าหมายเหล่านั้น คือมีวิสัยทัศน์แล้วต้องมีทางเลือกในการปฏิบัติที่จะไปสู่เป้าหมาย และจะต้องมีการลงมือปฏิบัติจริง วิสัยทัศน์จะทำให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ เพราะว่าสมาชิกในองค์การมีความตระหนักและมีมุมมองร่วมกันและพร้อมใจที่จะช่วยกันทำงานให้องค์การไปสู่เป้าหมาย นอกจานี้ยังมีหลักการอื่นที่สมารถทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ 1.จะต้องทำให้องค์การมีระบบ Learning System 2.ต้องมีการเรียนรู้ในแบบ CIA หรือ Collective integrated and Actionable 3.จะต้องมีการสร้างสมรรถนะในการเรียนรู้ (Learning Capability) 2 ระดับคือ Single loop Learning จะเป็น First Order Learning or Corrective Learningหรือเรียนเพื่อปรับปรุงแก้ไข Adaptive Learning Double Loop Learning จะเป็น Second order Learning เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ (Generative Learning) 4.ต้องมุ่งพัฒนาสมรรถนะหลัก(Core Competencies)

สรุปองค์การแห่งการเรียนรู้จะเริ่มจากการเรียนรู้ของบุคคลที่จะต้องมีความรู้(Knowledge)มีความเข้าในความรู้นั้น (Understand) นำไปประยุกต์ใช้เรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดทักษะ(Skill)และ สามารถปรับเปลี่ยนทัศนะคติ(Attitude) ในการทำงานที่ถูกต้องได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน นั่นคือ Individual Learning หลังจากนั้นบุคคลก็จะมาร่วมกันในการทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นพัฒนาการทำงาน เกิดทีมงานที่มีการเรียนรู้ (Team Learning) และท้ายสุดก็เกิด LO ซึ่งที่สำคัญนั้นจะอยู่ทีบุคคลจึงต้องมีการค่อยๆสร้างให้เกิดความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)สร้างจิตสำนึกแห่งการเรียนรู้ มีแบบแผนความคิดอ่านอย่างมีเหตุผล (Mental Model)มีความกระตื้อรื้อล้นที่จะปฏิบัติงาน เกิดการคิดอย่างเป็นระบบ(System Learning)เกิดทีมงานแห่งการเรียนรู้(Team Learning)และเกิดวิสัยทัศน์ร่วมกันในการ(Shared Vision)ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย นี้ๆๆๆๆๆๆคือจุดของ LO อาจารย์เฉลิมพล….. นโยบายสาธารณะ(Public Policy) Almond and Powell ,Jr. ได้แบ่ง Public Policy ออกเป็น 4 ประภทคือ 1. Extractive Performance เป็น Public Policy ประเภทที่ดึงเอาสิ่งที่มีคุณค่าจากประชาชน เช่น นโยบายภาษีอากร 2. Distributive Performance เป็น Public Policy ประเภทที่จัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้กับประชาชน เช่น นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค นโยบายปลดหนี้เกษตรกร 3. Regulative Performance เป็น Public Policy ที่ควบคุมบังคับให้ปฏิบัติตาม เช่น ก.ม.จราจร การกำหนดให้สถานบันเทิงปิดตี 2 4. Symbolic Performance เป็น Public Policy ที่โน้มน้าวให้ประชาชนเห็นคล้อยตามปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ โดยการให้ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคนสำคัญ เพลงปลุกใจ ภาพ คำขวัญ ตัวแบบกระบวนการ(Process Model) มองว่า Public Policy เป็นกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งมี 11 กิจกรรมในการกำหนดคือ 1.รับทราบและระบุสภาพปัญหาว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ 2. รวบรวมคนที่เห็นเป็นปัญหาสำคัญ 3. จัดองค์กรรวบรวมบรรดาคนที่เห็นว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาสำคัญ 4. นำเสนอปัญหาสู่การตัดสินใจของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ 5. จัดปัญหาต่างๆเข้าระเบียบวาระการประชุม 6. กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา 7.สร้างความชอบธรรมให้กับแนวทางแก้ไขปัญหา 8. จัดงบประมาณให้สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา 9. นำแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตกลงไปปฏิบัติ 10.ประเมินผลการแก้ไขปัญหา 11.ปรับปรุงแนวทางแก้ไขปัญหาหรือยุติการแก้ไขปัญหา ตัวแบบ System Model

ตัวแบบ Incremental Model มองว่านโยบายเดิมดีอยู่แล้วแก้ไขเฉพาะบางส่วนเท่านั้น เป็นนโยบายที่ต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อน เพราะว่า 1.ผู้กำหนดนโยบายมีข้อจำกัดด้านเวลา ปัญญา เงินจำนวนมาก 2.ความไม่แน่นอนของนโยบายใหม่ที่แตกต่างจากนโยบายเก่า 3.อาจมีการลงทุนในโครงการเดิมไว้มากแล้ว 4.การแก้ไขนโยบายเพียงเล็กน้อยแล้วนำไปปฏิบัติจะเกิดผลดีมากกว่ากำหนดใหม่ทั้งยังการต่อต้านก็น้อย 5.ในสังคมพหุงนิยมมีความเห็นที่แตกต่างกันทำตามนโยบายเดิมดีที่สุดลดการขัดแย้ง ตัวแบบเหตุผล Rational Model มองว่าเป็นนโยบายที่มีเหตุผลก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายต้องตัดสินใจอย่างมีเหตุผล .. 1.รู้ว่าสิ่งสำคัญที่สังคมต้องการคืออะไร เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการต่างๆได้ 2.รู้ว่านโยบายทางเลือกต่างๆที่มีอยู่ทั้งหมดมีทางเลือกอะไรบ้าง 3.รู้ว่าผลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดของ นโยบายทางเลือกแต่ละทางเลือกคืออะไร 4.สามารถคำนวณสัดส่วนของผลประโยชน์ที่จะได้รับกับต้นทุนของนโยบายทางเลือกแต่ละทางเลือก 5.เลือก นโยบายทางเลือกทีมีประสิทธิภาพมากที่สุด (คือลงทุนน้อยได้ประโยชน์มาก) ตัวแบบกลุ่ม (Group model) ตัวแบบมองว่าการเมืองคือการต่อสู้ของกลุ่มต่างๆเพื่อมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หมายถึงในทางการเมืองจะมีกลุ่มต่างๆ นโยบายที่ออกมานั้นจะมาจากการแข่งขันกันของกลุ่ม กลุ่มใดที่มีอิทธิพลมากข้อเรียกร้องของกลุ่มนั้นก็จุถูกนำไปกำหนดนโยบาย อาจารย์ กวี รักษ์ชน DA= Development Administration (การบริหารการพัฒนา) จอร์น เมนาร์ด เคน นช.กลุ่ม นีโอคลาสสิก มองว่าการัฐบาลไม่เข้ามาควบคุมระบบเศรษฐกิจก็จะทำให้เกิดการเอาเปรียบทาง ศก.ขึ้นได้ เขาจึงได้เสนอให้รัฐจะต้องเข้ามาควบคุมระบบ ศก.เพื่อประโยชน์ของ ส่วนรวม จึงได้เกิด DA เกิดในช่วง P.5 และก่อให้เกิด CAG (Comparative Administration Group) การที่ต้องมีการแยกการบริหารการพัฒนาและการบริหารเปรียบเทียบขึ้นมาใหม่เพราะนักปรศ.มองว่าวิชา PA ที่มีอยู่บางส่วนไม่สามารถอธิบายการบริหารในประเทศกำลังพัฒนาได้ เช่น ประเทศไทยใช้หลักอาวุโส ในการบริหารงาน DA แบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1. DAก่อน 1970 เป็น ท.ใหม่ เป็นมหาภาค มี 4 ระบบ คือ การเมือง ศก.บห.และ สค. แต่เป็นการพัฒนามากว่าการบริหาร ให้เป็น ป.พัฒนา นำมาปฏิบัติไม่ได้เพราะต้องแก้ไขทั้งระบบ 2. DA หลังปี 1970 เน้นเรื่องการบริหารภายนอกองค์การมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการบริหารเฉพาะด้านเช่นการพัฒนาชนบท การพัฒนาเกษตรกร การพัฒนาอุตสาหกรรม นั่นคือขอบเขตในการศึกษาจะเล็กลงไปที่โครงการพัฒนา แต่ก็ยังหยิบยืมความรู้จากตะวันตกมาใช้ เพิ่มสมรรถนะในการบริหาร DA จะเปลี่ยน(Change) 3 รูป คือ การเจริญ(Growth)การพัฒนา(Development)และการแปลงรูป(Transformation) จอร์น แกนท์ Development มีอยู่ 3 ประเภท คือ 1.เกี่ยวกับ ปชช. 2.จุดม่งหมายที่ต้องการบรรลุถึง 3.เกิดการเติบโต แบะการเปลี่ยนแปลง ไวร์เนอร์ แบ่ง การพัฒนาเป็น 4 กลุ่มคือ 1.DV.เป็นเรืองความเจริญเติบโต (Growth) การเพิ่มเข้าของOutput คือ เป็นการพัฒนา 2.การพัฒนาคือการเปลี่ยนระบบการกระทำการ 3. DV.คือการทำให้ทันสมัย(Modernity) 4. DV.คือการเปลี่ยนแปลงที่วางแผนไว้ล่วงหน้า ปี 1962 Ad. เป็นกระบวนการบริหารของราชการให้เกิดความก้าวหน้าทาง กม.ศก.สค. ฟรีดแมน มองว่าการบริหารพัฒนามีอยู่ 2 ส่วนคือ 1. การเอาแผนพัฒนามาบริหารให้เกิดผล คือ การบริการเพื่อการพัฒนา หรือ A of D หรือ Administration of Development 2.เป็นการเพิ่มสมรรถนะของการบริหารจะเรียกว่า การพัฒนาการบริหาร D of A หรือ Development of Administration ส่วน ริกส์ มองว่สการบริหารการพัฒนา คือการบริหารเพื่อการพัฒนา และการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหาร ติน ปรัชญพฤทธิ์ ได้นำแนวคิดของฟรีดแมนมาอธิบายว่าการพัฒนาการบริหาร D of A หรือ Development of Administration มี 3 ส่วน คือ การพัฒนาโครงสร้าง - การพัฒนากระบวนการและเทคโนโลยี - การพัฒนาพฤติกรรม การบริการเพื่อการพัฒนา หรือ A of D หรือ Administration of Development หมายถึงการบริหารงานตามโครงการการพัฒนาในด้านต่างๆเป็นการมองระดับจุลภาค เช่น การพัฒนา ศก.สค.กม.พัฒนาเมือง การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ A of Dและ D of Aมีส่วนร่วมกันคือการบริหารการพัฒนาหรือเป็น DA โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือ การพัฒนาประเทศ หรือ ND อ.อุทัย เลาหวิเชียร ได้เสนอเรื่องการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารและการนำนโยบายไปปฏิบัติ ว่าประกอบด้วย

ขั้นตอนการพัฒนาคือการนำนโยบายไปปฏิบัตินั่นเอง อ.อุทัยและอ.วรเดช กล่าวว่าการบริหารงานการพัฒนามีเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเป็นการบริหารงานประจำจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายตามขั้นตอนหรือตามระเบียบ การบริหารการพัฒนาจะยากกว่าการบริหารประจำ อ.ติน มองว่า GPA, CPA,D of A , A of D มีจุดเหมือนกันคือ 1.ให้ทรัพยากร 4 Ms 2.ใช้ค่านิยม 3 Es (Efficiency Effective and Economic) 3. ความซื่อสัตย์ (Integrity) 4.กำไร (Profit) 5.ความอยู่รอด (Survivor) 6.ความรับผิดชอบของสังคม (Social Responsibility) ในส่วนที่ต่างกันคือ GPA = 4 Ms+3 Es+I+P+S+SR CPA= 4 Ms+3 Es+I+P+S+SR + C D of A = 4 Ms+3 Es+I+P+S+SR +C+ AR A of D = 4 Ms+3 Es+I+P+S+SR +C+ AR+ ND = A of D AND D of A = DA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0