สรุป PS 707

ดร.อรัสธรรม
HRD แนว ศศ.กับ มานุษยนิยม (Humanism) ต่างกันอย่างไร

แนวคิด HRD แบบ ศศ. มองมนุษย์เป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ทำนองเดียวกับที่มองวัตถุเป็นทรัพยากรซึ่งสมารถนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดความเจริญเติบโตทาง ศก. เห็นว่าการพัฒนาคนเป็นเพียงการพัฒนาทรัพยากรชนิดหนึ่งให้มีคุณค่าทาง ศก.เท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ในการกำหนดแผนพัฒนา ศก.และ สค. ตั้งแต่ 1-7 จะมองคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิตเป็นเพียงทรัพยากรที่จะก่อให้เกิดความเจริญเติบทาง ศก. แม้ว่าการพัฒนามนุษย์ในแนวคิดของ ศศ.จะมีการพัฒนาการศึกษา สุขภาพอนามัย เน้นการสร้างงาน การกระจายผลประโยชน์ทาง ศก. การสร้างความจำเป็นพื้นฐานสุดท้ายก็มา HRD แต่เป้าหมายสุดท้ายก็คือ ความเจริญเติบโตทาง ศก. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวเศรษฐศาสตร์ จึงมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา ศก. โดยทรัพยากรนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ
                    1. ทรัพยากรวัตถุ(Material Resources) 2.ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)
แนวคิดใน HRD แบบมานุษยนิยมจะมีแนวคิดหลักคือ จะเน้นในเรื่องความต้องการของมนุษย์และแสวงหาวิธีการที่มีเหตุผลในการแก้ปัญหาของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์เกิดการพัฒนา คือแนวคิดแบบมนุษยนิยมจะสนใจเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร คือการมองคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต จิตใจมีจิตวิญญาณ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์โดยให้ความสำคัญกับความเป็นและเกียติภูมิของคน แนวคิดหลักแบบมานุษยนิยม คือ
                    1.จะเน้นในเรื่องความต้องการของมนุษย์และแสวงหาวิธีการที่มีเหตุผลในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์เพื่อให้มนุษย์เกิดการพัฒนา ดดยไม่เน้นเรื่องความเชื่อแบบเทววิทยา
                    2.แนวคิดนี้จะสนใจเรื่องมานุษยนิยมว่ามนุษย์มีความเป็ยอยู่อย่างไร
                    แนวคิดนี้จะให้ความสำคัญกับคน เพราะแม้ว่าทรัพย์จะทำให้เกิดสิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้แต่สี่งที่ทำต่างๆให้เกิดขึ้นได้จริงคือคน หรือ Assets Make Things Possible people make things happen. การพัฒนามานุษนิยมตัวอย่างคือการพัฒนาคนตามแนวพุทธศาสนา
                    แนวคิดการ HRD แบบมานุษยนิยม(Humanism) จะเน้นการแก้ปัญหาให้กับคนสนใจความเป็นคนและเกียรติภูมิของคนแต่ แนวคิด HRD แบบ ศศ.จะมองคนเป็นแค่เพียงปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลการเจริญเติบโตทาง ศก.หรือ หรือมองว่ามนุษย์เป็นพรัพยากรอย่างหนึ่งในจำนวนทรัพยากรอื่นที่จะต้องมี และต้องใช้ให้บังเกิดผลในการเติบโต แนวคิดในเชิงกลยุทธ์ มีศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องคือ
                    1.Vision หรือวิสัยทัศน์ หมายถึงสิ่งที่เราอยากาจะให้เป็นไปในอนาคต ว่าอยากให้หน่วยงานของเรามีลักษณะอย่างไร
                    2.Mission ภารกิจ หมายถึง หลังจากที่เราสร้างวิสัยทัศน์เราต้องมาดูว่าหน่วยงานของเรามีภาระกิจอย่างไร ทำไมจึงต้องมีหน่วยงานหรือองค์การของเราหรือองต์การของ มีหน่วยงานของเราทำไม
                    3.Issue หรือประเด็นสาระและ Goals หรือเป้าประสงค์ ในส่วนนี้ถ้าเรามีวิสัยทัศน์หรือสิ่งที่ต้องการอยากจะเป็นโดยมีภาระกิจที่มุงไปสู่วิสัยทัศน์ที่วางเอาไว้แล้วนั้นจะต้องมีการกำหนดเป้าประสงค์ที่จะไปสู่จุดที่เราต้องการในระยะเวลาที่กำหนดจากวิสัยทัศน์ที่อาจจะยาว
                    4.Strategic Action Plan หรือแผนในเชิงกลยุทธ์หลังจากที่เรากำหนด Goals แล้วจะต้องกำหนดแผนกลยุทธ์ การวางแผนกลยุทธ์ภาครัฐจะเน้นการให้บริการประชาชนจึงคิดในเรื่องของการแข่งขันและเอาชนะน้อยมาก ขณะที่เอกชนจะต้องมีการแข่งขันต่อสู้เพื่อความอยู่รอดคนในภาคธุรกิจจึงมีความตื่นตัวตลอดเวลาแนวคิดเชิงกลยุทธ์จะใช้สำหรับผู้บริหารที่วางนโยบาย โดยไม่ได้สนใจรายละเอียดปลีกย่อยอันเป็นเรื่องของการปฏิบัติ
                    5.Tactics หรือกลวิธี จะเป็นเรื่องของฝ่ายปฏิบัติ ซึ่งหมายถึงวีธีการที่เฉพาะเจาะจงลงไปในการเอาชนะกันในการแข่งขัน ซึ่งแทกติกบางครั้งจะมีความหมายในทางลบ คนทำงานจะต้องมีแทกติกในการทำงาน เพราะบางครั้งการกระทำอะไรที่เป็นทางการตลอดเวลาอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ
                    การวางแผนกลยุทธ์จะมีกระบวนการเป็น 3 ขั้นตอน
                    การวางแผนกลยุทธ์จะต้องกำหนด Vision และ Mission เสียก่อนจากนั้นจึงมาวางแผนในเชิงกลยุทธ์ โดย
                    1. การเตรียมฐานในการวางแผน เริ่มจาก 1.สำรวจสิ่งแวดล้อม 2.ทำความกระจ่างกับเป้าหมายที่วางเอาไว้ 3.ประเมินทรัพยากร ว่ามีเพียงพอหรือไม่ 4. ทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์และประเด็นสาระ จุดนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นในเชิงกลยุทธ์(Strategic Thinking) โดยการคิดในเชิงกลยุทธ์จะประกอบไปด้วย
                    - Overstanding หมายถึงการเข้าใจโดยมองเป็็นภาพรวมให้ได้ หรือมองภาพกว้างๆ Big Picture
                    - Competition คิดในเชิงการแข่งขัน - Reealistic Vision วิสัยทัศน์จะต้องมีความเป็นไปได้
                    - เทคนิคการวิเคราะห์ Swot = Strengths คืือจุดแข็ง Weakness จุดอ่อน Opportunity โอกาสและช่องทาง Threats ตัวคุกคามหรือข้อจำกัด
                    - เทคนิคEnvironment Scanning การวิเคราะหห์สิ่งแวดล้อม คคือ PEST หรือ PEEST
                    2.สร้างกลยุทธ์
                    3. การสื่อสารและการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ความสัมพันธ์ของการวางแผนกลยุทธ์
ความสัมพันธ์ของการวางแผนกลยุทธ์

วัตถุประสงค์ที่มีระยะยาว ง่าย ชัดเจนและเป็นการตกลงร่วมกัน มีความาเข้าใจสภาพแวดล้อมของการแข่งขันอย่างลึกซึ้ง และมีการประเมินทรีพยากรการที่อยู่อย่างแท้จริงก็จะนำไปสู่การนำปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล และกลยุทธ์จะนำมาซึ่งความสำเร็จ แนวคิดในการสร้างตัวชี้วัดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เมื่อมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ก็มีการสร้างตัวชี้วัดเพื่อจะให้ทราบว่ามีการพัฒนาไปถึงระดับไหนแล้ว โดยการสร้างดัชนีชี้วัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่เรียกว่า HDI= Human Development Index ซึ่งจะใช้วัดว่าประเทศไหนมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากกว่ากัน โดยมีองค์ประกอบหรือตัวแปร3 ตัว คือ
1. ความรู้ (Knowledge) จะดูอัตราการรู้หนังสือในวัยผู้ใหญ่ คือช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไปซึ่งสามารถเข้าใจการเขียนประโยคสั้นๆง่ายๆตลอดชีวิตประจำวันของเขา คือรู้ตลอดชีวิต และจำนวนปีของเด็กที่อยุ่ในโรงเรียน
2. ความมีอายุยืน (Longevity) จะดูช่วงของการมีอายุโดยเฉลี่ย (Life Expectancy)
3. มาตรฐานการดำรงชีวิต(Standard of Living)ความเสมอกันด้านอำนาจการซื้อ(Purchasing Power Purity = PPP)ซึ่งขึ้นอยู่กับรายได้ จะตำนวณโดยเปรียบกับประเทศต่างๆ เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต(Quality of life)
ชีวิตที่มีคุณภาพประกอบไปด้วย
1.เป็นชีวิตที่อยู่รอด อยู่ดี อยู่อย่างมีหลักการ
2.สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่คิดเกินตัว
3.เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
4.ต้องดำเนินชีวิตด้วยความชอบธรรม
5.ต้องพอใจในความเป็นอยู่ของตน
6.ปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.มีชีวิตที่ดี
8.มีความสุขทั้งร่างกาย สังคม อารมณ์ ความคิดและจิตใจ
9.ต้อง มีความรู้ดี สุขภาพดีอนามัยดี มีความสามัคคี ความคิดดี การกระทำดีและจิตใจดี
10.ดำรงชีวิตที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคม ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ
เครื่องชี้วัดทางสังคม
1.ต้องมีการเก็ยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องตัวชี้วัด โดยข้อมูลคือข้อมูลโดยตรงและผลพลอยได้ จะหมายถึงข้อมูลทางสถิติต่างมราหน่วยงานทำเอาไว้
2.เครื่องชี้วัดสิ่งที่ป้อนเข้าไปและผงที่ออกมา เช่นเราอาจจะดูว่าในการพัฒนาคน
3.เครื่องชี้วัดอาจจะมีทั้งวัตถุวิสัยและจิตวิสัย หมายถึงเครื่องชี้วัดที่ตัดความรู้สึกออกไป
4.เครื่องชี้วัดระบบภาพรวม เช่นอาจจะดูถึงอัตราการตายของประเทศ การเงิน การเป็นเจ้าของทรัพย์สินว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่
ดัชนีชี้วัดทางสังคมจะมีหลายตัว เช่นอาจจะดูจากอัตราการเติบโตของประชาชกร การศึกษา ดัชนี วัดความยากจน ดัชนีวัดความไม่เสมอภาค
การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ESCAP = การลงทุนการใช้ประโยชน์และการให้ประโยชน์กับมนุษย์ UNDP ได้ประชุมเพื่อทำ Human Development Report ปี 2001 ได้ให้ความสำคัญกับ ICT= Information Communication Technology and Bio-Technology โดยมองว่าเทคโนฯจะมีผลอย่างมากต่อการลดความยากจนโดยให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเทคโนฯ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่อง Know Why ส่วนเทคโนฯ เป็นเรือง Know How ศตวรรษที่ 21 เป็น ศต.แห่ง Bio-Technology เช่น GMOs TAI = Technology Achievement Index คือตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาเทคโนฯมีองค์ประกอบคือ
1.การพัฒนาเทคโนฯ ใหม่ ดูจากการจดทะเบียนสิทฝะบัตรและการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเทคโน
2.การขยายตัวของเทคโน เช่นการส่งออก ของเทคโน ชั้นสูง ชั้นกลาง เครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต
3.การใช้เทคโนเดิมเช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า
4.ทักษะของ ปชช. จำนวนปีที่ได้รับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา
UNDP มองว่าเทคโนจะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเทคดน IT นั้น จะช่วยในการเข้าถึงข้อมุลข่าวสารส่วนเทคโน ชีวะภาพทำให้การผลิตอหารได้มากขึ้นเช่นผลิตภัณฑ์ GMOs
ปัญหาสำคัยในการลงทุนทาง เทคโนคือ ต้องการมีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างมหาศาล ทำให้ภาคเอกชนไม่เงินลงทุนดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ GMOsผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรม และที่นาจับตามองคือ NANO เทคโนระดับจิ๋วไว้ส่องสาวนแก้ผ้าได้
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่เกี่ยวกับ ท.การพัฒนาคื่อ
1.Conventional Economic Development Theory 1950-1970 จุดเน้นการเจริญเติบโตทาง ศก. เปลี่ยนโครงสร้างประเทศเป็นอุตฯ การพัฒนาคนเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ศก. การพัฒนาคนคือการลงทุนทาง ศก. เน้นการฝึกอบรมและการศึกษาด้านอาชีพ เน้นการสร้างความเชียวชาญ ด้านวิทย์และเทคโนเป็นพื้นฐาน เป็น Supple Oriented
2 Post Conventional Economic Development Theory 1970-1980 เกิดจาการประเมินความคิดเก่าพบว่า ศก.เจริญ ปชช.มีรายได้รายเพิ่ม แต่ความยากจนยังมีอยู่มาก เและมีปบัญหาในการกระจายรายได้ (Growth with Development) เป็น Supple Oriented มองว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุนทางสังคม ไม่ใช่ฝึกคนให้ไปทำงานเพื่อผลผลิตทางการ ศก.อย่างเดียว เน้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการดูแลเรื่องของสุขภาพ การมีงานทำและมีรายได้ เน้นเรื่องคุณภาพชีวิต การพัฒนาสตรี การได้รับการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐาน
3.NHE = New Household Economic 1990 แนวคิดนี้จะเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต การกินดี อยู่ดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี การพัฒนาเพื่อต้องการความสุขของมนุษย์เอง คือเอา การพัฒนามนุษย์เป็น เป้าหมาย (END)โดยการเอา การพัฒนา ศก.เป็นเครื่องมือ (Means) โดยการพัฒนา คน สังคมและ ศก.ไปพร้อมๆกัน นำมาใช้ครั้งแรกที่ แผน 7 แผน 8 เริ่มกำหนดชัดเจนเน้นคนเป็นศูนย์
UNDP มีแนวนโยบายการพัฒนาทรัยากรมนุษย์ที่ยั่งยืนคือ
1.การเพิ่มอำนาจ หรือการเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลให้พ้นจาก โง่ จน เจ็บ
2.ความร่วมมือร่วมใจในด้านต่างๆ
3.ขยายความเสมอภาคในโอากาส
4.ความยั่งยืน 5. ความมั่นคง
ESCAPการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการที่เป็นวัฎจักรต่อเนื่อง 3 ประการคือ 1.การลงทุน เป็นการเพิ่มพูนความสามารถในกาทุด้านทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เพื่อนำมาใช้ในการผลิต 2. การใชัทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์เพื่อผลผลิตสูงสุด
3.การอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ การมีส่วนร่วมของมนุษย์ในการบริโภคประโยชน์ที่เกิดจากผลผลิตของมนุษย์ เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพชีวิต
<>

1.ปรัชญาของแผน 9 คือ เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการลงทุนทางด้านการศึกษาและการดูแลสุขภาพ กรอบการพัฒนาในแผนฯ9จะต่อเนื่องจากแผนฯ8 คือยังยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นตัวนำในการพัฒนา คือ

ปรัชญา ศก.(Sufficiency Economy) นั้นคือการพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งการพัฒนาคน พัฒนาสังคมและ ศก. โดยการดำเนินตามปรัชญา ศก. พอเพียง จะหมายถึง ทางสายกลางในการพัฒนาคือ มัชฌิมาปทา ไม่ทำมากทำน้อยไปแต่ให้ทำพอเพียง พอเพียง คือ การทำพอประมาณ ไม่มากไปไม่น้อยไป นั่นคือไม่ได้หมายความว่าเราจะหยุดการพัฒนาแต่เราจะเดินไปข้างหน้าต่อไป แต่มีความระมัดระวังมากขึ้น มีความพอดี มีเหตุมีผลมาก หลักความสมดุล คือจะต้องพัฒนาในลักษณะองค์รวม มีเสถียรภาพ มีความหลากหลายและยั่งยืน หลักความคุ้มกัน คือการพัฒนาที่ผ่านมาเราไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่นการเปิดเสรีทางการเงินโดยไม่สร้างระบบคุ้มกัน ดังนั้นเมื่อเราใช้ปรัชญานี้ก็คือสร้างภูมิคุ้ม คือถ้ามีปัญหาเราจะมีกลไกที่จะแก้ไขได้ทันที หลักคุณภาพคน คือคนจะต้องมีคุณภาพ มีการเรียนรู้ตลอดเวลา มีการใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ มีเหตุผล เป็นคนที่มีคุณภาพ รู้เท่าทันโลก สังคมแห่งคุณภาพ คือสังคมจะต้องประกอบด้วยคนดี คนเก่ง คนมีคุณธรรม มี จริยธรรม เคารพกฎหมายและมีความรับผิดชอบ มีการปกครองที่โปร่งใสและเป็นธรรม สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ คือเพราะเราอยู่ในยุคของการคาบเกี่ยวระหว่างยุคข้อมูลข่าวสารกับยุคของ KBE- Knowledge Economy ดังนั้นเราต้องสร้างคนในสังคมให้สามารถสร้างภูมิปัญญา ของเราเองได้เพื่อสามารถผสมผสานกลมกลื่นกับสังคมโลกได้ คนไทยจะต้องคิดเป็นทำเป็นและมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีนวัตนกรรม และความคิดริเริ่ม มีการสร้างทุนแห่งภูมิปัญญา มีการสืบสานวัฒนาธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สังคมแห่งความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน คือ ต้องเป็นสังคมที่พึ่งพาเกื้อกูลกันมีการดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาศและคนยากจน


3. การพัฒนา HRD แบบเป็นองค์รวม
HRD คือกระบวนการเพิ่มเติมความรู้ ความชำนาญ และความสามารถโดยจะมองโดยรวมของประชาสังคม เนื่องจาก HR มีความสำคัญทั้งในด้าน ศก. สค. การเมือง โดยทาง ศก. HR เป็นผู้ผลิตผู้บริการ และผู้บริโภค ในทาง สค. HR มีบทบาทต่อความเจริญความร่มเย็น เป็นสุข และบทบาททางวัฒนธรรม จริยธรรมในสังคม ในการทางการเมือง HR ที่มีคุณภาพจะทำให้การพัฒนาก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ มีอิสระ ดันั้น HRD จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ ปริมาณและต้องเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรความเจริญงดงามทั้งด้าน ศก. สค.และการเมืองอย่างสมดุล คือจะต้องเป้นการพัฒนาที่เป็นบูรณาการ(Integrated ) คือทำให้เกิดผลเป็นองค์รวม (Holistic)หมายความว่าองค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ HRD จะต้องมาประสานครบองค์ และมีลักษณะที่สมดุล(Balance) HD มีความสำคัญที่จะต้องพัฒนาคือ 1 พัมนามนุษย์ให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุลอย่างถูกทาง และเป็นการอำนวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น สุขภาพดี รับผิดชอบ มีความรู้ มีความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย 2.พัฒนามนุษย์เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น เรื่องคุณค่าในความเป็นมนุษย์ มีความสุข มีการพัฒนาด้านจิตใจ และสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงาม สมบูรณ์ การพัฒนามนุษย์ตาม ข้อ 1 เป็น HRD ในด้าน Eco. เนืองจาก พัฒนาในลักษณะที่เป็นปัจจัยหนึ่งให้เกิดผลผลิต ศก.และ สค. ส่วน HD ใน ข้อ 2 นับว่าเป็น HD เพื่อประโยชน์แก่ตัวมนุษย์เอง จึงเป็นการพิจารณาในแง่การพัฒนามนุษย์ในแนวที่ต้องกระทำ HD หากพัฒนาเป็นระบบเพื่อความมุ่งหมายทั้ง 2 ประการข้างต้นแล้ว นั้น จะต้องทำเป็นการพัฒนาทุกๆ ด้านไปพร้อมกันคือ ด้านสุขภาพ ความรู้สติปัญญา พฤติกรรม และจิตใจ อย่างเป็น องค์รวม และ สมดุลกัน พระธรรมปิฎก (ปอ.ปยุตโต) กล่าวว่าปัจจัยที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ในสังคมจะมีปัจจัย 3 ด้าน คือ 1.Economy 2. Ecology 3. Human ที่ผ่านมาการพัฒนาล้มเหลวเพราะว่าไม่มีการพัฒนาแต่ละด้านให้เกิดความสมดุล มีบูรณาการ และเป็นองค์รวม โดยจะต้องเน้นที่คนเพราะว่าถ้าคนมีการพัฒนาแล้วก็สามารถที่จะไปพัฒนาอย่างอื่นได้ โดยเน้นตัวมนุษย์ให้เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการบูรณาการนั่นเอง สาเหตุที่ต้องใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาหรือปัจจัยสำคัญในการบูรณาการ ก็เพราะว่าการพัฒนาทุกด้านจะต้องมีมนุษย์เป็นตัวการพัฒนา หากไม่มีมนุษย์จัดการก็ พัฒนาไม่ได้ หรือถ้ามนุษย์ไม่พัฒนาตนเองก็จะไม่สามารถพัฒนาอะไรได้

จะต้องมีการพัฒนาทั้งด้าน สค. ศก. การเมือง และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยใช้คนเป็นแกนกลางในการพัฒนาให้มีการบูรณาการ กัน เป็นองค์รวม อย่างสมดุล บทบัญญัติ รธน.ที่เกี่ยวกับ HRD ม.42 การเสนองานวิจัยผลงานทางวิชาการ ม. 43 การจัดการศึกษา 12 ปี ฟรี ม.46การรักษาภูมิปัญยาท้องถิ่น ม52 ได้รับการบริหารสาธารณสุขมูลฐานที่ได้มาตรฐานผู้ยากไร้รักษาฟรี ม53 เด็กจรจัดเรร่อนต้องได้รับการดูแลจากรัฐ ม 54 คนชราได้รับการดูแล ม55 คนพิการได้รับการดูแล ม56ปชชมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.58 บุคคลย่อมได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ม.76 รัฐต้องส่งเสริม และสนับสนุนกำหนดนโยบาย ม.81 รัฐต้องจัดอบรมและส่งเสริมให้เอกชนจัดการอบรม ม82 รัฐต้องจัดบริการ สาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง ม 83 รัฐต้องกระจายได้อย่างธรรม ม 86 จัดให้มีการคุ้มครองแรงงานประกันสังคม รศ.ดร.สมิหรา หลักพื้นฐานในการัดสวัสดิการสังคม 1.Universality หรือหลักความเป็นสากล หมายถึงหลักประกันที่จะต้องครอบคลุมประชากรกลุ่มประชากร ต้องครอบคลุมประเด็นในการเสี่ยงทุกประเด็น 2.Unity หมายถึงหลักการที่จะทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ภายในแบบแผนการประกันในแบบเดียวกัน นั่นคือคนทุกคนจะต้องมีสิทธิและพันธะผูกพันเหมือนกัน 3.Integration หมายถึงหลักการที่จะทำอย่างไรให้เกิดการผสมผสานระหว่างแนวทางในการประกันสังคม ปัญหาพัฒนาแรงงานสตรี ปัญหาแรงงานสตรีคือไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าชาย ได้ค่าแรงน้อย และทำงานที่ไม่ตีเป็นค่างานเช่น การทำงานบ้าน การประชาสงเคราะห์และการประกันสังคม ความแตกต่างของการประชาสงเคราะห์กับการประกันสังคม คือ ความแตกต่างของการประชาสงเคราะห์ ช่วยเมื่อเกิดเหตุเพื่อบรรเทาทุกข์ การประกันสังคม เป็นมาตรการสร่างมาตราการป้องกันหรือช่วยเหลือกันหากมีเหตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0