lสรุป PS 709

PS 709
นแนวข้อสอบ PS 709
แนวข้อสอบ ติดต่อนาย NOM คลิกเลยครับ
    ชาร์ล โอริเช่ นโยบายต่างประเทศ( Foreign Policy) คือวิถีทาง นางทางของการกระทำและการตัดสินใจซึ่งรัฐได้ปฏิบัติลงไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับรัฐอื่นเพื่อ

ให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของชาติตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
นโยบายต่างประเทศคือ แนวทางที่รัฐเอกราชหรือประเทศเอกราชทั้งหลายกำหนดขึ้นมาเป็นแนวทางในการติดต่อสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับรัฐเอกราชอื่นๆเพื่อให้แต่ละรัฐได้ทราบถึงจุดมุ่งหมาย หลักการ วัตถุประสงค์ ของรัฐที่ติดต่อสัมพันธ์ด้วย โดยที่ทุกรัฐหรือทุกประเทศจะมีเป้าหมายสุดท้ายเหมือนกันคือ การแสวงหา การส่งเสริมและธำรงรักษาสิ่งที่เรียกว่า "ผลประโยชน์ของชาติ"
ผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญๆประกอบด้วย
1.ผลประโยชน์ทางการเมือง ได้แก่เกียรติภูมิศักดิ์ศรีของประเทศ
2.ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหมายถึงการอยู่ดีกินดีของประชาชน
3.ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงหมายถึงความอยู่รอดของชาติ
4.ผลประโยชน์ทางด้านสังคม หมายถึงการดำรงเอาไว้ซึ่งความดีงามของศิลปะและวัฒนธรรม
    ผลประโยชน์ของชาติประกอบไปด้วย

1.ความอยู่รอดและความเป็นเอกราช (Self- Preservation และ Independence)
2.ความมั่นคงแห่งชาติเบ็ดเสร็จ(Comprehensive Nation Security)
3.ความอยู่ดีกินดีของคนส่วนใหญ่ในชาติ(National Well- being)
4.การรักษาและเพิ่มพูนศักดิ์ศรีและเกียตริภูมิของชาติ( National prestige and dignity)
5.การส่งเสริมและการเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ (National Ideology)
6.การเพิ่มพูนและขยายอำนาจของชาติ (National Power)
7.ส่งเสริมสันติภาพและความสงบเรียบร้อยทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก(Regional and World peace and order)
    จากความหมายของนโยบายต่างประเทศ ก็คือเพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักดัง จากการดำเนินนโยบายต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การดำเนินนโยบายบกพร่องมากที่สุดควรจะเป็นช่วง ปี 1948 - 1973 (ยุคสงครามเย็น) หรือก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเข้าข้างค่ายโลกเสรี หรือเข้าข้างสหรัฐเป็นอย่างมากเขาให้ทำอะไรก็ทำหมดโดยเฉพาะในยุคของจอมพล ป. เพราะมีทั้งความขัดแย้งภายในคือทหารกับตำรวจ และความกลัวจากปัจจัยภายนอกคือ ความกลัวอิทธิพลของคอมมิวนีสต์โดยเฉพาะเหตุการณ์ ที่ จีนได้เปลี่ยนระบบการปกครองเป็นระบบคอมมิวนิสต์ โดยการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ทำให้ไทยกลัวภัยคอมมิวนิสต์มาก ที่เรียกว่า Communistphobia คือความกลัวที่ไม่มีเหตุผล จนในบางครั้งทำให้ไทยเสียโอกาสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจคือการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งถือว่ามีทรัพยากรจำนวนมาก แต่ไทยก็ละโอกาสที่จะปรับความเข้าใจกับจีนเช่นในการประชุมกันของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาที่ประเทศอินโดนีเซียในปี 1955 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ผู้นำไทยกับจีนได้พบปะกันแต่น่าเสียดายที่ไทยจะทำความตกลง แต่ก็พลาดโอกาส คือเราน่าจะรวมกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายซึ่งต่อมาได้วางตัวเป็นกลางหรือกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ( NAM = non alien Movement) แต่ไทยกับได้ละโอกาสนี้ไปแต่กลับดำเนินนโยบายใกล้ชิด สหรัฐมากยิ่งขึ้นเพราะกลัวภัยจากอิทธิพลคอมมิวนิสต์ โดยไทยมีความเชื่อว่า คบกับสหรัฐไว้ประเทศไทยจะได้ปลอดภัยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใครเพราะ จึงทำให้ไทยต้องทำตัวเป็นศัตรูกับประเทศรอบข้างไปทั่วคือ เช่น
    - .เกิดสงครามคาบเกาหลี 1950-1953 เกาหลีเหนือล้ำเส้น 38 จึงสงครามไทยส่งกองพันพยัคฆ์น้อยช่วยรบ
    - .อเมริการใช้นโยบายต่อต้านคอมฯ โดยเชื่อ ใน ท.โมมิโน เกิดองค์กร SEATO ในปี 1954
    -.ไทยกลัวคอมฯมาก ร่วม USA ส่งCIA ส่งทหารไปลาว เพื่อช่วยนายพลภูมี หน่อสวรรค์ซึ่ง ต่อต้านคอมฯเหมือกัน ไทยส่งทหารรับจ้างเข้ารบในลาวตามที่ USA แนะนำ
    -. วันที่ 1 ม.ค.1962 เกิดข้อตกลงร่วม ถนัด-รัสต์ เป็นแถลงการณ์ร่วมที่ USA จะดูแลเอกราชและประชาธิปไตยไทย
    -.เกิดสงครามเวียดนามไทยส่งทหาร จงอ่างศึก และ เสือดำเข้าร่วมรบในเวียดนาม ปี 1967และยังอนุญาติให้มาตั้งฐานทัพในไทยได้ ปี 1964 การร่วมรบในเวียดนามเรียกว่า นโยบายยุทธศาสตร์การป้องกันไกลบ้าน (Forward Defense Strategy) ฐานทัพในไทย 1962 ตาคลี และโคราช 1963 นครพนม 1964 อุดรธานี อู่ตะเภา 1965 สถานีเรด้าค่ายรามสูรอุดรธานี และเกาะคา ลำปาง
    จากการดำเนินนโยบายต่างประเทศผูกพันกับสหรัฐนั้นมีแต่ผลกระทบในด้านลบมากกว่าด้านบวด เพราะเศรษฐกิจดีขึ้นเฉพาะ บางกลุ่มบางอาชีพเท่านั้น แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหากระทบกับสังคมไทยมากมายในทางการเมืองก็เข้าล๊อคการปลุกระดมว่าไทยเป็นลูกไล่ของสหรัฐ ของ พคท.ให้ประเทศคอมมิวนิสต์ ให้การสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ต่างชาติมากขึ้น คือทำให้ไทยเราเป็นนักเลง แทรกแซงกับกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้านไปหมดทั้งเวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่าจนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ประเทศไทยน่าจะดำเนินนโยบายผูกมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน ติดต่อค้าขายสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตโดยไม่เอาเรื่องอุดมการณ์ความเป็นคอมมิวนิสต์มาเป็นเครื่องกีดกั้น เพราะผลประโยชน์คือ เรื่องปากท้องของประชาชนด้วย และไทยน่าจะดำเนินนโยบายไม่ฝักฝักฝ่ายใด ซึ่งมีสมาชิกอยู่จำนวนมากและเพียงพอที่จะต่อรองกับประเทศในกลุ่มค่ายคอมมิวนิสต์และโลกเสรีได้ ควรจะดำเนินนโยบายเพิ่มมิตรลดศัตรู และเห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายต่างประเทศรอบทิศทางของนโยบายรอบทิศทาง ของ พล.อ.อ. สิทธิ คือ ให้ความสำคัญกับปัญหาทุกเรื่อง ทุกระดับ ทุกด้าน ทุกประเทศ ทุกภูมิภาค เน้นเพิ่มมิตรลดศรัตรู
    1.ความสัมพันธ์ภูมิภาคเอเซียด้วยกัน
    2.กับมหาอำนาจเหมาะสมยึดผลประโยชน์ชาติ
    3.ความสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาเน้นความเท่าเทียมกันฉันมิตร ประเทศสังคมการทูตสร้างสรรค์และประสานประโยชน์ (Constructive Diplomacy) โดยไม่เอาความแตกต่างด้านอุดมการณ์มาเป็นอุปสรรค์
    4. ความร่วมมือกับประเทศ SOUTH จะเน้นความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจเพื่อรวมพลังในการต่อรองเพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากประเทศที่พัฒนาแล้ว NORTH
    นโยบายนี้มี 3 มิติคือ
    1. เน้นความมั่นคงทั้งภายในและนอก
    2.เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
    3.เน้นผลประโยชน์ทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างอิทธิพลและการได้รับการยอมรับจากเวทีระหว่างประเทศ และที่จำเป็นต้องมีการดำเนินนโยบายตามแบบของท่าน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัฒน์ คื่อ นโยบาย รอบทิศทางภายใต้โลกาภิวัฒน์1.Good neighbor การเป็นเพื่อบ้านที่ ดี 2. Good regional partner การเป็นหุ้นส่วนที่ดีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3.Good world citizen )การเป็นพลเมืองที่ดีของโลก �
    การดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชวนนั้นถือว่าผิพลาดอย่างมากเนื่อง การดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักแต่การที่รัฐบาลได้ทำหนังสือ LOI 2 - 8 แต่ก่อนประเทศไทยถูกกดดันจากมหาอำนาจตะวันตกในยุคล่าอาณานิคมบังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ในปี 1855 ซึ่งทำให้ไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยอังกฤษได้พยายามกดดันให้ไทยเปิดตลาดภายในประเทศ ลดภาษีปากเรือให้ไทยส่งสินค้าเกษตรคือข้าวออกได้อย่างเดียวโดยการใช้นโยบายเรือปืน ซึ่ไทยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำตามที่อังกฤษกดดันถ้าไม่ทำตามก็อาจต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของชาติ คือความอยู่รอดและความเป็นเอกราช (Self- Preservation และ Independence) ซึ่งประเทศเพื่อบ้านไทยต่างก็ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตกกันทั้งหมด พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ต่างพยายามจะยกเลิกสนธิสัญญาฉบับนี้หลายครั้งเพื่อไม่ให้ไทยเสียผลประโยชน์ ผลจากสนะสัญญานี้ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต การโดนจำกัดด้านการค้าระหว่างประเทศ ให้กับต่างชาติมีสิทธิ์เช่าดินและอื่นๆ เช่นจำกัดอัตราภาษีศุลกากรทั้งสิค้าเข้าและออก จนเงินในท้องพระคลังลดน้อยลงเพราะไม่สามารถเก็บภาษีได้ ปัญญาสิทธินอกอาณาเขตของอังกฤษกับสหรัฐ มิสทธิเหนือคนไทยคือทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย ดังนั้นเขาจะไม่ได้เข้ามาทำการค้าขายเองแต่เอาคนจีน อินเดีย เข้ามและม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย มีปัญหาต้องขึ้นศาลอังกฤษ ไทยจึงต้องหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกับชาวต่างชาติ รวมทั้งต้องแก้กฎหมายเพื่อให้คนเหล่านี้อยู่ภายใต้กฎหมายไทย วีธีการคือจำเป็นต้องให้คนไทยมีความรู้ดี ประเทศชาติมีความทันสมัย จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบราชการ มีการส่งคนไปเรียนต่างประเทศในสมัย ร. 4 - 5 และให้คนเหล่านี้เข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เรียนมาปรับเปลี่ยนระบบเวียง วัง คลัง นา มาเป็นระบบกระทรวง ทบวง กรม กว่าจะยกเลิกสนธิสัญญาอัปยศนี้ได้ก็ ปี 2475 (1932) แต่การทำหนังสือแสดงเจตจำนงต่อ ไอเอ็มเอฟ นี้เปรียบเหมือนทำสนธิสัญญากับต่างประเทศในยุคที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งแต่เงื่อนไขต่างกันคือรัฐบาลมีทางเลือกที่จะดำเนินนโยบายที่ดีกว่า การคือไม่จำเป็นต้องมีการทำหนังสือแสดงเจตจำนงว่าให้คนต่างชาติสามารถซื้อที่ดินในประเทศไทยได้ก็ได้เพราะว่านักลงทุนหรือบรรทษัทต่างชาติที่มีเงินทุนจำนวนมากคงจะต้องเข้าในขณะที่คนไทยซึ่งตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำก็จำเป็นต้องขายและในที่สุดไทยก็อาจจะมีแต่ชื่อว่าประเทศไทยแต่ผืนดินกลับตกไปอยู่ในมือของคนต่างชาติทั้งหมด และในที่สุดไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลก สนธิสัญญาเบาริ่งอังกฤษใช้นโยบายเรือปืนบังคับให้ไทยทำสัญญาแต่รัฐบาลชวนกลับแสดงเจตนาเองโดยที่ IMF เองก็ไม่ได้บังคับ และถ้าหากไม่กู้เงินจาก IMF ไทยก็สามารถกู้เงินจากแหล่งอื่นที่เต็มใจช่วยเหลือไทยโดยไม่มีเงื่อนไขเอาเปรียบไทยมากก็มี นักการเมืองไทยออก พรบ.จำนวน 11 ฉบับ โดยกำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจน ตามเงื่อนไขของ IMF ซึ่งมีมิตรเก่าอย่างสหรัฐคอยหนุนหลังอยู่ สาเหตุของวิกฤตสหรัฐได้ส่งให้ จอร์จ โซรอต เข้ามาทุบค่าเงินในเอเซียโดยมีการมองว่าไทยคือเป็นศูนย์ในภูมิภาคเอเซียจะทำทุบค่าเงินที่เอเซียต้องเริ่มที่ไทย การทำหนังสือแสดงเจตจำนงให้ IMF นั้นเป็นการทำลายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รัฐบาลนำเงินประชาชนไปใช้หนี้ให้กับธุรกิจที่หวังกำไร ธนาคารให้กับต่างชาติ การแก้ กฎหมายจำนวน 11 ฉบับก็เป็นการแปรรูปรัฐสาหกิจให้ตกไปเป็นของต่างชาติ IMF มีวัตถุประสงค์ต้องการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยให้สมาชิกมาร่วมลงทุน และได้รับการค้ำประกันโดยมีสิทธิในการขอกู้ได้ 5 เท่าจากเงินที่ส่งเงินที่กู้ก็เท่ากับเงินของสมาชิกเอง ธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียก็เช่นเดียวกัน ที่ประเทศสมาชิกมีเงินอยู่ในนั้น แต่ IMF จะเป็นคนจัดการในเรื่องการกู้ยืมจากวิกฤตการณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
    การกู้เงินเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจโดยการอิงกับ IMF เงินกู้จาก IMF น้เป็นเงินที่กู้มาจากประเทศต่างๆ จำนวน 17,200 $ รวมกับธนาคารโลกและ ADB มีเงินอยู่น้อยมาก จึงไม่ต้องทำตามเงื่อนไขของ IMF
    รูปแบบในการดำนโยบายต่างประเทศมีกระบวนการดังนี้
    กระบวนการวิเคราะห์นโยบาย

    ปัจจัยภายใน (Internal Factor)
    1.สภาพการณ์เมืองภายในประเทศ
    2.สภาวะผู้นำและทัศนะคติ(Leadership and Attitude)
    3.มติมหาชนและสือมวลชน จะมีอิทธิพลสำคัญต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
    4.กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ
    ปัจจัยภายนอก (External Factor)
    1.อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ
    2.สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกิดมรช่วงเวลาต่างๆ
    ต่อคำถามที่ว่านโยบายเศรษฐกิจการค้าไทยนั้นไม่ได้ถูกกำหนดโดยผู้นำไทย แต่เป็นเพราะแรงผลักดัน และการเปลี่ยนแปลงของพลังเศรษฐกิจโลกภายนอก นั้น ข้าพเจ้าคิดด้วย ดังจะเห็นจากการดำเนินนโยบายที่ผ่านมาของไทยทุกยุคสมัยจะเป็นลักษณะการลูตามลม (Wending With the Wind) หรือทูตไม้ไผ่ (Bamboo Diplomacy) นโยบายต่อไปนี้ ยุคสฤิษดิ์ ได้มีการวางแผนพัฒนาโดยได้แนวคิดมาจาก ธนาคารโลกและ IMF มีสภาพัฒน์และมี BOI แผน 3 ฉบับแรกเน้นอุตฯผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าต่อมีจุดออ่นเนื่องจากตลาดภายในประเทศเป็นตลาดเล็กนำเงินทุนจากต่างประเทศ ซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ จึงต้องมีการเปลี่ยนยุทธศาสตร์มาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยการแนะนำของ ธนาคารโลก โดยตัวอย่างจากประเทศ ฮ่องกง สิงคโปร์ ยุค เปรม มีการตั้ง ครอ. เพื่ออำนวยการส่งออก และมีการเปลี่ยนบทบาทรัฐจากควบคุม ศก.มาเป็นการกำกับประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุ ศก.ไทยเติบโตมากในการส่งออก เพราะมีมาตรการต่างๆทางภาษีและไม่เกี่ยวกับภาษีคือการทำหลายๆมาตรการ
    - มาตรการทางภาษีและการเงิน
    - รายได้สิทธิทางภาษีและชดเชย
    - การแบ่งเขตการลงทุน(Zoning) ในการลงทุน
    - ลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการ 20 %
    - อำนายการด้านมาตรการสินเชื่อและการเงิน (Refinancing(RFs)
    - ให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด
    - จัดตั้งสำนักการค้าต่างประเทศ
    - ขยายโครงสร้างพื้นฐาน
    สาเหตุหนึ่งที่มีการส่งออกขยายตัวอย่างมากคือการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาไทย จะเห็นว่าการดำเนินเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นก็คือจะมีปัจจัยภายนอก หรืออิทธิพลจากภายนอกมาผลักดันเสมอ �

      กรณีปัญหาที่ไทยตัดเข้าร่วมโดยการตัดสินใจของผู้มีอำนาจแทนรัฐ(Decision Makers)

    ยกตัวอย่างกรณีประเทศไทยตัดสินใจร่วมกับ UN นำส่งกองกำลังเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ในนาม ของ อินเตอร์เฟด ภมิหลังของปัญหา เดิมติมอร์ตะวันออก เป็นอาณานิคมของปอร์ตุเกส จน ปี 1975 ปอร์ตุ เกสได้ดำริที่จะให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออก ทำให้เกิดการสู้รบกันภายในที่สุดกลุ่ม เฟติลิน ชนะและปอร์ตุเกตให้ปกครองตะมอร์ตะวันออก หลังจากได้รับเอกราช ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้ใช้กำลังเข้ายึดเมือง ดิลี่ ในปี 1976 และประกาศให้ติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซีย ท่ามกลางการค้ดค้านของปอร์ตุเกส และได้นำเรื่องฟ้องร้องต่อ UN ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ UN มีการโหวตว่าการครอบครองติมอร์ตะวันออกไม่ถูกต้อง ไทยเป็นสมาชิกงดออกเสียงสิงค์โปร์ประนาม อินโดฯไม่พอใจ สภาพปัญหา ติมอร์ตะวันออกได้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจนในที่สุดอินโดนีเซีย ปล่อยให้ติมอร์ แยกตัวเป็นเอกราช แต่อย่างไรก็ตามผู้นำอินโดไม่พอใจมากนัก แต่ก็ทนเสียงคดค้านจากนานชาติไม่ไหว จึงต้องยอมให้ติมอร์แยกตัวเป็นเอกราช และมีสัญญาหยุดยิงโดย UN จะต้องส่งกองกำลังเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์
    วิเคราห์กระบวนการตัดสินใจเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลและทฤษฎี
    INPUT ----------------- Process Decision Maker -------------------- OUTPUT
    ปัจจัยนำเข้า คือประเทศมีแนวดำเนินนโยบายต่างประเทศตามแนวทางยึดมั่นพันธกรณีที่มีตามกฎบัตร UN สนธิสัญญาและความตกลงต่างๆที่ไทยเป็นภาคีเพื่อให้เกิดสันติสุขในโลก และไทยจะต้องรับผิดชอบต่อประชาคมโลก Decision Maker คือ ครม.มีมติเห็นชอบให้ส่งกองกำลังเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออกร่วมกับกองกำลังของ UN ในนาม กองกำลังอินเตอร์เฟด เพราะเป็นการเข้าไปเพื่อรักษาสันติภาพตามกฎบัตร UN เพื่อให้เกิดความสงบสุขสันติในโลก ไม่ถือว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของอินโดนีเซียเพราะการครอบครองติมอร์ตะวันออกของ อินโดนีเซีย เป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง และ ที่ประชุมใหญ่ สมัชชา UN ได้มีมติประนามแล้วว่าการกระทำของอินโดนีเซียไม่ถูกต้องก็ชอบที่ไทยจะปฏิบัติตาม มติ UN Out put คือการกำหนดนโยบายให้ส่งกองกำลังเข้าร่วมรักษาสันติภาพในติมอร์ร่วมกับ กองกำลังอินเตอร์เฟดของ UN สรุป การดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้ไทยได้รับการยอมรับจาก UN ประเทศต่างๆ อีกอย่างไทยเข้าไปในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือช่วยเหลือเจ็บป่วยเป็นหน่วยแพทย์ไม่ใช่หน่วยรบ ประชาชนให้การสนับสนุนและสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายที่ไทยได้หันมาเน้นให้ความสำคัญกับภูมิภาค ASEAN อธิบายโดยทฤษฎีระบบและเกี่ยวพันธ์ เอาทฤษฎีไปท่องหน่อย****** ท.เกี่ยวพัน (linkage Theory) การเมืองระหว่างประเทศเกี่ยวพันกับการเมืองภายในประเทศ ท.สนาม(Field Theory) ในโลกประกอบไปด้วยประเทศใหญ่น้อยต่างดำเนินนโยบายเพื่อผลประโยชน์ จึงกระทบชาติอื่น
    ไปดูสรุป PS709

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0