สรุปวิชา PS701

สรุปวิชา PS701

ฝึกทำข้อสอบ PS 701 1. ให้อธิบายวิธีการวิเคราะห์ พหุนิยม (Pluralism หรือ Pluralist Approach) มาโดยละเอียด พร้อมทั้งให้นำแนวการวิเคราะห์ดังกล่าว อธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองไทยเป็นกรณีศึกษา ตอบ การวิเคราะห์แนว พหุนิยม (Pluralist Approach) มีแนวการคิดอยู่ดังนี้ 1.อำนาจ(Power) ของสังคมนั้นจะกระจาย แบ่งกันอยู่ตามกลุ่มต่างๆของสังคม 2.ประชาชนทุกคนต่างก็มีบทบาทที่มีน้ำหนักในการตัดสินใจของรัฐบาลโดยผ่านกลุ่มต่างๆในสังคมภายใต้แนวคิดของประชาธิปไตย ที่ประธานาธิบดี ลินคอลน์ แห่งสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า " Government of,by,and,for the people" 3.ไม่มีกลุ่มใดที่จะมีอำนาจที่จะครอบงำเหนือสังคม นักสังคมวิทยาทีมีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ Joan Huber และ William Form ได้ให้คำกัดความของระบบการเมืองที่มีความเป็นพหุนิยมว่าเป็นระบบการเมืองที่กลุ่มต่างๆ ทั้งหลายในสังคมสามารถที่จะมีอิทธิพลผลักดัน กำหนดนโยบายสาธารณะ ในลักษณะที่มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือกลุ่มจำนวนหยิบมือสามารถที่จะควบคุม หรือผูกขาดการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อกลุ่มและพวกพ้องของตนเองได้ และยิ่งไปกว่านั้น ระบบการเมืองดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มมีบทบาทและมีส่วนอย่างสำคัญในการกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกันโดยผ่านการเจรจาต่อรองและประสานประโยชน์กัน (Huber and Form 1973:132) แนวคิดพาหุนิยม ((Pluralist Approach) จะดังมากในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะผู้ที่จะมาเป็นประธานาธิบดีนั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มต่างๆ เพราะกลุ่มต่างๆ เป็นที่มาของคะแนนเสียง เป็นที่มาของทรัพยากรทางการเมือง เป็นที่มาของอำนาจทางเศรษฐกิจ Robert A. Dahl ผู้เขียนหนังสือชื่อ Who Governing? มีแนวคิดว่าอำนาจ (Power) ของสังคมนั้นจะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของสังคม อำนาจที่กล่าวถึงนี้หมายถึงอำนาจในการตัดสินใจและเป็น Authoritative Decision หมายถึงอำนาจตัดสินใจแล้วมีผลผูกพันทางการเมือง แนวคิด พหุนิยม นี้ได้มีการนำไปอธิบายในหลายๆด้าน เพื่อจะอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆในสังคม (Social Pluralism) หมายถึงสังคมที่มีกลุ่มต่างๆมาอยู่ร่วมกันในสังคมเดียว เช่น ชนกลุ่มน้อย (Ethnic group) กลุ่มเชื้อชาติ (Racial) หรือกลุ่มทางศาสนาที่อาศัยอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ของระบบวัฒนธรรมหลักร่วมกัน แต่ก็คงไว้และให้ความนับถือวิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมที่แต่ละกลุ่ม(กลุ่มต่างๆในสังคมนั้นๆ) ยึดถือซึ่งเรียกว่าวัฒนธรรมย่อย (Sub-culture) ซึ่งตามแนวคิดนี้นั้น มองว่าประชาชนทุกคนต่างมีบทบาทมีอำนาจในการตัดสินใจของรัฐบาล แต่สามารถกระทำได้โดยผ่านกลุ่มต่างๆตามแนวคิดประชาธิปไตย ดังที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ว่า "Government of ,by and for the people" และจะไม่มีกลุ่มใดมีอำนาจครอบงำเหนือสังคม ไม่มีอำนาจครอบงำกลุ่มอื่น กลุ่มผลประโยชน์หลากหลานสามารถที่จะผลักดันผลประโยชน์ของกลุ่มตนให้ได้รับการตอบสนองโดยวิธีการประนีประนอม (Negotiation and Compromise) สรุปแนวคิดในการศึกษาวิเคราะห์เชิงพหุนิยม( Pluralist approach) เป็นรูปแบบดังนี้ Decision Making Body Input กระบวนการตัดสินใจ Output ความต้องการ (Black Box) -รัฐสภา นโยบาย รมต. -รัฐบาล สิงแวดล้อม สิ่งแวดล้อม พรรคการเมือง กลุ่ม A กลุ่ม B กลุ่ม C กลุ่ม D กลุ่ม …. ประชาชน จากภาพจะสามารถอธิบายได้ว่า แนวการศึกษา Pluralist approach นั้น 1.ประชาชนเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ประชาชนคนหนึ่งอาจจะเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มโดยไม่จำกัด โดยสมัครใจ 2.สมาชิกกลุ่มส่งผ่านความต้องการผ่านไปยังกลุ่มที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ หรืออาจจะส่งความต้องการข้ามไปยังพรรคการเมืองหรือข้ามไปยัง รมต.เลยก็ได้แล้วแต่ช่องทางที่สะดวก(แต่แนวคิดนี้ประชาชนจะได้รับการสนองก็โดยการเป็นสมาชิกกลุ่ม ปัจเจกชนนั้นไม่ค่อยมีน้ำหนักอาจจะไม่ได้รับการตอบสนองก็ได้) 3.กลุ่มก็จะส่งผ่านความต้องการของกลุ่มตนไปยังพรรคการเมือง 4.พรรคการเมืองซึ่งได้รับฐานการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆทางการเมืองก็จะต้องพยายามหาคนที่เป็นตัวแทนของพรรคตนเองเข้าไปบริหารประเทศ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าพรรคการเมืองก็คือกลุ่มบุคคลที่มีแนวความคิด มีอุดมการณ์เดียวกันหรืออาจคลึงกันตั้งเป็นพรรคการเมือง เพื่อส่งสมาชิกของตนเองเข้าไปใช้อำนาจบริหารงาน และแล้วส่งความต้องการหรือ Demand เข้าไปยัง Input 5.และ Input ความต้องการ เข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ(Decision Making Body)ซึ่งในกระบวนการตัดสินใจนี้ไม่สามารถอธิบายให้ชัดเจนได้ว่าทำไมถึงตัดสินใจอย่างนั้น ในทฤษฎีระบบเรียกกระบวนการตัดสินใจนี้ว่า Black Box การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใน ขณะนั้น ถึงแม้ว่ากระบวนการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และผู้ตัดสินใจคือ รัฐสภา หรือรัฐบาล แต่ในแนวคิดพหุนิยมนี้ ยังถือว่าอำนาจในการตัดสินใจจะอยู่ที่กลุ่มต่างๆผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจนั้นถูกล๊อบบี้ หรือคัดเลือกโดยกลุ่มที่สนับสนุนอันเป็นกลุ่มที่มีเสียงในการลงคะแนนนั่นเอง 6.กำหนดนโยบาย (Policy) ผ่านกระบวนการ Output นำไปสู่การปฏิบัติ 7. เมื่อปฏิบัติแล้วมีผลกระทบต่อการกระทำอย่างไรก็จะย้อยกลับมา(Feed Back)ยังประชาชนใหม่ 8.ในแนวคิดนี้จะอธิบายได้เฉพาะในสังคมประชาธิปไตยเท่านั้น ลักษณะการส่งผ่านความต้องการของแต่ละกลุ่มจะกระทำในลักษณะดังภาพนี้ จากรูปแสดงให้เห็นว่ากลุ่มต่างๆมีการผลักดัน ในการกำหนดนโยบาย แนวความคิดพหุนิยมนั้นเชื่อว่าผลประโยชน์ ทรัพยากรหรือคุณค่าต่าง ๆ ในสังคมจะเกิดขึ้นตามทิศทางของการผลักดันของกลุ่ม ซึ่งหมายถึงกลุ่มอิทธิพล (Influenced) ของกลุ่มนั่นเอง และนโยบายที่ตัดสินใจออกมาแล้วก็ผูกพันกับสังคม ต้องมีการปฏิบัติตาม มีผู้ได้รับผลประโยชน์และประโยชน์ มีการแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ ผลักดัน ผลักดัน ผลลัพท์ ผลลัพท์ Public Policy ที่กลุ่มต้องการ Public Policy ที่กลุ่มต้องการ จากรูปจะเห็นได้ว่าผู้กำหนดนโยบายจะถูกทักษะอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทั้ง 2 ด้านบีบกดดันให้รัฐบาลหรือผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ (เอาหลักการแค่นี้ก่อนค่อยโม้ต่อเอา) สรุปแนวความคิด Pluralist Approach 1.อำนาจของาสังคมนั้นกระจายอยู่ตามกลุ่มต่างๆ มิใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ 2.กลุ่มต่างๆนั้นจะมีการแข่งขันในทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตน 3.ความต้องการาของประชาชนหรือปัจเจกชนจะได้รับการตอบสนองผ่านกลุ่ม 4.รัฐเป็นเพียงตัวกลางที่รักษากติกา เป็นตัวกลางในการแข่งขันในทางการเมืองเมื่อมีการตัดสินใจทางการเมืองอย่างไรแล้วรัฐมีหน้าที่รักษากติกาให้เป็นไปตามนั้นจะไม่แทรกแซงกิจการใดๆ 5.ไม่มีกลุ่มใดครอบงำหรือผูกขาดในทางการเมือง 7.ประชาชนเป็นสมาชิกกลุ่มหลายกลุ่มดังนั้นการต่อสู้กดดันทางการเมืองจึงไม่แหลมคมมากนัก ข้อวิจารณ์ที่มีต่อแนวคิด Pluralist Approach 1.แนวคิดนี้เกิดขึ้นในสังคมอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหมายถึงกลุ่มต่างๆเกิดขึ้นในสังคมอุตสาหกรรม ที่มีการแตกแยกย่อยของอาชีพมากมาย แต่ในสังคมจารีตประเพณีจะไม่เกิด 2.พหุนิยมเป็นแนวคิดอนุรักษ์นิยม เพราะเชื่อว่าระบบที่มีอยู่เป็นระบบที่ดีอยู่แล้ว 3.บางครั้งผลประโยชน์ที่รัฐบาลพิจารณาให้ไม่ใช่ความต้องการของคนส่วนใหญ่แต่เป็นอาจเป็นความต้องการของผู้นำกลุ่ม ที่อ้างกลุ่มบังหน้า 4.ข้อเท็จจริงสังคมจะมีลักษณะเป็นชนชันของคนที่มีฐานะร่ำรวย E.E Scahattschneider คาดการณ์ว่าคนอเมริกาประมาณ 90 % ไม่สามารถมีสิทธิ์ในทางการเมือง 5.ในความคิดที่ว่าไม่มีกลุ่มใดมีอำนานครอบงำกลุ่มใดหรือสังคมและรัฐบาลเป็นกลางในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่างๆนนั้นอาจไม่เป็นความจริงเพราะว่ากลุ่มแต่ละกลุ่มในสังคมนั้นมีทรัพยากรทางการเมืองไม่เหมือนกัน เช่นที่อเมริการธุรกิจขนาดใหญ่จะอำนาจมาก เพราะว่าเป็นที่มาของเงินภาษี อำนาจของรัฐ ที่สร้างงาน ความแข็งแกร่งของประเทศ รัฐจึงไม่กล้าที่จะตัดสินใจที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ การเมืองไทยกรณีศึกษา แนวคิด Pluralist Approach มาอธิบาย ประกฎการณ์ทางการเมืองไทยที่ผ่านมาคือกรณีการร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สาเหตุที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี่ขึ้นมาก็เพราะคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนนั้น มิได้เขียนข้อบังคับ หลายฉบับ หลายข้อบังคับ ที่จะนำมาซึ่งการเลือกตั้งหรือการคัดเลือกคนดีเข้าสู่สภา ซึ่งถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่เดิมนั้นเมื่อมีการเลือก สส.แล้วมิได้เป็นการเมืองแบบตัวแทน(Representative) เพราะผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น สส.แล้วสามารถดำเนินการตามวิธการของตนเองได้โดยประชาชนไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ จึงได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดย สภาได้แต่งตั้ง สส.ร.และสสร.ได้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาโดยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้มีการคดสรรได้คนดี มีศีลธรรม และมีความสามารถเข้าไปเป็นผู้ใช้อำนาจ เมื่อมีความคิดนี้เกิดจึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชนกลุ่มสภาพแวดล้อม กลุ่มเครือข่ายการสื่อสาร หรือกลุ่มนักธุรกิจต่างๆ โดยกลุ่มต่างๆเหล่านี้ได้แสดงความต้องการของตนผ่านทางองค์กรที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งก็คือ สสร.ทั้ง 99 คน จนกระทั่งได้เป็นร่างนโยบายหรือกฎหมายออกมาให้คนในสังคมต้องปฏิบัติตาม ซึ่งเมื่อได้มีการตัดสินใจแล้วก็ต้องปฏิบัติตามและเมื่อได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมานี้แล้วก็ เกิดปัญหาตามมา เช่น ในการเลือกตั้ง สว.ในวันที่ 4 มีนาคม 2543 จะพบมี สว.ถูกแขวนทำให้มีการเลือกตั้งหลาย กว่าจะ สว.ครบ 200 คน นี่คือ เป็นผลย้อนกลับมา(Feed back ) ผลที่ตามก็คือมีการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายใหม่และเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ใหม่ ซึ่งก็ได้ผ่านการแก้ไขแล้วและจะใช้เลือกตั้ง สส.ในวันที่ 6 มกราคม 2544 เป็นแรกสำหรับกฎหมายแก้ไขใหม่เช่นเดียวกัน ………จบ…………….. การศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Approach) ลักษณะการศึกษาในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ - ทฤษฎีที่เป็นระบบ SYSTEMATIC ใช้การสังเเกตหรือข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง EMPIRICAL และสามารถช่วยให้คาดคะเนถึงอนาคตได้ PREDUCTIVE VALUE - ไม่ถือว่าสถาบันเป็นหน่วยขั้นพื้นฐานของงการวิเคราะห์ในทางรัฐศาสตร์ - ความเชื่อในอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมมศาสตร์ - การใช้วิธีการพิเศษที่จะช่วยให้การสังเกกต จัดแยกประเภทและการจัดข้อมูลที่ได้มาได้อย่างถูกต้องมากที่สุด การศึกษารัฐศาสตร์ในรูปแบบพฤติกรรมศาสตร์เริ่มเมื่อ ค.ศ.1950 โดยนักรัฐศาสตร์ที่ไม่ชอบแนวการศึกษาในแบบปรัชญา และแนวนิติสถาบันดันั้นจึงพยายามสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยคาดหวังได้ในสิ่งต่อไปนี้คือ 1.นักพฤติกรรมศาสตร์ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นกลาง (Neutrality) และปราศจากอคติ (NON - biased) 2.นักพฤติกรรมศาสตร์ต้องการค้นหาความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล (Causality) สามารถทดสอบได้(Test) David Hume ได้โต้แย้งประเด็นนี้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำการศึกษาพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ได้ถูกต้องเพราะว่าในสังคมมนุษย์มีปัจจัยตัวแปรต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นพร้อมกันดังนั้นจึงยาก…ที่จะดึงเอาปัจจัยตัวแปรต่างๆมาสัมพันธ์กับปัจจัยอีกอย่างหนึ่งได้อย่างถูกต้อง 100 % การค้นพบปัจจัยบางอีกอาจเป็นไปโดยบังเอิญ 3.องค์กรความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการคาดเดาได้(Prediction) และทำนายเหตุการณ์ในอดีตได้(Post - Prediction) เช่น เมื่อมีปัจจัยXก็จะมีเหตุการณ์ Yต่อไป และสามารถทำนายได้ด้วยว่าในอนาคตถ้าเกิดปัจจัย Xก็จะมีเหตุการณ์ Y แน่นอน Milton Friedman ให้ความเห็นว่าองค์ความรู้ของนักพฤติกรรมศาสตร์เป็นสากลสามารถทำ Post - Prediction ได้หมายถึงความรู้ในปัจจุบันสามารถอธิบายเรื่องในอดีตได้นั่นเอง นักพฤติกรรมศาสตร์เห็นว่าความเป็นจริง (Reality ) เป็นความจริงที่ซับซ้อนประกอบด้วยประการคือ 1. เชื่อว่าความจริงมีมากมายไม่จำกัด (Indefinite) 2.ความจริงบางอย่างขัดกัน (Contradiction) เช่นที่ Lucian Pye บอกว่า ปชต.ในฟิลิปินส์ สามารถคาดหวังได้เพราะประชาชนจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษามาก แต่ 3 ปีก็ปฏิวัติ 3.ข้อเท็จจริงมีลักษณะไม่คงเส้นคงวาไม่เสมอต้อนเสมอปลาย (Inconsistent) เช่นครั้งหนึ่ง ชาว กทม.เลือก จำลองเป็นผุ้ว่าฯเพราะว่าเป็นนักปฏิรูปการเมืองแต่ปัจจุบันกลับเลือก สมัครซีงเป็นหัวอนุรักษ์ต่อต้านการปฏิรูป ความจริงที่เป็นนามธรรมซับซ้อนกว่าความจริงที่เป็นกายภาพ นักพฤติกรรมศาสตร์กล่าวว่าการศึกษาปรากฎการณ์ทางการเมืองได้นั้นจะต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยใช้ทฤษฎีเข้าช่วยจะศึกษาแต่เพียงการใช้สามัญสำนึกไม่ได้ Robert A Dahl ได้กล่าวสรุปว่าแนวการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์เป็ฯความพยายามที่จะพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองด้วยวิธีการแสวงหาแนวทางที่จะอธิบายประเด็นเชิงประจักษ์ของการดำเนินการทางการเมืองโดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ เช่น วิธีการ ทฤษฎี และเกณฑ์การพิสูจน์ ที่เป็นที่ยอมรับกันตามหลักการ กฏเกณฑ์ทั่วๆไปและฐานคติของศาสตร์เชิงประจักษ์สมัยใหม่ มุ่งหมายที่สำคัญของแนวการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์คือความพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบของปรากฎการณ์ใดๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ นั่นคือต้องอาศัยทฤษฎี หรือหลักการ สังเกตที่สามาทดสอบข้อที่เป็นจริงได้ โดยไม่คำนึงถึงค่านิยม (Value Free ) David Easton ได้สรุปฐานคติและเป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ไว้ 8 ประการดังนี้ 1.ความสม่ำเสมอ 2.สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ 3.มีเทคนิค 4.ใช้วิธีศึกษาเชิงปริมาณ 5.ปราศจากค่านิยม 6.เน้นการจัดระบบในการวิจัย 7. เป็นศาสตร์บริสุทธิ์ 8. การบูรณาการ ทฤษฎีคือ ข้อความทั่วไปที่มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกันในเชิงตรรกะและสอดคล้องสัมพันธ์กับสมมุฐาน(Hypothesis) ในระดับต่างๆ ทฤษฎีหนึ่งอาจมีหนึ่งสมมุฐานหรือหลายสมมุติฐานก็ได้ นักประจักษ์นิยมบอกว่าถ้าจะทำความเข้าใจกับความเป็นจริงแล้วจะต้องใช้ทฤษฎีเข้ามาช่วยอธิบายเพราะว่าความเป็นจริงนั้นมีมากมายสลับซับซ้อน มีความขัดแย้งกันบ้างหรือไม่สม่ำเสมอบ้าง จึงต้องมีกรอบทางความคิดเข้ามาช่วยในการอธิบายนั้นก็คือตัวทฤษฎีนั้นเอง เพราะว่าลักษณะของทฤษฎีคือ 1.มุ่งเน้นการอธิบาย(Explanatory) โลกแห่งความเป็นจริง 2.ข้อความทั่วไป (General Law) คือหลักเกณฑ์ทั่วไปที่เป็นสากล 3.สมมุติฐาน(Hypothesis) ต่างๆต้องสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งทฤษฎีมีองค์ประกอบดังนี้ 1. สังกัป (Concept) หมายถึงจินตนา หรือนิยามในเชิงวิชาการที่สำคัญๆของแนวคิดที่ในการวิจัยศึกษา การที่ไม่พูดว่าสังกัปคือความจริงเพราะว่าความจริงในโลกนี้มีมากมาย สลับซับซ้อนไม่สามารถทที่จะทำการศึกษาให้หมดได้จะทำได้แต่เพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น 2. สมมุติฐาน (Hypothesis) คือการคาดเดาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองประเภท ค่าตัวแประอิสระ(Independent Variables) กับตัวแปรตาม(Dependent Variable) 3.ฐานคติ(Assumption) คือความเชื่อหรือข้อสมมุติฐานของผู้ศึกษาวิจัยที่เชื่อว่าปัจจัยสำคัญบางปัจจัยที่ไม่ปรากฎในสมมุติฐานจะไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆในฐานคตินั้น ในการศึกษาในเชิงพฤติกรรมศาสตร์นั้นมีตัวแบบ( Model)ที่ใช้ในการศึกษาอยู่หลักๆที่นักพฤติกรรมศาสตร์นำมาใช้อยู่จำนวน 2 แบบ คือ 1.แบบเส้นตรง( Linear Models) 2.แบบเส้นโค้ง (Curve Models) Samuel P. Huntington ได้เสนอสูตรว่า Political Satibility = Institutionalization % Mobilization คือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับระดับของการสร้างสถาบันทางการเมืองหารด้วยการปลุกระดมหมายความว่าถ้ามีการปลุกระดมมากเสถียรภาพทางการเมืองก็จะมีน้อยและถ้ามีการสร้างสถาบันมากเสถียรภาพก็จะมีมาก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ 1.ในแง่ของวิธีการศึกษา คือมีการใช้วิธีการเชิงปริมาณเข้ามาช่วยในการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมากขึ้น 2.ในแง่ของเนื้อหาคือการศึกษารัฐศาสตร์ในเชิงปริมาณทำให้เนื้อหาของการศึกษาแคบลงจาหเดิมที่เคยตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมหรือโครงสร้างสภาบันทางการเมืองแต่พอมาศึกษาเชิงปริมาณ ทำให้มีข้อจำกัดนั่นคือเวลาจะศึกษาในเชิงศึกษาในเชิงปริมาณก็จะตั้งคำถามว่าพฤติกรรมนั้นเป็นๆเป็นอย่างไร ซึ่งวิธีการอย่างนี้ทำได้เฉพาะในบางเรื่องที่วิธีการต่างๆ เหล่านี้สามารถเอื้ออำนวยให้ได้เท่านั้น เช่น การศึกษาถึงพฤติกรรมในการออกเสียงเลือกตั้ง ศึกษาทัศนคติต่อพรรคการเมืองศึกษาว่าทำไมคนจึงเลือกพรรคการเมืองนั้น ในยุคหลังก็เริ่มศึกษาทัศนคติทางการเมือง David Ricci ได้พิจารณาว่าเมื่อพฤติกรรมศาสตร์แทรกเข้ามาในการศึกษาทำให้การศึกษาในวงการรัฐศาสตร์แคบลง (Trivial Issue) ดังนั้นจึงมองว่าต้องหาทางฟื้นฟูให้มีการศึกษาในเรื่องที่มีแก่นสารหรือมีสาระมากขึ้น เพราะถ้ายังตกอายู่ภายใต้อิทธิพลของพฤติกรรมศาสตร์รัฐศาสตร์คงหาคำตอบอะไรที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ อ.ชัยรัตน์ เจริญโอฬารได้เอาแนวคิดของ Ricci มาาขยายความในบทความ"เรื่องความไร้น้ำยาของรัฐศาสตร์" ดังนั้นจะต้องมีการปรับวิธีการศึกษารัฐศาสตร์เสียใหม่ สรุป การศึกษาในแนวทางพฤติกรรมศาสตรคือการพยายามที่จะหาคำตอบของปรากฎการณ์ใดๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ นั้นคือจะต้องมีการแสวงหาความจริงโดยการใช้ทฤษฎีหรือหลักการสังเกตการณ์มีการทดสอบได้ กับข้อมูลที่เป็นจริงโดยปราศจากค่านิยม โดยนักพฤติกรรมศาสตร์มีความคาดหวังว่า 1.จะสามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นกลาง(Neutrality)ปราศจากอคติ (Non - biase) 2.พัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล(Causality) และสามารถทดสอบได้(Test) 3.ความรู้ที่สามารถคาดการณ์(Prediction)และสามารถทนายเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างถูกต้อง(post Prediction) Robert A Dahl ได้กล่าวสรุปว่าแนวการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์เป็ฯความพยายามที่จะพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองด้วยวิธีการแสวงหาแนวทางที่จะอธิบายประเด็นเชิงประจักษ์ของการดำเนินการทางการเมืองโดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ เช่น วิธีการ ทฤษฎี และเกณฑ์การพิสูจน์ ที่เป็นที่ยอมรับกันตามหลักการ กฏเกณฑ์ทั่วๆไปและฐานคติของศาสตร์เชิงประจักษ์สมัยใหม่ อิทธิพลของแนวพฤติกรรมศาสตร์ - การศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์นั้นเป็นเป็นการศึกษาการเมืองจุลภาค( Micro level) มากกว่าที่จะไปศึกษาการเมืองในระดับมหาภาค(Macro level)สนใจการศึกษาพฤติกรรมาของปัจเจกบุคคลมากกว่าที่จะไปศึกษาพฤติกรรมของระบบการเมือง การศึกษาการเมืองในแนวนี้ต้องพึ่งพาอาศัยแนวความคิดต่างๆในทางจิตวิทยา(Psychological Concepts) เป็นอันมาก จึงทำให้ผลกระทบต่อรัฐศาสตร์ดังนี้ 1.ในแห่งของเนื้อหา คือการศึกษารัฐศาสตร์ในเชิงปริมาณทำให้เนื้อหาของการศึกษาแคบลงมาก 2. ในแห่งของวิธีการศึกษาคือมีการนำเอาวิธีการเชิงปริมาณมาใช้ในการศึกษามากขึ้น โดยนำเข้าช่วยในการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมากขึ้น อ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ในทัศนะ(ในการบรรยายที่ สาขาฯนครศรีธรรมราช) การศึกษาเชิงปริมาณเป็นวิธีการที่ง่ายมีความชัดเจนอยู่ในตัว ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เหมือนกับเราใช้ภาษาพูดจึงมีประโยชน์อยู่บ้างแต่มีข้อจำกัดอยู่ที่การเข้าสมการต่างๆเนั้นเป็นการใช้วิจารณญาณของผู้ศึกษาที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนที่มีอยู่เข้าไปในการวิจัย ดังนั้นการที่กล่าวว่าการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิธีที่ชอบธรรมถูกต้องคาดหวังได้นั้นอาจจะมองดูโอ้อวดไปหน่อย เพราะว่าไม่สามารถบอกได้ว่านักพฤติกรรมศาสตร์ มีความเป็นกลางในการศึกษาเท่าใด มีอคติในการศึกษาหรือไม่ ไม่สามารถทดสอบความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกันได้เพราะสถิติไม่ได้ระบุไว้ และไม่สามารถคาดการณ์ได้เพราะว่าตัวแปรไม่คงที่ แต่การศักษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ก็มีประโยชน์อยู่ถ้ารู้จักข้อจำกัดของข้อผิดพลาดในการศึกษาได้อย่างถูกต้อง David Ricci ได้พิจารณาว่าเมื่อพฤติกรรมศาสตร์แทรกเข้ามาในการศึกษาทำให้การศึกษาในวงการรัฐศาสตร์แคบลง (Trivial Issue) ดังนั้นจึงมองว่าต้องหาทางฟื้นฟูให้มีการศึกษาในเรื่องที่มีแก่นสารหรือมีสาระมากขึ้น เพราะถ้ายังตกอายู่ภายใต้อิทธิพลของพฤติกรรมศาสตร์รัฐศาสตร์คงหาคำตอบอะไรที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ อ.ชัยรัตน์ เจริญโอฬารได้เอาแนวคิดของ Ricci มาขยายความในบทความ"เรื่องความไร้น้ำยาของรัฐศาสตร์" ดังนั้นจะต้องมีการปรับวิธีการศึกษารัฐศาสตร์เสียใหม่
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ คือการวางระเบียบการใช้อำนาจ กฎข้อบังคับจำนวนหนึ่งจะกำหนดสภาพผู้ปกครอง และในเวลาเดียวกันจะกำหนดธรรมชาติและจุดมุ่งหมายของกิจกรรมการเมืองของผู้ปกครอง ดังนี้ วัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญมีสองประการ ประการแรก รัฐธรรมนูญ วางระเบียบเกี่ยวกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะทำหน้าที่ตัดสินใจในนามของรัฐ กำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลเหล่านี้และแบบแผนของการใช้อำนาจหน้าที่นี้ ประการที่สอง รัฐธรรมนูญจะกำหนดลัทธิเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมและการเมือง และผู้ปกครองเป็นตัวแทนของลัทธินี้ ออสติน แรนมี กล่าวว่ารัฐธรรมนูญคือข้อบังคับมูลฐานที่กำหนดหรือเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่เป็นกฎหมายสูงสุดหรือสูงกว่ากฎหมายในการบริหารประเทศอื่นๆ รัฐธรรมนูญ กำหนดโครงสร้างในการปกครองประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารประเทศ ถือว่ารัฐบาลโดยรัฐธรรมนูญ (Constitution Government) เพราะรัฐบาลถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐธรรมนูญเพราะยอมรับว่าเป็นสิ่งเดียวที่สามารถรองรับอำนาจของรัฐได้ ในการปกครอง บริหารประเทศ ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญการใช้อำนาจของรัฐหรือองค์กรใดก็ตามจะไม่มีขอบเขต การใช้อำนาจรัฐจะต้องใช้ตามที่กำหนดไว้คือ การใช้อำนาจอธิปไตยจะถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญเป็นการจำกัดบทบาทของรัฐหรือกิจกรรมทางการเมืองทุกประเทศจะมีรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครองประเทศ ทั้งประเทศที่ปกครองโดยระบบประชาธิปไตยหรือประเทศที่ปกครองโดยระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท (อาจารย์อธิปรายไว้) 1. รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี การจัดะเบียบการปกครองต่างๆของรัฐจะถูกกำหนดโดยขนบธรรมประเพณีเกือบทั้งสิ้น ปัจจุบันที่ใช้อยู่คือประเทศอังกฤษ เรียกว่า "กฎหมายแห่งรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ"(Law of Constitution) ในการปฏิบัติก็จะการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อใช้ในการปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องต่างทางรัฐธรรมนูญเช่น Act of Settlement , Minister of the Crown Act, Representation of the people Act , Parliament Act 1911 และ 1949 , Judicature Act. กฎหมายเหล่านี้ไม่มีผลบังคับ รัฐสภาอาจจะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อย่างอิสระเสรี จนเป็นที่กล่าวกันว่า "รัฐสภาอังกฤษสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างนอกจากเปลี่ยนผู้ชายเป็นผู้หญิง" 2. รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร คือรัฐธรรมนูญที่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน รัฐธรรมนูญนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับระบอบประชาธิปไตย จะเป็นที่ยอมของรัฐต่างๆไม่ว่าจะเป็นการปกครองในรูปแบบใด การยอมรับวิธีการนี้ก็สืบเนื่องมาจากความชัดเจนในตัวของมันเอง ในระบอบประชาธิปไตยจะกำหนดสิทธิของบุคคลและอภิสิทธิ์ของผู้ปกครองอย่างแน่ชัด 3. รัฐธรรมนูญกษัตริย์และรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐ (ดูจากตำราหลายๆเล่มจะมีแค่ 2 ประเภทคือ 1และ2แต่อาจารย์ได้อธิปรายเพิ่มเติม) ดังนี้ -2- 3.1 รัฐธรรมนูญกษัตริย์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1)กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว (Absolute Monarchy) อำนาจที่แท้จริงจะอยู่ที่กษัตริย์ การทำงานทุกอย่างจะอยู่ที่กษัตริย์ทั้งสิ้น2)กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitution Monarchy) เป็นประมุขของประเทศแต่ไม่ปกครองประเทศ ไม่ยุ่งเกี่ยวในทางการเมือง ไม่รับผิดชอบในทางการเมือง 3.2 รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1)ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศทำพิธีการที่สำคัญของประเทศ ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ แต่อำนาจการบริหารจะอยู่ที่นายกรัฐมนตรีเช่นที่ประเทศอินเดีย 2 ) ประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศและทำการปกครองบริหารประเทศด้วยคือเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเช่นที่ ประเทศ USA 4. รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวและรัฐรวม 4.1 รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวจะอยู่ที่ส่วนกลางที่เดียวอำนาจการบริหารจะอยู่ที่ส่วนกลางถ้ามีการแบ่งอำนาจก็เป็นเพียงการแบ่งอำนาจการบริหารเท่านั้น เช่น ประเทศไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ 4.2 รัฐธรรมนูญรัฐรวม อำนาจในการบริหารจะอยู่ที่รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐ ไม่ขึ้นตรงต่อกัน การบริหารงานที่เป็นอิสระ ไม่ก้าวก่ายกันจะมีอำนาจบางอย่างที่รัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐยินยอมให้รัฐบาลกลางดำเนินการแทน เช่น การตราเงินตรา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การประกาศสงคราม การทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ แต่กระนั้นความเป็นรัฐในระดับโลกจะยอมรับเฉพาะรัฐบาลกลางเท่านั้น จึงมีรัฐธรรมนูญอยู่หลายฉบับ จะแยกอำนาจกันไปบริหาร ที่มาของรัฐธรรมนูญ (อันนี้ก็งงเพราะดูตำราหลายเล่มก็ไม่เหมือนของอาจารย์) 1.โดยวิวัฒนาการ คือมีการวิวัฒนาการมาเลื่อยๆ เช่น ของประเทศ USA 2.โดยรัฐประหาร การปฏิวัติ คณะผู้ปฏิวัติ รัฐประหารจะเขียนรัฐธรรมนูญเมื่อทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารสำเร็จ(เขียนรอไว้เป็นส่วนมาก เช่น รัฐธรรมนูญ 2492 เรียกว่ารัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เพราะว่าร่างไว้นานและเก็บไว้ใต้ตุ่มกว่าจะทำการรัฐประหารเสร็จ) 3.ประมุขของประเทศมอบให้ ไม่เข้าใจเหมือนกันงงงงงงงง 4.มีรัฐใหม่ เช่นพวกประเทศราช หรือประเทศอาณานิคมทั้งหลายเมื่อได้รับเอกราชแล้วเจ้าอาณานิคมจะมอบรัฐธรรมนูญให้ 5. กษัตริย์พระราชทานให้ กรณีนี้จะเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย เป็นเจ้าชีวิตของทุกคนทุกสิ่งทุกอย่างในรัฐ ต่อมาพระองค์เห็นว่าควรจำกัดอำนาจของพระองค์จึงกำหนดวิธีการใช้อำนาจของพระองค์ไว้เป็นที่แน่นอน จึงพระราชทานให้กับประชาชน เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ์มัสสุฮิโต ในญี่ปุ่น หรือพระเจ้าจอร์นแห่งอังกฤษ *****************************/******* สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งว่าเป็นฉบับประชาชน ถือเป็นการปฏิบัติรูปการเมือง หมายถึง การกำหนดโครงสร้างและระบบการใช้อำนาจรัฐเสียใหม่ พยายามให้ 3 สิ่ง แก่ประชาชนคือ 1.การให้สิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมในการปกครองเพิ่มขึ้น 2.การเพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 3.การพยายามทำให้การใช้อำนาจรัฐสุจริต มีเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพ 1.การเพิ่มสิทะ เสรีภาพ และส่วนร่วมของประชาชนในการเมือง การปกครอง รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ถือว่าประชาชนพลเมืองคือรากฐานของชาติบ้านเมือง และเป็นหัวใจของการเมือง ดังนั้น รัฐธรรมนูญนี้จึงได้กำหนดแนวทางที่ให้ความสำคัญกับประชาชนมากว่าสิ่งอื่น โดยได้เพิ่มหลักการใหม่ที่ยังไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา คือ 1.1 การขยายและเพิ่มสิทธิ เสรีภาพใหม่ๆ ให้ประชาชน จากรัฐธรรมนูญฉบับ ก่อน คือ 1)สิทธิชุมชนท้องถิ่น ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมอันดีของถิ่น และส่วนร่วมในการจัดการและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2)สิทธิและเสรีภาพในการศึกษาอบรม โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี 3) สิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยมีคุณภาพและไม่เสียค่าใช้จ่าย 4)สิทธิของบุคคลด้อยโอกาส 4.1) สิทธิเด็กที่จะได้รับความคุ้มครองไม่ให้มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูและให้การศึกษาจากรัฐ 4.2)สิทธิคนชราเกินหกสิบปีที่ไม่มีรายได้ที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ 4.3)สิทธิผู้ทุพพลภาพที่จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ยกเลิกคนหูหนวกเป็นใบ้สมัครรับเลือกตั้ง ฯลฯ 5) เสรีภาพในการนับถือศาสนา 6)เสรีภาพสื่อสารมวลชน 7)สิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา 8)สิทธิผู้ต้องหาและจำเลย 1.2 การเพิ่มเครื่องมือให้ประชาชนคุ้มครองตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1)การให้หน่วยงานของรัฐต้องเคารพสิทธิและให้สิทธิฟ้องคดีในกรณีถูกละเมิด 2) การกำหนดสิทธิในการรับรู้ และให้ความเห็น 3)การกำหนดองค์กรท่ให้ประชาชนไปขอความเป็นธรรมได้ในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิ 1.3 การเพิ่มส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครองทุกระดับ รัฐธรรม นูญ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น 1) ประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายได้ 2)ประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อกันขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ 3) ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น โดยให้ ก)สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ข)ผู้บริหารท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ค) จังหวัดใดพร้อมให้อาจ - 3 - จัดการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ได้ ง) กำหนดท้องถิ่นให้มีอิสระในการบริหารงาน จ)ให้ประชาชนสามารถถอนถอดผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นได้ เป็นต้น 2.การเพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การเพิ่มสิทธิในการรับรู้ข้อมูลของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ มากมาย การทให้การเมืองโปร่งใส เช่นการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การขยายบาทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การเพิ่มระบบและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจให้ครอบคลุมทุกด้าน มีองค์กรอิสระในการตรวจสอบการทำงานมากมาย เช่น กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. ศาลปกครอง ผู้ตรวจราชการรัฐสภา ฯลฯ 3.การทำให้การใช้อำนาจรัฐสุจริต มีเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพ นอกจากองค์กรตรวจสอบซึ่งจะควบคุมการใช้อำนาจทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้นักการเมืองเห็นโอกาส "ทำกำไร" แล้วยังมีมาตรการทำให้การเลือกตั้งและการเมืองสุจริตทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ จัดให้มีการเลือกตั้ง สว.โดยตรง ให้มีการเลือกตั้ง สส.โดยตรงจำนวน 500 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แบบบัญชีราย(ปาร์ตี้ลิสต์) จำนวน 100 คน และ สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 100 คน ในแบบบัญชีรายชื่อมีข้อดีคือ I. ทำให้การซื้อยากเพราะใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง คนที่อยู่ในตอนต้นก็คาดว่าตนจะได้รับการเลือกจึงไม่ลงทุน คนอยู่ท้ายๆ ก็ไม่แน่ในว่าจะได้ ก็ไม่ยอมลงทุน หากมีนายทุนเข้ามา สื่อมวลชนและประชาชนจะทราบล่วงหน้าทันทีว่าควรเลือกพรรคนั้นหรือไม่ II. ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง เพราะต้องเลือกบัญชีพรรคใดพรรคหนึ่ง โดยเลือกตัวบุคคลในบัญชีมิได้ การกำหนดว่าบัญชีใดได้คะแนนต่ำกว่า 5 %ให้ถือว่าไม่มีใครได้รับเลือก ก็เพื่อไม่ให้มีพรรคเล็กพรรคน้อยเต็มสภา ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพอีก III. ทำให้นักการเมืองใหม่ๆ ที่มีความรู้ความสามารถแต่หาเสียงไม่เก่งสามารถเข้าสู่การเมืองได้ง่ายขึ้น IV. อาจพัฒนาให้การนำหัวหน้าพรรคและผู้ที่จะเป็นรัฐมนตรีมาใส่ไว้ในบัญชีรายชื่อพรรคในระดับ 1 -50 คน เพื่อให้ประชาชนทราบ "คณะรัฐมนตรีเงา" ของแต่ละพรรคได้ V. ทำให้ได้ผู้แทนราษฎรที่มีวิสัยทัศน์กว้างระดับประเทศเพิ่มขึ้นแทนที่จะเป็นผู้แทนจังหวัดของตนอย่างที่เป็นมา - 4 - สำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มีข้อดี I. คนทั่วประเทศมีความเสมอภาคในการเลือกผู้แทนราษฎรได้ 1 คน ไม่ว่าอยู่ที่ใด ในขณะที่ระบบปัจจุบันบางจังหวัดเลือก ส.ส.ได้ 1 คน บางเขตเลือกได้ 2 คน บางเขตเลือกได้ 3 คน II. ทำให้เขตเล็กลง รู้ตัว ส.ส.ผู้รับผิดชอบได้ชัดเจน ความสัมพันธ์ระหว่าง ส.ส.กับราษฎรจะชัดเจนขึ้น ในขณะที่เขตในอดีตใหญ่ เพราะบางเขตมีถึง 3 คนการดูแลไม่ทั่วถึง III. ทำให้คนดีมีความสามารถ แต่ไม่มีเงินได้รับเลือกตั้ง ………… ข้อสังเกต อาจารย์คงจะให้ทำการวิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าเหมาะสมกับสังคมในปัจจุบันหรือไม่? ********แล้วค่อยคุยกันนะ** br>แนวคิดพหุนิยม (Pluralism) 1.อำนาจของาสังคมนั้นกระจายอยู่ตามกลุ่มต่างๆ มิใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ 2.กลุ่มต่างๆนั้นจะมีการแข่งขันในทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตน 3.ความต้องการาของประชาชนหรือปัจเจกชนจะได้รับการตอบสนองผ่านกลุ่ม 4.รัฐเป็นเพียงตัวกลางที่รักษากติกา เป็นตัวกลางในการแข่งขันในทางการเมืองเมื่อมีการตัดสินใจทางการเมืองอย่างไรแล้วรัฐมีหน้าที่รักษากติกาให้เป็นไปตามนั้นจะไม่แทรกแซงกิจการใดๆ 5.ไม่มีกลุ่มใดครอบงำหรือผูกขาดในทางการเมือง 7.ประชาชนเป็นสมาชิกกลุ่มหลายกลุ่มดังนั้นการต่อสู้กดดันทางการเมืองจึงไม่แหลมคมมากนัก จะสามารถสรุปได้ว่า เมื่อโลกได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมสมัยใหม่ (Modernization) จึงได้เกิดสังคมที่หลากหลายขึ้นมาที่เรียกว่า พหุงนิยม หรือการมีกลุ่มมากกว่า 1 กลุ่ม เนื่องจากมีอาชีพมากขึ้น จะเห็นได้ว่าทันทีมีโรงงานก็จะมีอาชีพมากมายตามมา เช่น กรรมกร ลูกจ้าง นายจ้าง นักบัญชี นักตรวจบัญชี นักประเมินผล มีบิษัทประเมินความเป็นไปได้ มีนักคอมพิวเตอร์ และยังมีอาชีพรับส่ง อีเมล อีกด้วย อาเธอร์ เบนท์ลี เสนอแนวคิดพหุนิยมในอเมริกาว่า เพื่อความอยู่รอดในสังคม ก็มีการร่วมกลุ่มกันของผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีการรวมกลุ่มของผู้ที่ไม่เห็นด้วย เช่น กลุ่มผู้ปลูกข้าวมอลล์กับกลุ่มผู้ผลิตเบียร์ก็จะสนับสนุนกันเพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็จะต่อต้านเพราะว่ากากเบียร์ทำลายสิ่งแวดล้อม ในอเมริกาแนวคิดนี้รัฐบาลเป็ฯเพียงเครื่องในการรักษาดุลระหว่างกลุ่มต่างๆ ไม่ให้กลุ่มใดมีการผูกขาด หรือไม่ให้มีการกระทำผิดกติกา โดยรัฐบาลไม่ได้มีอำนาจ พหุนิยมไม่ได้เกิดขึ้นจากการ จัดตั้งของรัฐบาลไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับ แต่กลุ่มเหล่านี้จะมีผลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาล นักสังคมวิทยามองว่า กลุ่มพหุนิยมเกิดขึ้นโดยการสมัครใจ นักมานุษยวิทยา มองว่าเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ข้อวิพากษ์ที่มีต่อแนวคิด Pluralism (จุดอ่อน) 1.การตกเป็นเหยื่อของความคิดกลุ่ม( Victims of Group think) แนวคิคพหุนิยมไม่ได้นำเอาอำนาจของกลุ่มที่มีอิทธิพลเหนือสมาชิกกลุ่มมาพิจารณาประกอบ จากการที่นักคิดบอกว่า กลุ่มหลากหลายจะมีการคานอำนาจกันในความเป็นจริงนั้น อิทธิพลกลุ่มจะมีผลต่อการตัดสินใตของเราทำให้เสียความเป็นตัวของตัวเอง หรือตกเป็นเหยื่อของกลุ่ม(ตัวอย่างฮ่องเต้เลือกคู่ สาว 18 ปี เห็นลูกหนู) 2ตัวแทนกลุ่มจะชักนำไปในทิศทางที่ผู้แทนกลุ่มต้องการได้ แนวคิดบอกว่าสมาชิกทุกคนของทุกกลุ่มมีเหตุผล ผู้แทนกลุ่ม มีความรับผิดชอบต่อกลุ่มและสังคม จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นเพราะสมาชิกกลุ่มจะสนใจการเมืองในอัตราที่ไม่เท่ากัน ผู้นำกลุ่มจึงสามารถโน้มน้าวสมาชิกไปในทางที่เป็นประโยชน์กับตนได้ 3.เกิดอนาธิปไตยแบบไม่คาดคิด นากกลุ่มที่มองทุกเรื่องเป็นการเมือง กลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มทางการเมือง เช่นกลุ่ม ท่องเที่ยวทางทะเล แต่ก็ประท้วง เดินขบวน อยู่เสมอทั้งที่ไม่เสียประโยชน์ ทำให้เกิดสภาพสูญญากาศของการนำนโยบายไปปฏิบัติ เคยเกิดในอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0