สรุปวิชา PS705

สรุปวิชา PS705
การทดสอบ วิชา PS 503

1.FOUNDER, FOUNDING FATHER 1.1 รัฐศาสตร์ คือ………….. อริสโตเติ้ล(Aristotle)ถือได้ว่าเป็นบิดาผู้กำเนิดวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งได้กล่าวว่า  รัฐศาสตร์เป็น "ราชาแห่งศาสตร์"หรือ "ศาสตร์แม่บท" (Master Science) และถือว่ารัฐศาสตร์มิใช่ "ศาสตร์ทางทฤษฎี" (Theoretical Science)แต่เป็น "ศาสตร์ทางปฏิบัติ" (Practical Science) ‚ รัฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ซึ่งเป็นรากศัพท์ จากคำว่า Politics Science กับ " Polis" แปลว่า "นครรัฐ" รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือการสร้างบ้านเมือง หรือการสร้างบ้านเมืองขนาดใหญ่ หรือการสถาปนาชุมชนขนาดใหญ่ ƒ ดังนั้นอริสโตเติ้ล จึงได้ให้ฉายาวิชารัฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาหรือ "ศาสตร์สถาปัตยสมบูรณ์ลักษณ์" (Architectonic Science) 1.2 ระบุชื่อตัวอย่าง 2 ประเทศว่าชื่ออะไร…….  ลี กวน ยู เป็นผู้ก่อตั้ง ประเทศสิงค์โปร ‚ จอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้ก่อตั้งประเทศ สหรัฐอเมริกา ƒ มหาตมะ คานธี เป็นผู้ก่อตั้ง ประเทศอินเดียยุคใหม่ 2. GREEN POLITICS……… การเมืองที่ให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเมืองที่มีนโยบายเกี่ยวโยงกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 3. วิสัยทัศน์ …. คือการมองไปข้างหน้าอย่างมีทิศทางและสร้างสรรค์ และมีทิศทาง ซึ่งอาจจะเป็น ก. ระยะไกลคือวิไกล ซึ่งอาจจะเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เช่นการทำนายของ Nostrada mus นักโหราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ทำนายไว้ประมาณ 400 ปีที่ผ่านมาว่าจะมีผู้ก่อเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในยุโรปนั้นก็คือ ฮิตเลอร์ ผู้นำชาวเยอรมันที่ได้ก่อเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่ทำนายไว้ว่าจะมีผู้ก่อเหตุการณ์ร้ายขึ้นในภาคพื้นตะวันออกกลาง ชื่อ Mabas เป็นต้น นี่คือการมีวิไกลส่วนมากจะทำเฉพาะนักทำนาย เพราะอาจเกิดเหตุพลาดพลั้งได้ ข. ระยะกลางคือวิกลาง ซึ่งอาจจะเป็นเวลาประมาณ 3- 5 ปี เช่นวาระการดำรงตำแหน่งของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ค.ระยะใกล้ คือวิใกล้ ซึ่งอาจเป็นระยะเวลาเป็น 2 ปี เช่น วาระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ตั้ง 200กว่ามาแล้วแต่ยังเหมาะสมกับสภาพกาลในปัจจุบัน นั้นคือวิใกล้ การมีวิสัยทัศน์นั้นเป็นการมองภาพที่อาศัยสติปัญญา (IQ = Intelligence Quotient)และจินตนาการ (EQ = Emotional Quotient) แต่ต้องมีวิสัยทาง คือรู้จักหาทางเลือก (Alternatives options) 4. ความจำแบบกล้องถ่ายรูป….. คือบุคคลที่อ่านหนังสือได้อย่างรวดเร็วและจำได้อย่างแม่นยำทุกหน้าเปรียบเสมือนกับการได้ถ่ายรูปเอาไว้ บุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เช่น JfK ประธานาธิบดี USA 5. Men of the (20 Th) Country ระบุชื่อ ….คือ 1. อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ผู้นำมาซึ่งทฤษฎีให้หลุดพ้นจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งต่อมาได้เกิดเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆมากมาย อันเป็นเลิศทางปัญญา คงอยู่ครู่กับโลกตลอดไป 2. คือ ให้ความสำคัญกับรูสเวลส์ซึ่งชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้กอบกู้เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำอย่างหนักช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังไม่ ยั่งยืนเหมือน ไอสไตน์ ส่วนอันดับที่ 3. คือ มหาตมะ คานธี ซึ่งเป็นผู้กอบกู้เอกราชประเทศอินเดีย จากประเทศอังกฤษ โดยสันติวิธี หรือวิธีอหิงสา โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ถือเป็นบิดาแห่งประเทศอินเดียยุคใหม่ 6. ทรัพยากรมนุษย์เชิงสติปัญญา…คือ มนุษย์ถือเป็นทรัพยากรในการพัฒนาทางการเมืองที่สคัญอย่างหนึ่งโดยเฉพาะมนุษย์ที่มี IQ และ EQ สูง อย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ผู้ค้นพบทฤษฎีให้หลุดพ้นจากแรงโน้มถ่วงของโลก แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ ประธานาธิบดี USA 4 สมัย และมหาตมะ คานธี ผู้ก่อตั้งประเทศอินเดียยุคใหม่ ผู้นำการต่อสู้อย่างสันติวิธี 7. อารธรรมคาบสมุทรเมดิเตอเรเนียน ….อารธรรมคาบสมุทรเมดิเตอเรเนียน(Mediterranean Civilization ) มีอิทธิพลต่การประดิษฐ์ คิดค้น และนวตกรรม (Innovation) ของโลกตะวันตกเป็นระยะเวลาอันยาวนาน 2 สหัสวรรษเศษมาแล้ว รวมทั้งจุดเริ่มต้นแห่งกีฬาโอลิมปิกส์ F การแพร่กระจายของอารธรรม กรีก ต่อด้วยอารธรรมโรมัน (นึกถึงจูเลียซ ซีซาร์พระนางคลีโอพัตรา) อารธรรม ยุคสมัยกลาง (มัธยมสมัย) ที่เน้นเรื่องความเชื่อและการติดอยู่กับแนวคิดเเมๆโดยเฉพาะภายใต้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดทรัพยากรซุปเปอร์มนุษย์อย่างมากมาย 8. Bill Gates ….เป็นบุคคลที่มีเงินมากที่สุดในโลกเขาประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจตั้งแต่อายุได้ 43 ปี มีเงินมากกว่างบประมาณแผ่นของประเทศไทยประมาณ กว่า 2 ปีงบประมาณ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจการเมือง 9. Globalization …..คือโลกาภิวัตน์ คือการอภิ- ยิ่ง , วัตน - หมุน คือการทำให้ดีขึ้นเพื่อการก้าวไปสู่ความเป็นระดับสากลหรือระดับพิภพ เป็น โลกไพรมแดน เช่น 1.อาหาร ก.อาจสั่งก๋วยเตี๋ยวได้ที่ประเทศสหรัฐฯ ข.อาจสั่งไก่ KFC ได้ที่ประเทศไทย 2.เครื่องนุ่มห่ม ก.อาจใส่กางเกงขากล้วยได้ที่ประเทศสหรัฐฯ ข.มีการผูก Necktie กันไปทั่วโลก 3.การศึกษา เน้นการศึกษา นานาชาติมากขึ้น 4.การเมือง เริ่มเข้าสู่ประชาธิปไตยแบบสากลทุกหนทุกแห่ง 10.คลื่นลูกที่1…..คือยุคเกษตรกรรม ในยุคนั้นมนุษย์จะมีวิธีชีวิตในการดำรงชีพด้วยการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำงานด้วยแรงงานคน แรงงานสัตว์ เช่นการสร้างปิระมิด ที่ประเทศอียิปต์ การสร้างกำแพงเมืองจีน ที่ประเทศจีน ล้วนแต่เป็นการใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ การเดินทางด้วยเท้า ด้วยรถลากด้วยแรงงานสัตว์ เรือพาย 11. Sputnik …..คือดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ถูกส่งออกไปสู่อวกาศ โดยประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ.2500 เป็นจุดเริ่มของการพัฒนาระบบการสื่อ ด้วยระบบ IT ก้าวไป โลกาภิวัตน์(Globalization) 12. Bilingualism ……คือ ทวิภาษา คือการมีความสามารถในการสื่อสารได้ 2 ภาษา เพื่อการก้าวไปสู่ความเป็นสากล ไปสู่โลกาภิวัตน์ (Globalization) 13.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ …..คือผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง มุ่งรู้ มุ่งเรียน จึงมาราม 14.PPE คือ หลักสูตรผสมที่มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด (OXFORD) ของอังกฤษซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่หลายร้อยปีเปิดสอนระดับปริญญาตรี เรียกว่า PPE คือ Philosophy = ปรัชญา Politics = การเมือง Economics = เศรษฐกิจ 15. ภาษิต ภาษาบาลีของ ม.ร……..คือ อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน 16. Nostradamus ……. คือนักโหราจารย์ นักทำนายชาวฝรั่งเศสที่ทำนายอนาคตได้แม่นยำที่สุด เขาเคยทำนายไว้ประมาณ 400 ปีที่ผ่านมาว่าจะมีผู้ก่อเหตุการณ์ร้ายในตะวันออกกลางชื่อ Mabas และในที่สุด Sadam ประธานาธิบดี ของประเทศอีรักได้ก่อสงครามในภาคพื้นตะวันออกกลางโดยได้บุกโจมตี อิสราเอล ซึ่งในสมัยของ Nostradamus นั้นถ้ามีใครทำนายถูกต้องจะถูกกล่าวหาว่าเป็น พ่อมด (wizard ) ดังนั้นเขาจึงทำนายเลี่ยงๆ และแกล้งทำนายผิดในระยะใกล้ Mabas เขียนกลับ จะเป็น Sabam หรือ Sadam และเคยทำนายไว้ว่าฮิตเลอร์ จะก่อเหตุการณ์ร้ายคือก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 17. QA ….. คือ Quality Assurance คือการประกันคุณภาพ นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงจะต้องมีคุณสมบัติสมกับปริญญาที่ได้รับ 18. PC คือ การจำแนกตำแหน่งตามหน้าที่และความรับผิดชอบ(Position Classification or Duties and Responsibilities) มีในอเมริกาและ ไทย ขั้นตอน ของระบบ P.C มี 4 ขั้นตอน คือ 1.สำรวจตำแหน่ง 2.จัดตำแหน่ง 3.วิเคราะห์แยกประเภท 4.จัดทำมาตรฐาน ผลดีของการนำระบบ P.C มาใช้ในการบริหารงานบุคคล 1.พิจารณา กำหนดตำแหน่งรวดเร็วปละประหยัด เพราะมีการกำหนดมาตรฐานไว้แล้ว 2.การกำหนดเงินเดือน เป็นไปด้วยความชอบธรรม Equal pay for equal work 3.คัดเลือกบุคคลข้าปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4.การแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งมีความเหมาะสมยิ่ง 5.ตรวจสอบควบคุมตำแหน่งจะมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่ง 6.ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีกำลังใจและขวัญดีขึ้น 19. Joan of arc ………คือ วีระสตรีชาวฝรั่งเสศที่กอบกู้เอกราชคืนจากรปะเทศอังกฤษ 20. ไอสไตน์ กับ Hard Sciences ……….คือ เขาเป็นผู้ค้นพบการทำให้หลุนพ้นจากแรงโน้มของโลก ทำให้สามารถผลิตดาวเทียมได้ในยุคต่อมา ทำให้ทุกนี้มีการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ทันท่วงที่ในยุค IT (Information Technology) หรือ Globalization 21. ประธานาธิบดี 4 สมัย ของ สหรัฐอเมริกา …..คือ แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ เขาเคยมีผลงาน คือทำให้ฮิตเลอร์ แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยขณะที่ทวีปยุโรปกำลังจะแย่ และเขาสามารถกอบกู้เศรษฐกิจของโลกได้ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำสุดขีด 22.ไอเซนเฮาร์……คือนายพลที่ถูกส่งไปรบกับกองกำลังของฮิตเลอร์ที่สหภาพยุโรป โดยคุมกองกำลังทัพเรือจำนวน 7,000 ลำ และเอาชนะ ฮิตเลอร์ได้ เป็นบุคคลที่ มี EQ สูงมากสามารถทำงานได้ในสถานะการณ์ที่คับขัง มีการควบคุมตัวเองได้สูงมาก เขาเรียนจบที่ West Point สอบได้อันดับที่สุดท้ายของชั้นเรียน 23. ภูมิรัฐศาสตร์……….คือ การเมืองที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์เช่นในการตั้งเมือง การยุทธศาสตร์ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิตล้วนแต่เป็นการเมืองที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับสภาพภูมิศาสตร์ 24. ปรจิตวิทยา……..คือ ความเชื่อมเกี่ยวกับเรื่องพลังจิต เรื่องอาถรรพ์ (Jinx) เรื่องลี้ลับ เรื่องจิตวิทยา เป็นปรากฎการแปลกๆ หรือไม่ปกติ ตัวอย่าง คือ ปรากฎการณ์ทางโทรจิต(Telepathy) 6 th sense ,หูทิพย์ตาทิพย์ ( Clairvoyance ), การเคลื่อนย้ายวัตถุโดยพลังจิต (Psychokinesis) 25. Plan A,B,C ของคณะรัฐศาสตร์ …….คือ ภาควิชารัฐศาสตร์ที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหง Plan A คือ เป็นเรื่องการเมืองการปกครองโดยทั่วไป Plan B คือ เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(International Relations) Plan C คือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 26. รู้จับจุด ,รู้แจกแจง….รู้จับจุด คือ การเรียน จับจุดประเด็นสำคัญได้ จับจุดได้ว่าเป็นเรื่องอะไรเกี่ยวกับอะไร รู้แจกแจง คือ เมื่อจับจุดจับประเด็นสำคัญได้แล้วก็สามารถวิเคราะห์และแจกแจงเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้อง 27. ปรากฏการณ์ Jinx เกี่ยวกับประธานาธิบดีอเมริกา…….. เป็นปรากฎการณ์อาถรรพ์ที่เกี่ยวกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในขณะดำรงตำแหน่งอยู่จะต้องเสียชีวิต หรือถูกลอบทำร้าย โดยจะเกิดขึ้นทุกๆ 20 ปี ที่ลงท้ายด้วย ๐ เช่น ปี ค.ศ.1840 , ค.ศ.1860 ประธานาธิบดี ลินคอล์นถูกลอบยิงเสียชีวิต, ค.ศ.1880 , ค.ศ.1940 รูสเวลต์เสียชีวิตขณะนั่งให้ช่างเขียนรูป ค.ศ. 1960 ประธานาธิบดี จอร์น เอฟ เคนนาดี้ ถูกลอบยิงเสียชีวิต ค.ศ. 1980 ประธานาธิบดีเรแกรนถูกลอบยิงบาดเจ็บ ซึ่งมาตอนนี้ภรรยาของ เรแกรน เชื่อแล้วว่ามีอาถรรพ์จึงได้หาวิธีแก้อาถรรพ์ จึงแค่บาดเจ็บ 28. กระแสบูรพานุวัตร………คือ บูรพานุวัตร (Orientalization) การทำให้เป็นตะวันออก การส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรมตะวันออกไปสู่ตะวันตก เช่นวัฒนธรรมของ ไทย จีน อินเดีย ไปสู่ตะวันตก เช่น อาหารไทย (ต้มยำกุ้ง) มวยไทย หรืออาหารจีน ทิมซำ ,ซาลาเปา , ขนมจีน ,หมั่นโถว เป็นต้น 29. ภูมิศาสตร์การเมือง………คือการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางแวดล้อมทางธรรมชาติ(ภูมิศาสตร์)เกี่ยวเนื่องกับความแตกต่างระหว่างภูมิศาสตร์การเมืองกับภูมิศาสตร์รัฐศาสตร์ เกี่ยวกับเขตแดน การตั้งเมืองเพื่อให้ได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์ จะสังเกตว่าการตั้งเมืองตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันจะตั้งอยู่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ นั้นคือทำเลทางภูมิศาสตร์ 30. นโยบายศาสตร์……..คือขบวนการในการวางหรือกำหนดนโยบาย ของรัฐ เป็นนโยบายสาธารณะ 31. EQ ……..คือ Emotional Quotient การควบคุมทางอารมณ์ การทำงานได้แม้อยู่ในสภาวะที่คับขัน 32. Third Wave ………คือ ยุคทางเทคโนโลยี การสื่อสารที่ไร้พรมแดน เป็นยุคอุตสาหกรรม ติดต่อด้วยระบบ IT (Information Technology) เป็นยุค โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือการเป็นสากล การติดต่อสื่อสารด้วยระบบดาวเทียม โทรศัพท์ โทรพิมพ์ เป็นยุคที่เดินทางด้วยจรวด สามารถเดินทางไปนอกโลกได้ 33. West Point ………เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสถานศึกษาของบุคคลสำคัญหลายคน เช่น นายพล ไอเซนเฮาร์ นายพลผู้รบชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 กับฮิตเลอร์ นายพลแมค อาร์เธอร์ ที่คุมกองกำลังรบในคาบสมุทรแปซิฟิก คุมกำลังทหารรบในสงครามเกาหลี และจอมพล ป.พิบูลย์สงครามเคยเรียนอยู่ที่นี่
1. การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรือไม่ อธิบาย ? ตอบ = การเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้จะต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแน่นอน ส่วนจะมีการซื้อมากน้อยเพียงใดแล้วแต่พื้นที่เพราะการซื้อเสียงซื้อสิทธิ์เลือกตั้งนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการใช้เงินซื้ออย่างเดียว สามารถซื้อได้หลายวิธีเช่น การให้สิ่งของ การทำผลประโยชน์ให้หรือการช่วยเหลือใด ๆ ของผู้สมัครที่มีเจตนาหรือเพื่อให้ประชาชนผู้รับลงคะแนนเสียงให้ก็ถือว่าเป็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแล้ว ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฎิบัติรูปการเมืองโดยมีการกำหนดให้มี ส.ส. ได้จำนวน 500 คน โดยแบ่งออกเป็น ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียวจำนวน 400 เขต (ส.ส.400 คน) และแบบบัญชีรายชื่อพรรคจำนวน 100 คน 1. ในแบบเขตเดียวเบอร์เดียวได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 400 เขต ทำให้มี ส.ส. ได้เขตละ 1 คน รวม 400 คน ทั้งประเทศ ทำให้เขตการเลือกตั้งแคบลง ผู้สมัครได้ลงพื้นที่พบปะประชาชนใกล้ชิดขึ้น การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็คงจะยากขึ้น แต่ถ้าคิดแบบตรงกันข้ามยิ่งจะทำให้ซื้อเสียงง่ายขึ้นเพราะเขตเลือกแคบทำได้ทั่วถึง อาจจะทำให้ซื้อเสียงง่ายขึ้น "ซื้อง่ายขายคล่องแบบถึงมือ" 2. ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคโดยให้แต่ละพรรคส่งได้พรรคละ 1 บัญชี ไม่เกินบัญชีละ 100 คน ใช้เขตประเทศไทยเป็นเขตเลือกตั้งโดยให้พื้นที่เลือกตั้งมากหรือกว้าง คิดว่าคงจะทำให้ซื้อเสียงยากขึ้นแต่สามารถทำได้ คือถ้าแบบเขตที่พรรคส่งลงสมัครให้หาเสียงวิธีซื้อเสียงและให้ซื้อเพื่อระบบบัญชีรายชื่อพรรคด้วยโดยเฉพาะพื้นที่ใดที่ผู้สมัครเขตเป็นที่รักใคร่ของประชาชนและมีคะแนนห่างจากลำดับรองแบบทั้งห่างมาก ๆ เช่น ได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ถ้ารองได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ และบุคคลเหล่านั้นเลือกระบบบัญชีรายชื่อพรรคด้วยนี้แสดงให้เห็นว่าซื้อเสียงได้โดยเฉพาะแต่มีเงินมาก ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งในสมัยต่อไปนี้ 1. การศึกษา การศึกษาถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการเลือกตั้งมากอย่างหนึ่งว่า Rober lane ได้ศึกษาวิจัยในการเลือกตั้งในอเมริกาพบว่าคนที่มีการศึกษาสูงจะไปเลือกตั้งมากกว่าคนการศึกษาต่ำหรือคนที่ไม่ได้รับการศึกษา การศึกษาในอเมริกาขั้นต่ำ คือ Hi - school ส่วนในประเทศไทยเราปัจจุบันยังไม่ถึงระดับ ม.6 คือ ยังมีการจบการศึกษาภาคบังคับอยู่ ยังไม่แยกแยะว่านโยบายของพรรคคืออะไร มีอุดมการณ์ว่าอย่างไร เมื่อมีคนนำผลประโยชน์มาให้ก็จะรับทันที 2. เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของรายได้ของประชาชนเป็นเรื่องของปากท้องปัจจุบัน รายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศไทยยังต่ำมากถือว่าอยู่ในขั้นยากจน เห็นได้มีการสำรวจราษฎรจำนวน 800 ครัวเรือน ที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่าประชาชนมีรายได้เฉลี่ยวันละ 4 บาทหรือปีละ 1,440 บาท ซึ่งถือว่าต่ำมาก ๆ ไม่เพียงพอต่อการครองชีพในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อประชาชนท้องกิ่วไม่มีจะกิน ถ้ามีคนนำสิ่งของ นำเงินมาให้ก็จะต้องรับเพื่อความอยู่รอดไม่สนใจว่าบุคคลที่ให้อยู่พรรคไหน มีอุดมการณ์อย่างไร จะพัฒนาไปในทิศทางใด เศรษฐกิจจึงมีผลต่อการเลือกตั้งอย่างมาก ปากท้องของประชาชนจะต้องมาก่อนการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แน่นอน -2- 3. สังคม ของประเทศไทยจะเป็นสังคมแบบหลวม ๆ ไม่ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ ไม่มีการฝึกคนไทยเป็นคนเอาอย่างไรก็ได้ง่าย ๆ ไม่เรื่องมากจากการศึกษาพบว่าสังคมไทย 3.1 เป็นระบบอุปถัมภ์ คนไทยยังชอบการแต่งตั้งอยู่ ชอบพรรคพวกกัน เคยฝากอะไรกันไว้ เคยทำให้ยังรักพี่รักพ้อง รักเจ้านายรักลูกน้อง เพื่อนที่ทำงาน ดังนั้น ถ้ามีการฝากว่าเลือกให้หน่อยนะคนนี้เพื่อนกัน ก็ได้ถือว่าช่วย ๆ กัน การซื้อเสียงจึงเกิดขึ้นแน่นอน 3.2 เป็นระบบเครือญาติ สังคมไทยเป็นระบบครอบครัวใหญ่ ยังมีสายใยความผูกพันกันอยู่มีปู่ย่าตายาย ลูกป้าน้าอา ยังเกรงใจฝากมาคนนี้เป็นญาติฝ่ายแม่นะ ลงสมัครฝากหน่อยก็เลือกญาติ ต้องช่วยญาติไม่สนใจว่านโยบายพรรคหรือไม่อย่างไร โดยไม่สามารถแยกเรื่องเครือญาติหรือเรื่องส่วนตัวออกจากการเมืองได้ ดังนั้นจึงยังมีการซื้อเสียงอยู่ 3.3 เป็นระบบอาวุโส คนไทยยังมีระบบอาวุโส มีระบบผู้บังคับบัญชาฝากมาก็เลือก ๆ ตามผู้อาวุโสโดยไม่คิดถึงเรื่องการเมือง 3.4 ระบบสะสมมรดก คือ สังคมไทยชอบการสะสมมรดกไว้ให้ลูกหลานอย่างนั้นทำอย่างไรก็ได้ขอให้ได้เงินมามาก ๆ เพื่อสะสมไว้ให้ลูกหลานของตน วิธีที่จะได้มาง่ายก็คือ การมีอำนาจทางการเมืองเพราะมีช่องทางในการหาเงินได้มากคือ การคอรัปชั่นมากเมื่อคนอยากรวยก็เลยทุจริตโดยการพยายามซื้อเสียงทำไปให้ได้เพื่อจะได้เป็น รมต. 4. ค่านิยม ค่านิยมของคนไทยจะมีความชอบอยู่มาก เช่น 1. ค่านิยมชอบคนมีบารมีมีอิทธิพล ร่ำรวย โดยมิได้สนใจว่าเขามีนโยบายพรรคว่าอย่างไร แต่ ชอบคนนี้แหละจึงเลือกเพราะเขามีบารมี ส่วนเลือกแล้วเขาจะไปทำอะไรบ้างไม่ได้คิด 2. ค่านิยมชอบคนใจนักเลง พูดจริง ทำจริง คำไหนคำนั้น แต่ไม่ใช่ทำเพื่อประชาชนของชาติ แต่เป็นประโยชน์ส่วนตัว คนไทยชอบเพราะใจนักเลงดี คนตรง แต่ไม่ได้พิจารณาว่าเขาอยู่พรรคไหน มีนโยบายอย่างไรเลือกเขาเพราะชอบ 3. ชอบคนใจกว้าง ,ใจใหญ่ , ใจกว้าง ทำบุญมาก ๆ บริจาคมาก ๆ ไปจัดเสียงโดยมิต้องให้ใคร ออกค่าใช้จ่ายช่วย , เอาภาพยนต์ , เอามวยเอาหมอลำมาให้ดูฟรี นักการเมืองลงทุนไปก็ต้องหาคืน 4. ชอบของฟรี, คนไทยจะชอบมากของฟรี อะไรก็ได้ขอให้ได้มาฟรี ๆ ชอบ เช่น เขาจัดโต๊ะ จันให้กินฟรี , จัดมโหรสพให้ดูฟรี ชอบก็เลือกเขาโดยไม่สนใจเลยว่าเขาจะทำอะไรได้บ้าง เขามีอุดมการณ์หรือนโยบายหรือไม่ จะช่วยเศรษฐกิจชาติได้อย่างไร 5. ชอบคนที่ดีเด่น , มีชื่อเสียง , ถ้าดังมีชื่อเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งคนไทยจะชอบเลือกโดยไม่ สนใจว่าเขาลงเพราะมีอุดมการณ์ทางการเมือง , มีนโยบายหรือเปล่า -3- 5. ชอบลืมง่าย คนไทยจะเป็นคนที่ลืมอะไรง่าย ๆ ไม่ค่อยจำว่าในอตีตที่ผ่านมาได้ทำอะไรผิดไปบ้าง เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่วันก็จะลืม คนที่เขาสมัครใหม่ก็จะเลือกอีกจนลืมไปว่าเขาเคยสร้างผลงานหรือไม่จำได้แต่ว่าเคยเลือก 6. เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ คนไทยจะเป็นคนที่เชื่อบาปบุญคุณโทษเมื่อได้รับเงินรับสิ่งของเขามาแล้วก็จะต้องเลือกเขาเพราะจะบาป โดยไม่สนว่าเขาได้รับเลือกตั้งแล้วเขาจะไปทำอะไรบ้าง 7. ชอบเชื่อเรื่องโชคลาง ผีสางเทวดา ดูดวงแล้วคนนี้ได้รับเลือกตั้งก็ได้รับเรื่องการดูดวง เชื่อผีบอก 8. ชอบคนบริจาคมาก ถ้าบริจาคมาก ๆ ก็ชอบ เขาบริจาคเงินสร้างวัด , สร้างถนนให้จะต้องเลือก ๆ เพราะเขาทำให้ ไม่สนใจว่าเขาเล่นการเมืองเพราะมีนโยบายว่าอะไร 9. ชอบให้อภัย ถ้านักการเมืองทำผิดมาในอดีตเขาออกมาขอโทษก็ให้อภัยให้เล่นการเมืองต่อได้ เลือกเขา อีก และถ้าทำผิดอีกก็ขอโทษและให้อภัยอีกเรื่อย ๆ 10. ชอบการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นิสัยคนไทยแต่โบราณมาแขกมาบ้านให้ต้อนรับ ยิ่งเขามีของมาฝากด้วยยิ่งต้อนรับ มาขอคะแนนถึงประตูบ้าน นำของมาฝากด้วยจะต้องเลือกเขา 11. ไม่ค่อยมีจริยธรรม คนไทยไม่ยึดติดกับระเบียบ แบบแผน การเมืองไม่มีจริยธรรมทางการเมือง 12. ถืออาวุโส ต้องเชื่อผู้ใหญ่ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่บอกให้เลือกใครก็เลือก ผู้บังคับบัญชาให้เลือกใครก็เลือกโดยไม่สนใจว่ามีอุดมการณ์เมืองหรือไม่ 13. คนไทยมีกตัญญู คนไทยเป็นคนมีกตัญญูเคยฝากเขาให้เอาลูกเข้าโรงเรียน ฝากลูกให้ทำงาน หรือช่วย เหลือเขาโดยยืมเงินก็ให้ยืมแถมยังไม่ลดดอกเบี้ยจึงต้องเลือกเขา ด้วยเหตุผลข้างต้นนั้นสรุปได้ว่า การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไปนี้จะต้องมีการเลือกตั้งแน่นอน แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 นี้ มีนโยบายการปฏิรูปการเมือง และมีองค์กรอิสระในการดำเนินการเลือกตั้งโดยตรงก็ตาม คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) และองค์กรเอกชน (Ngos) อื่น ๆ ติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดก็ตามจะต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างแน่นอน เพราะการซื้อเสียงไม่ใช่แต่เพียงการใช้เงินซื้อโดยตรงเท่านั้น ก็มีวิธีการมากมายดังที่กล่าวข้างต้น การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อพรรค ข้อดี 1. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นการกำจัดพรรคเล็ก ๆ ให้หมดไปเพื่อพัฒนาเป็นระบบพรรคการเมือง 2 พรรค เพระคนส่วนมากจะเลือกพรรคใหญ่ ต้องการให้ใครเป็นนายกฯให้เลือกพรรคนั้น 2. เสียงประชาชนในการเลือกตั้งจะมีประโยชน์มากกว่าระบบเขต เพราะเสียงประชาชนลงให้ในแต่ละเขตจะนำไปรวมกันในระดับประเทศจึงมีประโยชน์มาก 3. ได้รัฐมนตรีเขาเพราะรู้แล้วว่าบุคคลนี้จะมาเป็นรัฐมนตรีคือส่วนมากที่อยู่ในบัญชีรายชื่อพรรค 4. ไม่ต้องเลือกตั้งซ่อม กรณีที่เลือกบุคคลใดคนหนึ่งเป็นนายกฯ ก็สามารถเลือกคนในพรรคเดียวกันที่ได้ คะแนนถัดมาขึ้นมาเป็น ส.ส. แทนได้เลย -4- 5. ป้องกันการซื้อเสียงได้เพราะเป็นเขตใหญ่ใช้เป็นเขตเลือกตั้ง คงป้องกันการซื้อเสียงได้ระดับหนึ่ง ข้อเสีย 1. คนที่มีเงินมากก็จะได้เปรียบในการซื้อเสียง คือ เขตใหญ่ก็จะต้องใช้เงินมาก ๆ โดยให้ซื้อทั้งระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อพรรค 2. อาจไม่ได้คนดีเป็นรัฐมนตรี เพราะอาจได้คนที่มีเงินมาก ๆ ลงทุนให้พรรคแล้วมาอยู่ในบัญชีรายชื่อพรรคในระบบต้น ๆ ก็อาจได้เป็นรัฐมนตรี 3. อาจได้รัฐมนตรีระบบโควต้า คือ ส่งตัวแทนหรือส่งลูกน้องลงในเขตแทน แล้วตัวเองลงบัญชีรายชื่อพรรคโดยกำหนดโควต้าว่าถ้าได้ ส.ส. จำนวนเท่าใดจะขอเป็นรัฐมนตรี เป็นต้น จึงทำให้อาจได้คนไม่มีความสามารถ ความรู้ที่เหมาะสม 4. เป็นการมัดมือชกประชาชนไม่สามารถเลือกได้ในระบบบัญชีรายชื่อพรรค ท รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการแยกอำนาจการบริหารระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง 1. การศึกษา 2. เศรษฐกิจ 3. สังคม 3.1 สังคมอุปถัมภ์ 3.2 ระบบเครือญาติ 3.3 อาวุโส 3.4 ระบบมรดก 4. ค่านิยม 4.1 ชอบคนมีบารมี ,มีอิทธิพล 4.2 ชอบคนใจกว้าง 4.3 ชอบกินของฟรี 4.4 ชอบให้อภัย 5. ชอบลืมง่าย 6. ชอบคนบริจาคมาก 7. เชื่อเรื่องผีสางเทวดา 8. ชอบคนดีเด่นมีชื่อเสียง 9. เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ -5- 10. ชอบคนใจนักเลง 11. ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 12. ไม่ชอบมีจริยธรรม 13. อาวุโส 14. คนไทยกตัญญู -------------------------------------------
คำถาม การบริหารรัฐกิจมีความเกี่ยวพัน กับ Globalization และ Contingency Management หรือไม่? อย่างไร? อธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลทางวิชาการให้ชัดเจน คำตอบ การบริหารรัฐกิจเกี่ยวพันกับ Globalization และ Contingency Management ดังนี้ การบริหารรัฐกิจ( Public Administration) นั้นได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้คำจำกัดความไว้หมายคน เช่น FELIX A.NIGRO , WHITE ,SIMON รวมแล้วจะได้ความหมายว่า การบริหารรัฐกิจเป็นการดำเนินงานของทางราชการเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่วางไว้ เป็นกิจกรรมทั้งหลายของฝ่ายบริหารที่จะทำให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผล การบริหารรัฐกิจเป็นทั้ง ศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) นั่นคือ ศาสตร์หมายถึง เป็นวิชาการสาขาหนึ่งที่เรียกว่า รัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ ที่มีการรวบรวมองค์ความรู้อย่างเป็นระบบมีหลักวิชาการและกฎเกณฑ์ที่สามารถถ่ายทอดได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ส่วนศิลป์ นั้นหมายถึง ใช้ในการปฏิบัติงานราชการ โดยเอาหลักวิชาไปใช้ หรือพูดสั้นๆ ก็คือ การบริหารราชการ การบริหารและการเมืองจะแยกจากกันไม่ได้ดังคำกล่าวที่ว่า "Public administration never exists in politics vacuum" หรือที่ Dimock กล่าวว่า "Politics and administration are the two side of a single coin" การบริหารรัฐกิจ มีลักษณะดังนี้ 1.การศึกษาการบริหารรัฐกิจนั้นจะนิยมศึกษาในรูปของสหวิทยาการ (Inter - Disciplinary Approach) คือเกี่ยวพันกับศาสตร์สาขาต่างๆมากมาย ยากที่จะแยกจากกันได้ 2. เป็น "สังคมศาสตร์ประยุกต์" หรือ เป็นสาขาวิชาหนึ่งแยกจากรัฐศาสตร์ 3.ไม่ให้ความสนใจเรื่อง "ความบริสุทธิ์" ของศาสตร์ (วิชารัฐศาสตร์) 4.มีข้อจำกัดหรือขอบเขตทางด้านวัฒนธรรม (Culture Bound) ซึ่งหมายถึงหลักการหรือกฎเกณฑ์และทฤษฎีที่ได้มาจากการศึกษาของสังคมหนึ่ง อาจจะไม่สามารถนำมาใช้อธิบายหรือนำมาใช้ได้กับอีกสังคมหนึ่ง 5.ต้องนำเอาสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ มากำหนดนโยบายในการบริหารงานของรัฐ Globalization (โลกาภิวัตน์) หมายถึงโลกไร้พรมแดน(ฟ้ามิอาจกั้น)หรือโลกแห่งการสื่อสาร ที่มีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียม ได้แก่ IT (Information Technology) การ ทำให้ทั่วมุมโลกสามารถรับทราบข่าวสารจากทั่วโลกได้อย่างทันท่วงที ทำให้โลกทั้งโลกกลายเป็นเสมือน หมู่บ้านเล็กๆ หมู่บ้านเดียวกัน ทำให้เกิดกระแส แบบ "รอบทิศทาง" รับรู้โลกตะวันตกตระหนักถึงรากเหง้าที่มาจากตะวันออก ดังนั้น การบริหารรัฐกิจจึงเกี่ยวพันกับ Globalization อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะว่า การบริหารงานของรัฐประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพ(Efficiency) ประสิทธิผล(Effectiveness) ประหยัด (Economic) ทำให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุได้นั้นจะต้อง มีการบริหารจัดการรับทราบข้อมูลข่าวสารในการบริหารที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าในปัจจุบันนี้เป็นยุคของ Globalization ถ้าได้ข้อมูลในการบริหารช้า อาจจะทำการบริราชการนั้นผิดพลาดได้ Contingency Management (การบริหารเชิงสถานการณ์) คือการศึกษาการบริหารตามสถานการณ์ เป็น ให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม (Contingency Theory) ไม่เชื่อเรื่อง One best way ของพวก Classical theory เป็นการศึกษาการบริหารที่เป็นชีวิตจริง โดยภายใต้วิธีการศึกษาการบริการเชิงสถานการณ์นั้น จะต้องมีการพิจารณา สถานการณ์ของการบริหารแต่ละอย่างแยกจากกัน ให้ได้ รวมทั้ง พิจารณาแยกแยะปัจจัยภายในและภายนอก เพื่อการวิเคราะห์อย่างกว้างขว้าง "ทำให้แต่ละองค์การแต่ละแห่งสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุดโดยการปรับรูปแบบการจัดองค์การภายในและภายนอกของแต่ละแห่งให้เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลขององค์การ" ซี่งเท่ากับเป็นการปฏิเสธหลักการบริหารที่เป็นสากลที่ใช้ได้กับทุกองค์การ โดยยอมรับว่าสภาพแวดล้อมต่างๆขององค์การมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยอมรับในวิธีการบริหารตามสถานการณ์ (Situational Approach หรือ Contingency Approach) ส่วนที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ทฤษฎีกลุ่มนี้ให้ความสำคัญต่อคนพอสมควร จึงมีลักษณะเป็นการสังเคราะห์ (Synthesis) ทั้งของ Classical และ Neo - Classical เข้าด้วยกันผนวกกับความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎี กลุ่มนี้จะทำให้องค์การไม่ตายนั่นเอง การบริหารรัฐกิจ มีความเกี่ยวพันกับ Contingency Management การบริหารงานของรัฐจะให้ประสบผลสำเร็จ ประหยัด และมีประสิทธิภาพจะต้อง มีวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสมในแต่ละสถานะการณ์ การบริหารที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อจะได้ทำให้เหมาะในเวลาอันเหมาะกับสถานะการณ์ การบริหารระบบราชการไทย ก็จะต้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ประวัติการบริหารราชการของไทย เช่น สุโขทัย พ่อปกครองลูก ไม่แบ่งแยกทหารออกจากพลเรือน ไม่แบ่งงานกันทำ อยุธยา ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย มีการแบ่งงาน กันทำแบบจตุสดมภ์ มีระบบเจ้าขุนมูลนาย เป็นต้น ดังนั้นการบริหารรัฐกิจ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูปัจจัยการบริหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ของสังคมแต่ละแห่งแต่ละที่ไม่เหมือนกันไม่สามารถจะนำทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมาใช้ในการบริหารได้ทั้งหมดจะต้องมีการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ การบริหารรัฐกิจ จึงเกี่ยวพันกับ Contingency Management สรุป Public Administration เกี่ยวพันกับ Globalization และ Contingency Management เพราะการบริหารของรัฐจำเป็นอย่างที่จะต้องรับทราบข้อมูลข่าวสาร ในการบริหารที่รวดเร็วทันที เพื่อความเป็นสากลและจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคม นั้นๆด้วย เพราะไม่มีหลักการบริหารที่เป็นสากล ใช้ได้ทั่วไป ไม่มีทางใด ที่ดีที่สุด ทางเดียวในการบริหาร มีหลายทางแล้วแต่สภาพแวดล้อม เหตุการณ์ การบริหารงานที่ดีต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ให้เหมาะในเวลาอันเหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งนี้ข้อมูลข่าวสารจะต้องมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ได้แก่ IT (Information Technology) หรือ Globalization เพื่อให้การบริหาร การดำเนินงานของทางราชการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่วางไว้ เป็นกิจกรรมทั้งหลายของฝ่ายบริหารที่จะทำให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผล มีประสิทธิภาพ(Efficiency) ประสิทธิผล(Effectiveness) ประหยัด (Economic) ดังคำกล่าวของ Dwight Waldo ที่ว่า "การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดำเนินอยู่ได้ในสูญญากาศจำเป็นต้องเกี่ยวข้องติดต่อกับกลุ่มผลประโยชน์"
องค์กรปกครองของรัฐ Nation 4 ประเภท 1. People 2. Territory 3. A Government 4. Solver Eingty ความเป็นชาติ 1. Common Political system 2. territory 3. Enemy 4. Language 5. People 6. Religion 7. History 8. Economic 9. Culture ทฤษฎีการเมือง (Polities theory) อริสโตเติลกล่าวว่าทฤษฎีการเมือง คือ การศึกษาค้นคว้าอย่างมี ระบบแบบแผนเกี่ยวกับสาธารณะ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ ทฤษฎีเทวสิทธิ์ ผู้ปกครองได้รับความเห็นชอบจากพระเจ้าหรือสวรรค์ เป็นเทพมาเกิด ทฤษฎีการกำเนิดรัฐ รัฐเกิดขึ้นเพราะมีความจำเป็น แบ่งงาน มีความเจริญมากขึ้น ทฤษฎีสมมติฐานหรือทฤษฎีธรรมชาติ ธรรมชาติทำให้มนุษย์จะต้องอยู่ร่วมกันเป็นรัฐเพื่อความอยู่รอด ความปลอดภัยในการพึ่งพาอาศัยกัน ชีวิตมนุษย์จะสมบูรณ์ต่อเมื่ออยู่ในนครรัฐ ทฤษฎีสัญญาประชาคม มนุษย์มีสิทธิที่จะปกครองตัวเองได้โดยธรรมชาติแต่เมื่อสังคมขยายใหญ่ขึ้น จึงต้องมีตัวแทนมาดูแล จะต้องการทำสัญญาประชาคมกับตัวแทนเอามาดูแลสิทธิของประชาชน Political ideology คือ Socialism คือ You have two cows and give one to your neighbor มีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ รัฐเป็นผู้ดูแลให้ Communist คือ You have two cows : The government takes both gives you the mike คือ รัฐเป็นเจ้าของทรัพย์ทุกอย่างและนำผลผลิตให้ประชาชน Fascism คือ You have two cows : The government takes bath and sues you're the mike เผด็จการรัฐเป็นเจ้าของทรัพย์สินทุกอย่างและยังเอาเปรียบประชาชน Nazism คือ You have two cows : The government takes bath and shoots you แสดงถึงความเด็ดขาด Capitalism คือ You have two cows : You sell one and by a bull แสดงให้เห็นถึงการให้การส่งเสริมให้มีการสะสมและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ Busedescats You have two cows : The government takes both and shoot one metros the other and throws the milk away ระบบการเป็นระบบที่สูญเปล่า -2- สภาเดียว หรือ เอกสภา (unicomerlism) มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีประชากรไม่มากนัก เช่น อิสราเอล สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ซึ่งมีประชากรไม่มากนัก ญัตติกฎหมายสิ้นสุดที่เดียว หากคู่ หรือ Bicomerakism คือ สภานิติบัญญัติของรัฐมี 2 สภา คือ สภาร่าง กับสภาสูง Parliamentary system (รัฐบาลโดยรัฐสภา) ฝ่ายบริหารเกิดขึ้นและถูกควบคุมโดยรัฐสภา เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น ที่มาของรัฐบาล 1. ประชาชนเลือก ส.ส. 2. ส.ส. เลือกตัวนายกรัฐมนตรี อาจจะเป็นคนนอกหรือเป็นสมาชิกก็ได้แล้วแต่รัฐธรรมนูยของแต่ละประเทศจะกำหนดไว้ กรณีไทย นายกฯต้องมาจาก ส.ส. คณะรัฐมนตรีมีได้ไม่เกิน 35 คน (ม.201) 3. นายกฯ ไปเลือกคณะรัฐมนตรี Presidendical system หัวหน้ารัฐบาล คือ ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นคนกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ 1. ประชาชนเลือก ส.ส. เข้าดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ 2. ประธานเลือก ส.ว. เข้าดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ 3. ประชาชนเลือกคณะผู้เลือกตั้งเพื่อให้คณะผู้เลือกตั้งไปเลือกประธานาธิบดี 4. ประธานาธิบดีไปเลือกคณะรัฐมนตรีเข้าทำงาน 5. ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศ ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภาแต่รับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง เป็นการแบ่งอำนาจจากฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกันอย่างเด็ดขาด ระบบกึ่งประธานาธิบดี อำนาจบริหารจะอยู่ที่นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีใช้ใน ฝรั่งเศส 1. ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. โดยตรงขึ้นมาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีวาระ 5 ปี 2. ประชาชนเลือก ส.ว. โดยผ่านคณะผู้เลือกมาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีวาระ 5 ปี 3. ประชาชนเลือกประธานาธิบดีโดยตรงเช่นกันเพื่อมาเป็นประมุขของประเทศ วาระ 7 ปี 4. ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นมาบริหารประเทศ 5. ประธานาธิบดีปลดนายกรัฐมนตรีได้และสามารถยุบสภาได้ตามข้องเสนอของนายกฯ 6. นายกฯ จะต้องรับผิดชอบการบริหารต่อสภาและประธานาธิบดีด้วย ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญ ได้แก่ 1. การเป็นกฎหมายหรือเป็นกฎหมายชั้นมูลฐาน 2. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้โดยยากกว่ากฎหมายธรรมดา 3. รัฐธรรมนูญมีผลใชับังคับแน่นอนคงทนกว่ากฎหมายอื่น -3- Political party One party system จะมีอยู่ในการปกครองในระบบเผด็จการหรือในระบบคอมมิวนิสต์ คือ พรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวที่ทำหน้าที่บริหารประเทศ one dominant party system จะมีพรรคเดียวเข้ามาบริหารประเทศอยู่ตลอดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี เช่น Ldp ในญี่ปุ่น ฝ่าย PAP ในสิงคโปร์ Two party system มีพรรค 2 พรรคเป็นรัฐบาล สหรัฐอเมริกา , ออสเตรเลีย ,นิวซีแลนด์ MULTI Party system หลาย ๆ พรรครวมเป็นรัฐบาล รัฐสภา Particement สภาเดี่ยวหรือเอกสภา unicomerelism การสมมติกฎหมายจะเริ่มต้นและสิ้นสุดที่สภาเดี่ยว เช่น อิสราเอล ไอร์แลนด์ สิงคโปร์ มีประเทศที่มีประชากรไม่มากนัก สภาคู่ หรือ กึ่งสภา Becameralism จะมีสภานิติบัญญัติอยู่ 2 สภา คือ สภาผู้แทนและอุดมคติสภาทางร่างกฎหมายหรือทางบัญญัติกฎหมายจะพิจารณา 2 สภา ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละประเทศ เช่น สภาสูง (upper chamber/upper house) วุฒิสภา (สภาบน (senate) สภาขุนทาง (House of Lords) สภาล่าง (Lower chamber /Lower house) สภาผู้แทน (house of Representatives) สภาสามัญชน (House of commons) การเมืองระหว่างประเทศ (International Politer) ก็จะเป็นการแข่งขันการต่อสู้การแย่งชิงแสดงขีดความสามารถระหว่างรัฐต่อรัฐโดยเส้นมิติทางด้านการเมืองเป็นสำคัญ การเมืองระหว่างประเทศจะเน้นศึกษาในเรื่องโครงสร้างของอำนาจและศึกษารัฐในฐานะที่เป็นผู้แสดงในระหว่างประเทศหรืออาจจะศึกษาในรูปของกลุ่มของรัฐต่าง ๆ แต่เดิมความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศจะจำกัดอยู่ในเฉพาะผู้มีบทบาทในระหว่างประเทศ เช่น ผู้นำ นักการทูต แต่ต่อมาก็ขยายวงมากขึ้น ทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ ทฤษฎี 2 ขั้น อำนาจ (Bipolecisty) เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดจากสิทธิการปกครองที่เกิดขึ้นของสหรัฐและโซเวียต พยายามแข่งขันสร้างเสริมศักยภาพทางด้านอาวุธเพื่อสร้างความได้เปรียบกับฝ่ายตรงข้ามทำให้เกิดกองทัพ อาวุธและเทคโนโลยีโดบเฉพาะเทคโนโลยีด้านอาวกาศเพื่อชักนำให้ประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม ทฤษฎีและชั้นอำนาจ (multi polarity) เกิดในช่วงสงครามเย็นระหว่างโซเวียตและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เกิดสงครามตัวแทน ทำให้อีกกลุ่มประเทศหนึ่งมองว่าถ้าปล่อยให้มี 2 ขั้วอำนาจอย่างเดิมอาจเกิดปัญหาได้ เป็นชั้นที่เกิดจาก อียิปต์ , อินเดีย , ยูโกสลาเวีย ในปี 2499 ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเพราะโซเวียตล้มสลาย ทฤษฎีความมั่นคงร่วมกัน (collective security) เป็นแนวคิดที่ประเทศต่าง ๆ ได้ตกลงร่วมมือกันและลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันความมั่นคงปลอดภัย ชาติที่เป็นสมาชิกถือว่าเป็นพวกเดียวกัน เดิมก็คือสันนิบาตชาติต่อมาคือ UN และเกิดองค์กรความร่วมมือทางทหารต่าง ๆ เช่น นาโต้ เซียโต้ ซีโต้ ทฤษฎีป้องปรามและผ่อนคลายความตึงเครียด (AlterNet and Resonate) -4- ทฤษฎีป้องปรามเกิดในยุคแข่งขันการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯและสหภาพโซเวียต โดยมีการข่มขู่กันด้วยอาวุธเพื่อป้องกันการบุกรุกจากฝ่ายตรงข้ามและการรวมตัวกันเป็นองค์กรทางทหาร เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายโจมตี ทฤษฎีผ่อนคลายความตึงเครียด (Resonate) คือ เมื่อมีการแข่งขันกันทางอาวุธมาก ๆ ทำให้เกิดความตึงเครียด มีผ่อนคลายด้วยวิธีการเจรจาลดความตึงเครียดที่กรุงเจนีวาเพื่อลดอาวุธของสหรัฐฯและโซเวียต โดยใช้เวลา 30 ปี ทั้งสองฝ่ายก็หันหน้าเข้าหากัน ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (balance of power) เป็นการป้องกันไม่ให้ชาติใดชาติหนึ่งมีอำนาจมากเกินไปจึงสร้างระบบประกันเสถียรภาพและความมั่นคงร่วมกันและสร้างความแข็งแกร่งให้กับสันติภาพ โดยวิธีการสันติคือการต่อรองทางด้านฑูตลดอาวุธ การเมืองระหว่างประเทศเป็นเรื่องของการแข่งขันเพื่อจะมีอำนาจที่เหนือกว่าในทุกด้านโดยอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ รัฐบาลโดยรัฐสภา คือ รัฐบาลจะมาจากการเลือกของรัฐสภาคือ ประชาชนจะเลือก ส.ส. ขึ้นมาและพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากจะจัดตั้งรัฐบาลโดยหัวหน้าพรรคเสียงข้างมากจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีและมีคณะรัฐมนตรีที่เรียกว่า Cabinet ทำหน้าที่บริหารกระทรวงต่าง ๆ ประมุขของประเทศมีกษัตริย์ (อังกฤษ) หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี เช่น ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น รัฐบาลโดยประธานาธิบดี หัวหน้ารัฐบาลคือประธานาธิบดี มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศ มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อาจจะเลือกตั้งโดยตรงหรือผ่านตัวแทนก็ได้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ รัฐบาลโดยพรรคการเมือง คือ รัฐบาลที่บริหารประเทศจะเป็นผู้แทนจากพรรคทางการเมืองเป็นผู้กำหนด เป็นการสื่อให้เห็นกิจการการปกครองในระบบเผด็จการ รัฐบาลผสม คือ รัฐบาลในระบบรัฐสภาที่มีพรรคการเมืองหลาย ๆ พรรครวมกันจัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลเสียงข้างน้อย คือ รัฐบาลในระบบรัฐสภา รัฐบาลคือพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภาแต่ไม่มากเกินคาดคืออาจจะไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสภา แต่ก็ทำหน้าที่บริหารประเทศ รัฐบาลเสียงข้างมาก จะเกิดในระบบรัฐสภา คือ พรรคการเมืองที่จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศนั้นจะมีเสียงข้างมากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยลำพังพรรคเดียว รัฐบาลกลาง จะใช้กับประเทศที่มีรูปแบบเป็นสัจธรรม (Federal state) หรือรัฐรวม เช่น อเมริกา , ออสเตรเลีย , มาเลเซีย คือมีรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลพลัดถิ่น คือ รัฐบาลที่อาจถูกโค่นอำนาจแล้วหลบไปลี้ภัยทางการเมืองอยู่ต่างประเทศและได้จัดตั้งรัฐบาลของตนขึ้นที่ต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ทางการเมืองโดยมีวัตถุประสงค์จะกลับมาจัดตั้งรัฐบาลใหม่ รัฐบาลแห่งชาติ คือ จะตั้งขึ้นเมื่อมีความวุ่นวาย เกิดวิกฤตจนรัฐบาลที่บริหารงานอยู่ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ จึงมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติโดยมีแต่ฝ่ายรัฐบาลไม่มีฝ่ายค้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation -IR) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐหรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประชาชาติในยุคปัจจุบันที่ไม่มีรัฐใดชาติใดที่จะดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพังโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐอื่น ๆ หรือสังคมอื่น ๆ โดยได้อีกต่อไป อีกทั้งได้มีการยอมกันว่าความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองภายในรัฐและการเมืองภายนอกรัฐนั้นเกี่ยวพันธ์และ -5- เป็นผลซึ่งกันและกันในการติดต่อความสัมพันธ์ในแขนงต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม การกีฬา การบันเทิงและเทคโนโลยี สันติภาพ สงคราม การฑูต เป็นต้น สนามนานาชาติ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสาขาหรือของวิชารัฐศาสตร์มีจุดประสงค์เพื่อให้รู้ถึงความเป็นไปของโลกอย่างกว้างและเพื่อสร้างบุคคลให้มีความเชี่ยวชาญในระหว่างประเทศ เช่น นักการ ทูต การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง 1. ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะเป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ทั่วไปของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2. ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเคลื่อนไหวความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3. เป็นช่วงที่เกิดการศึกษาเชิงกฎหมายเป็นช่วงที่มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสันนิบาตชาติ 4. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในองค์การระหว่างประเทศและเรื่องนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอำนาจที่มีต่อรัฐเล็กเป็นช่วงสงครามเย็น เครื่องมือที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ ความสัมพันธ์ทางการฑูต (Diplomacy) ความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะใช้วิธีการเจรจาตกลงถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ใช้กำลังซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ คือการวางระเบียบการใช้อำนาจ กฎข้อบังคับจำนวนหนึ่งจะกำหนดสภาพผู้ปกครอง และในเวลาเดียวกันจะกำหนดธรรมชาติและจุดมุ่งหมายของกิจกรรมการเมืองของผู้ปกครอง ดังนี้ วัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญมีสองประการ ประการแรก รัฐธรรมนูญ วางระเบียบเกี่ยวกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะทำหน้าที่ตัดสินใจในนามของรัฐ กำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลเหล่านี้และแบบแผนของการใช้อำนาจหน้าที่นี้ ประการที่สอง รัฐธรรมนูญจะกำหนดลัทธิเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมและการเมือง และผู้ปกครองเป็นตัวแทนของลัทธินี้ ออสติน แรนมี กล่าวว่ารัฐธรรมนูญคือข้อบังคับมูลฐานที่กำหนดหรือเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่เป็นกฎหมายสูงสุดหรือสูงกว่ากฎหมายในการบริหารประเทศอื่นๆ รัฐธรรมนูญ กำหนดโครงสร้างในการปกครองประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารประเทศ ถือว่ารัฐบาลโดยรัฐธรรมนูญ (Constitution Government) เพราะรัฐบาลถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐธรรมนูญเพราะยอมรับว่าเป็นสิ่งเดียวที่สามารถรองรับอำนาจของรัฐได้ ในการปกครอง บริหารประเทศ ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญการใช้อำนาจของรัฐหรือองค์กรใดก็ตามจะไม่มีขอบเขต การใช้อำนาจรัฐจะต้องใช้ตามที่กำหนดไว้คือ การใช้อำนาจอธิปไตยจะถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญเป็นการจำกัดบทบาทของรัฐหรือกิจกรรมทางการเมืองทุกประเทศจะมีรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครองประเทศ ทั้งประเทศที่ปกครองโดยระบบประชาธิปไตยหรือประเทศที่ปกครองโดยระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท (อาจารย์อธิปรายไว้) 1. รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี การจัดะเบียบการปกครองต่างๆของรัฐจะถูกกำหนดโดยขนบธรรมประเพณีเกือบทั้งสิ้น ปัจจุบันที่ใช้อยู่คือประเทศอังกฤษ เรียกว่า “กฎหมายแห่งรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ”(Law of Constitution) ในการปฏิบัติก็จะการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อใช้ในการปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องต่างทางรัฐธรรมนูญเช่น Act of Settlement , Minister of the Crown Act, Representation of the people Act , Parliament Act 1911 และ 1949 , Judicature Act. กฎหมายเหล่านี้ไม่มีผลบังคับ รัฐสภาอาจจะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อย่างอิสระเสรี จนเป็นที่กล่าวกันว่า “รัฐสภาอังกฤษสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างนอกจากเปลี่ยนผู้ชายเป็นผู้หญิง” 2. รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร คือรัฐธรรมนูญที่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน รัฐธรรมนูญนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับระบอบประชาธิปไตย จะเป็นที่ยอมของรัฐต่างๆไม่ว่าจะเป็นการปกครองในรูปแบบใด การยอมรับวิธีการนี้ก็สืบเนื่องมาจากความชัดเจนในตัวของมันเอง ในระบอบประชาธิปไตยจะกำหนดสิทธิของบุคคลและอภิสิทธิ์ของผู้ปกครองอย่างแน่ชัด 3. รัฐธรรมนูญกษัตริย์และรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐ (ดูจากตำราหลายๆเล่มจะมีแค่ 2 ประเภทคือ 1และ2แต่อาจารย์ได้อธิปรายเพิ่มเติม) ดังนี้ -2- 3.1 รัฐธรรมนูญกษัตริย์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1)กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว (Absolute Monarchy) อำนาจที่แท้จริงจะอยู่ที่กษัตริย์ การทำงานทุกอย่างจะอยู่ที่กษัตริย์ทั้งสิ้น2)กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitution Monarchy) เป็นประมุขของประเทศแต่ไม่ปกครองประเทศ ไม่ยุ่งเกี่ยวในทางการเมือง ไม่รับผิดชอบในทางการเมือง 3.2 รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1)ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศทำพิธีการที่สำคัญของประเทศ ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ แต่อำนาจการบริหารจะอยู่ที่นายกรัฐมนตรีเช่นที่ประเทศอินเดีย 2 ) ประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศและทำการปกครองบริหารประเทศด้วยคือเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเช่นที่ ประเทศ USA 4. รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวและรัฐรวม 4.1 รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวจะอยู่ที่ส่วนกลางที่เดียวอำนาจการบริหารจะอยู่ที่ส่วนกลางถ้ามีการแบ่งอำนาจก็เป็นเพียงการแบ่งอำนาจการบริหารเท่านั้น เช่น ประเทศไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ 4.2 รัฐธรรมนูญรัฐรวม อำนาจในการบริหารจะอยู่ที่รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐ ไม่ขึ้นตรงต่อกัน การบริหารงานที่เป็นอิสระ ไม่ก้าวก่ายกันจะมีอำนาจบางอย่างที่รัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐยินยอมให้รัฐบาลกลางดำเนินการแทน เช่น การตราเงินตรา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การประกาศสงคราม การทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ แต่กระนั้นความเป็นรัฐในระดับโลกจะยอมรับเฉพาะรัฐบาลกลางเท่านั้น จึงมีรัฐธรรมนูญอยู่หลายฉบับ จะแยกอำนาจกันไปบริหาร ที่มาของรัฐธรรมนูญ (อันนี้ก็งงเพราะดูตำราหลายเล่มก็ไม่เหมือนของอาจารย์) 1.โดยวิวัฒนาการ คือมีการวิวัฒนาการมาเลื่อยๆ เช่น ของประเทศ USA 2.โดยรัฐประหาร การปฏิวัติ คณะผู้ปฏิวัติ รัฐประหารจะเขียนรัฐธรรมนูญเมื่อทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารสำเร็จ(เขียนรอไว้เป็นส่วนมาก เช่น รัฐธรรมนูญ 2492 เรียกว่ารัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เพราะว่าร่างไว้นานและเก็บไว้ใต้ตุ่มกว่าจะทำการรัฐประหารเสร็จ) 3.ประมุขของประเทศมอบให้ ไม่เข้าใจเหมือนกัน 4.มีรัฐใหม่ เช่นพวกประเทศราช หรือประเทศอาณานิคมทั้งหลายเมื่อได้รับเอกราชแล้วเจ้าอาณานิคมจะมอบรัฐธรรมนูญให้ กษัตริย์พระราชทานให้ กรณีนี้จะเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย เป็นเจ้าชีวิตของทุกคนทุกสิ่งทุกอย่างในรัฐ ต่อมาพระองค์เห็นว่าควรจำกัดอำนาจของพระองค์จึงกำหนดวิธีการใช้อำนาจของพระองค์ไว้เป็นที่แน่นอน จึงพระราชทานให้กับประชาชน เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ์มัสสุฮิโต ในญี่ปุ่น หรือพระเจ้าจอร์นแห่งอังกฤษ ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การเป็นกฎหมายหรือเป็นกฎหมายชั้นมูลฐาน การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้โดยยากกว่ากฎหมายธรรมดา รัฐธรรมนูญมีผลใชับังคับแน่นอนคงทนกว่ากฎหมายอื่น *****************************/******* สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งว่าเป็นฉบับประชาชน ถือเป็นการปฏิบัติรูปการเมือง หมายถึง การกำหนดโครงสร้างและระบบการใช้อำนาจรัฐเสียใหม่ พยายามให้ 3 สิ่ง แก่ประชาชนคือ 1.การให้สิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมในการปกครองเพิ่มขึ้น 2.การเพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 3.การพยายามทำให้การใช้อำนาจรัฐสุจริต มีเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพ 1.การเพิ่มสิทะ เสรีภาพ และส่วนร่วมของประชาชนในการเมือง การปกครอง รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ถือว่าประชาชนพลเมืองคือรากฐานของชาติบ้านเมือง และเป็นหัวใจของการเมือง ดังนั้น รัฐธรรมนูญนี้จึงได้กำหนดแนวทางที่ให้ความสำคัญกับประชาชนมากว่าสิ่งอื่น โดยได้เพิ่มหลักการใหม่ที่ยังไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา คือ 1.1 การขยายและเพิ่มสิทธิ เสรีภาพใหม่ๆ ให้ประชาชน จากรัฐธรรมนูญ1.2 ฉบับ ก่อน คือ 1)สิทธิชุมชนท้องถิ่น ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมอันดีของถิ่น และส่วนร่วมในการจัดการและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2)สิทธิและเสรีภาพในการศึกษาอบรม โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี 3) สิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยมีคุณภาพและไม่เสียค่าใช้จ่าย 4)สิทธิของบุคคลด้อยโอกาส 4.1) สิทธิเด็กที่จะได้รับความคุ้มครองไม่ให้มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูและให้การศึกษาจากรัฐ 4.2)สิทธิคนชราเกินหกสิบปีที่ไม่มีรายได้ที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ 4.3)สิทธิผู้ทุพพลภาพที่จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ยกเลิกคนหูหนวกเป็นใบ้สมัครรับเลือกตั้ง ฯลฯ 5) เสรีภาพในการนับถือศาสนา 6)เสรีภาพสื่อสารมวลชน 7)สิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา 8)สิทธิผู้ต้องหาและจำเลย 1.3 การเพิ่มเครื่อง1.4 มือให้ประชาชนคุ้มครอง1.5 ตนเอง1.6 ได้อย่าง1.7 มีประสิทธิภาพ 1)การให้หน่วยงานของรัฐต้องเคารพสิทธิและให้สิทธิฟ้องคดีในกรณีถูกละเมิด 2) การกำหนดสิทธิในการรับรู้ และให้ความเห็น 3)การกำหนดองค์กรท่ให้ประชาชนไปขอความเป็นธรรมได้ในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิ 1.8 การเพิ่มส่วนร่วมของ1.9 ประชาชนในการเมือง1.10 การปกครอง1.11 ทุกระดับ รัฐธรรม นูญ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น 1) ประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายได้ 2)ประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อกันขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ 3) ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น โดยให้ ก)สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ข)ผู้บริหารท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ค) จังหวัดใดพร้อมให้อาจ จัดการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ได้ ง) กำหนดท้องถิ่นให้มีอิสระในการบริหารงาน จ)ให้ประชาชนสามารถถอนถอดผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นได้ เป็นต้น 2.การเพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การเพิ่มสิทธิในการรับรู้ข้อมูลของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ มากมาย การทให้การเมืองโปร่งใส เช่นการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การขยายบาทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การเพิ่มระบบและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจให้ครอบคลุมทุกด้าน มีองค์กรอิสระในการตรวจสอบการทำงานมากมาย เช่น กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. ศาลปกครอง ผู้ตรวจราชการรัฐสภา ฯลฯ 3.การทำให้การใช้อำนาจรัฐสุจริต มีเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพ นอกจากองค์กรตรวจสอบซึ่งจะควบคุมการใช้อำนาจทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้นักการเมืองเห็นโอกาส “ทำกำไร” แล้วยังมีมาตรการทำให้การเลือกตั้งและการเมืองสุจริตทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ จัดให้มีการเลือกตั้ง สว.โดยตรง ให้มีการเลือกตั้ง สส.โดยตรงจำนวน 500 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แบบบัญชีราย(ปาร์ตี้ลิสต์) จำนวน 100 คน และ สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 100 คน ในแบบบัญชีรายชื่อมีข้อดีคือ ทำให้การซื้อยากเพราะใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง คนที่อยู่ในตอนต้นก็คาดว่าตนจะได้รับการเลือกจึงไม่ลงทุน คนอยู่ท้ายๆ ก็ไม่แน่ในว่าจะได้ ก็ไม่ยอมลงทุน หากมีนายทุนเข้ามา สื่อมวลชนและประชาชนจะทราบล่วงหน้าทันทีว่าควรเลือกพรรคนั้นหรือไม่ ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง เพราะต้องเลือกบัญชีพรรคใดพรรคหนึ่ง โดยเลือกตัวบุคคลในบัญชีมิได้ การกำหนดว่าบัญชีใดได้คะแนนต่ำกว่า 5 %ให้ถือว่าไม่มีใครได้รับเลือก ก็เพื่อไม่ให้มีพรรคเล็กพรรคน้อยเต็มสภา ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพอีก ทำให้นักการเมืองใหม่ๆ ที่มีความรู้ความสามารถแต่หาเสียงไม่เก่งสามารถเข้าสู่การเมืองได้ง่ายขึ้น อาจพัฒนาให้การนำหัวหน้าพรรคและผู้ที่จะเป็นรัฐมนตรีมาใส่ไว้ในบัญชีรายชื่อพรรคในระดับ 1 -50 คน เพื่อให้ประชาชนทราบ “คณะรัฐมนตรีเงา” ของแต่ละพรรคได้ ทำให้ได้ผู้แทนราษฎรที่มีวิสัยทัศน์กว้างระดับประเทศเพิ่มขึ้นแทนที่จะเป็นผู้แทนจังหวัดของตนอย่างที่เป็นมา - สำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มีข้อดี คนทั่วประเทศมีความเสมอภาคในการเลือกผู้แทนราษฎรได้ 1 คน ไม่ว่าอยู่ที่ใด ในขณะที่ระบบปัจจุบันบางจังหวัดเลือก ส.ส.ได้ 1 คน บางเขตเลือกได้ 2 คน บางเขตเลือกได้ 3 คน ทำให้เขตเล็กลง รู้ตัว ส.ส.ผู้รับผิดชอบได้ชัดเจน ความสัมพันธ์ระหว่าง ส.ส.กับราษฎรจะชัดเจนขึ้น ในขณะที่เขตในอดีตใหญ่ เพราะบางเขตมีถึง 3 คนการดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้คนดีมีความสามารถ แต่ไม่มีเงินได้รับเลือกตั้ง ………… ข้อสังเกต อาจารย์คงจะให้ทำการวิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าเหมาะสมกับสังคมในปัจจุบันหรือไม่? ********แล้วค่อยคุยกันนะ**
การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรือไม่ อธิบาย ? ตอบ = การเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้จะต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแน่นอน ส่วนจะมีการซื้อมากน้อยเพียงใดแล้วแต่พื้นที่เพราะการซื้อเสียงซื้อสิทธิ์เลือกตั้งนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการใช้เงินซื้ออย่างเดียว สามารถซื้อได้หลายวิธีเช่น การให้สิ่งของ การทำผลประโยชน์ให้หรือการช่วยเหลือใด ๆ ของผู้สมัครที่มีเจตนาหรือเพื่อให้ประชาชนผู้รับลงคะแนนเสียงให้ก็ถือว่าเป็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงแล้ว ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฎิบัติรูปการเมืองโดยมีการกำหนดให้มี ส.ส. ได้จำนวน 500 คน โดยแบ่งออกเป็น ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียวจำนวน 400 เขต (ส.ส.400 คน) และแบบบัญชีรายชื่อพรรคจำนวน 100 คน 1. ในแบบเขตเดียวเบอร์เดียวได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 400 เขต ทำให้มี ส.ส. ได้เขตละ 1 คน รวม 400 คน ทั้งประเทศ ทำให้เขตการเลือกตั้งแคบลง ผู้สมัครได้ลงพื้นที่พบปะประชาชนใกล้ชิดขึ้น การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็คงจะยากขึ้น แต่ถ้าคิดแบบตรงกันข้ามยิ่งจะทำให้ซื้อเสียงง่ายขึ้นเพราะเขตเลือกแคบทำได้ทั่วถึง อาจจะทำให้ซื้อเสียงง่ายขึ้น “ซื้อง่ายขายคล่องแบบถึงมือ” 2. ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคโดยให้แต่ละพรรคส่งได้พรรคละ 1 บัญชี ไม่เกินบัญชีละ 100 คน ใช้เขตประเทศไทยเป็นเขตเลือกตั้งโดยให้พื้นที่เลือกตั้งมากหรือกว้าง คิดว่าคงจะทำให้ซื้อเสียงยากขึ้นแต่สามารถทำได้ คือถ้าแบบเขตที่พรรคส่งลงสมัครให้หาเสียงวิธีซื้อเสียงและให้ซื้อเพื่อระบบบัญชีรายชื่อพรรคด้วยโดยเฉพาะพื้นที่ใดที่ผู้สมัครเขตเป็นที่รักใคร่ของประชาชนและมีคะแนนห่างจากลำดับรองแบบทั้งห่างมาก ๆ เช่น ได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ถ้ารองได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ และบุคคลเหล่านั้นเลือกระบบบัญชีรายชื่อพรรคด้วยนี้แสดงให้เห็นว่าซื้อเสียงได้โดยเฉพาะแต่มีเงินมาก ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งในสมัยต่อไปนี้ 1. การศึกษา การศึกษาถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการเลือกตั้งมากอย่างหนึ่งว่า Rober lane ได้ศึกษาวิจัยในการเลือกตั้งในอเมริกาพบว่าคนที่มีการศึกษาสูงจะไปเลือกตั้งมากกว่าคนการศึกษาต่ำหรือคนที่ไม่ได้รับการศึกษา การศึกษาในอเมริกาขั้นต่ำ คือ Hi - school ส่วนในประเทศไทยเราปัจจุบันยังไม่ถึงระดับ ม.6 คือ ยังมีการจบการศึกษาภาคบังคับอยู่ ยังไม่แยกแยะว่านโยบายของพรรคคืออะไร มีอุดมการณ์ว่าอย่างไร เมื่อมีคนนำผลประโยชน์มาให้ก็จะรับทันที เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของรายได้ของประชาชนเป็นเรื่องของปากท้องปัจจุบัน รายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศไทยยังต่ำมากถือว่าอยู่ในขั้นยากจน เห็นได้มีการสำรวจราษฎรจำนวน 800 ครัวเรือน ที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่าประชาชนมีรายได้เฉลี่ยวันละ 4 บาทหรือปีละ 1,440 บาท ซึ่งถือว่าต่ำมาก ๆ ไม่เพียงพอต่อการครองชีพในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อประชาชนท้องกิ่วไม่มีจะกิน ถ้ามีคนนำสิ่งของ นำเงินมาให้ก็จะต้องรับเพื่อความอยู่รอดไม่สนใจว่าบุคคลที่ให้อยู่พรรคไหน มีอุดมการณ์อย่างไร จะพัฒนาไปในทิศทางใด เศรษฐกิจจึงมีผลต่อการเลือกตั้งอย่างมาก ปากท้องของประชาชนจะต้องมาก่อนการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แน่นอน -2- 3. สังคม ของประเทศไทยจะเป็นสังคมแบบหลวม ๆ ไม่ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ ไม่มีการฝึกคนไทยเป็นคนเอาอย่างไรก็ได้ง่าย ๆ ไม่เรื่องมากจากการศึกษาพบว่าสังคมไทย 3.1 เป็นระบบอุปถัมภ์ คนไทยยัง3.2 ชอบการแต่ง3.3 ตั้ง3.4 อยู่ ชอบพรรคพวกกัน เคยฝากอะไรกันไว้ เคยทำให้ยัง3.5 รักพี่รักพ้อง3.6 รักเจ้านายรักลูกน้อง3.7 เพื่อนที่ทำง3.8 าน ดัง3.9 นั้น ถ้ามีการฝากว่าเลือกให้หน่อยนะคนนี้เพื่อนกัน ก็ได้ถือว่าช่วย ๆ กัน การซื้อเสียง3.10 จึง3.11 เกิดขึ้นแน่นอน 3.12 เป็นระบบเครือญ3.13 าติ สัง3.14 คมไทยเป็นระบบครอบครัวใหญ3.15 ่ ยัง3.16 มีสายใยความผูกพันกันอยู่มีปู่ย่าตายาย ลูกป้าน้าอา ยัง3.17 เกรง3.18 ใจฝากมาคนนี้เป็นญ3.19 าติฝ่ายแม่นะ ลง3.20 สมัครฝากหน่อยก็เลือกญ3.21 าติ ต้อง3.22 ช่วยญ3.23 าติไม่สนใจว่านโยบายพรรคหรือไม่อย่าง3.24 ไร โดยไม่สามารถแยกเรื่อง3.25 เครือญ3.26 าติหรือเรื่อง3.27 ส่วนตัวออกจากการเมือง3.28 ได้ ดัง3.29 นั้นจึง3.30 ยัง3.31 มีการซื้อเสียง3.32 อยู่ 3.33 เป็นระบบอาวุโส คนไทยยัง3.34 มีระบบอาวุโส มีระบบผู้บัง3.35 คับบัญ3.36 ชาฝากมาก็เลือก ๆ ตามผู้อาวุโสโดยไม่คิดถึง3.37 เรื่อง3.38 การเมือง3.39 3.40 ระบบสะสมมรดก คือ สัง3.41 คมไทยชอบการสะสมมรดกไว้ให้ลูกหลานอย่าง3.42 นั้นทำอย่าง3.43 ไรก็ได้ขอให้ได้เง3.44 ินมามาก ๆ เพื่อสะสมไว้ให้ลูกหลานของ3.45 ตน วิธีที่จะได้มาง3.46 ่ายก็คือ การมีอำนาจทาง3.47 การเมือง3.48 เพราะมีช่อง3.49 ทาง3.50 ในการหาเง3.51 ินได้มากคือ การคอรัปชั่นมากเมื่อคนอยากรวยก็เลยทุจริตโดยการพยายามซื้อเสียง3.52 ทำไปให้ได้เพื่อจะได้เป็น รมต. ค่านิยม ค่านิยมของคนไทยจะมีความชอบอยู่มาก เช่น ค่านิยมชอบคนมีบารมีมีอิทธิพล ร่ำรวย โดยมิได้สนใจว่าเขามีนโยบายพรรคว่าอย่างไร แต่ ชอบคนนี้แหละจึงเลือกเพราะเขามีบารมี ส่วนเลือกแล้วเขาจะไปทำอะไรบ้างไม่ได้คิด ค่านิยมชอบคนใจนักเลง พูดจริง ทำจริง คำไหนคำนั้น แต่ไม่ใช่ทำเพื่อประชาชนของชาติ แต่เป็นประโยชน์ส่วนตัว คนไทยชอบเพราะใจนักเลงดี คนตรง แต่ไม่ได้พิจารณาว่าเขาอยู่พรรคไหน มีนโยบายอย่างไรเลือกเขาเพราะชอบ ชอบคนใจกว้าง ,ใจใหญ่ , ใจกว้าง ทำบุญมาก ๆ บริจาคมาก ๆ ไปจัดเสียงโดยมิต้องให้ใคร ออกค่าใช้จ่ายช่วย , เอาภาพยนต์ , เอามวยเอาหมอลำมาให้ดูฟรี นักการเมืองลงทุนไปก็ต้องหาคืน ชอบของฟรี, คนไทยจะชอบมากของฟรี อะไรก็ได้ขอให้ได้มาฟรี ๆ ชอบ เช่น เขาจัดโต๊ะ จันให้กินฟรี , จัดมโหรสพให้ดูฟรี ชอบก็เลือกเขาโดยไม่สนใจเลยว่าเขาจะทำอะไรได้บ้าง เขามีอุดมการณ์หรือนโยบายหรือไม่ จะช่วยเศรษฐกิจชาติได้อย่างไร ชอบคนที่ดีเด่น , มีชื่อเสียง , ถ้าดังมีชื่อเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งคนไทยจะชอบเลือกโดยไม่ สนใจว่าเขาลงเพราะมีอุดมการณ์ทางการเมือง , มีนโยบายหรือเปล่า -3- 5. ชอบลืมง่าย คนไทยจะเป็นคนที่ลืมอะไรง่าย ๆ ไม่ค่อยจำว่าในอตีตที่ผ่านมาได้ทำอะไรผิดไปบ้าง เวลาผ่านไปเพียงไม่กี่วันก็จะลืม คนที่เขาสมัครใหม่ก็จะเลือกอีกจนลืมไปว่าเขาเคยสร้างผลงานหรือไม่จำได้แต่ว่าเคยเลือก 6. เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ คนไทยจะเป็นคนที่เชื่อบาปบุญคุณโทษเมื่อได้รับเงินรับสิ่งของเขามาแล้วก็จะต้องเลือกเขาเพราะจะบาป โดยไม่สนว่าเขาได้รับเลือกตั้งแล้วเขาจะไปทำอะไรบ้าง 7. ชอบเชื่อเรื่องโชคลาง ผีสางเทวดา ดูดวงแล้วคนนี้ได้รับเลือกตั้งก็ได้รับเรื่องการดูดวง เชื่อผีบอก ชอบคนบริจาคมาก ถ้าบริจาคมาก ๆ ก็ชอบ เขาบริจาคเงินสร้างวัด , สร้างถนนให้จะต้องเลือก ๆ เพราะเขาทำให้ ไม่สนใจว่าเขาเล่นการเมืองเพราะมีนโยบายว่าอะไร ชอบให้อภัย ถ้านักการเมืองทำผิดมาในอดีตเขาออกมาขอโทษก็ให้อภัยให้เล่นการเมืองต่อได้ เลือกเขา อีก และถ้าทำผิดอีกก็ขอโทษและให้อภัยอีกเรื่อย ๆ 10. ชอบการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นิสัยคนไทยแต่โบราณมาแขกมาบ้านให้ต้อนรับ ยิ่งเขามีของมาฝากด้วยยิ่งต้อนรับ มาขอคะแนนถึงประตูบ้าน นำของมาฝากด้วยจะต้องเลือกเขา 11. ไม่ค่อยมีจริยธรรม คนไทยไม่ยึดติดกับระเบียบ แบบแผน การเมืองไม่มีจริยธรรมทางการเมือง 12. ถืออาวุโส ต้องเชื่อผู้ใหญ่ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่บอกให้เลือกใครก็เลือก ผู้บังคับบัญชาให้เลือกใครก็เลือกโดยไม่สนใจว่ามีอุดมการณ์เมืองหรือไม่ คนไทยมีกตัญญู คนไทยเป็นคนมีกตัญญูเคยฝากเขาให้เอาลูกเข้าโรงเรียน ฝากลูกให้ทำงาน หรือช่วย เหลือเขาโดยยืมเงินก็ให้ยืมแถมยังไม่ลดดอกเบี้ยจึงต้องเลือกเขา ด้วยเหตุผลข้างต้นนั้นสรุปได้ว่า การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไปนี้จะต้องมีการเลือกตั้งแน่นอน แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 นี้ มีนโยบายการปฏิรูปการเมือง และมีองค์กรอิสระในการดำเนินการเลือกตั้งโดยตรงก็ตาม คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) และองค์กรเอกชน (Ngos) อื่น ๆ ติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดก็ตามจะต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างแน่นอน เพราะการซื้อเสียงไม่ใช่แต่เพียงการใช้เงินซื้อโดยตรงเท่านั้น ก็มีวิธีการมากมายดังที่กล่าวข้างต้น การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อพรรค ข้อดี 1. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นการกำจัดพรรคเล็ก ๆ ให้หมดไปเพื่อพัฒนาเป็นระบบพรรคการเมือง 2 พรรค เพระคนส่วนมากจะเลือกพรรคใหญ่ ต้องการให้ใครเป็นนายกฯให้เลือกพรรคนั้น 2. เสียงประชาชนในการเลือกตั้งจะมีประโยชน์มากกว่าระบบเขต เพราะเสียงประชาชนลงให้ในแต่ละเขตจะนำไปรวมกันในระดับประเทศจึงมีประโยชน์มาก 3. ได้รัฐมนตรีเขาเพราะรู้แล้วว่าบุคคลนี้จะมาเป็นรัฐมนตรีคือส่วนมากที่อยู่ในบัญชีรายชื่อพรรค ไม่ต้องเลือกตั้งซ่อม กรณีที่เลือกบุคคลใดคนหนึ่งเป็นนายกฯ ก็สามารถเลือกคนในพรรคเดียวกันที่ได้ คะแนนถัดมาขึ้นมาเป็น ส.ส. แทนได้เลย -4- 5. ป้องกันการซื้อเสียงได้เพราะเป็นเขตใหญ่ใช้เป็นเขตเลือกตั้ง คงป้องกันการซื้อเสียงได้ระดับหนึ่ง ข้อเสีย 1. คนที่มีเงินมากก็จะได้เปรียบในการซื้อเสียง คือ เขตใหญ่ก็จะต้องใช้เงินมาก ๆ โดยให้ซื้อทั้งระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อพรรค 2. อาจไม่ได้คนดีเป็นรัฐมนตรี เพราะอาจได้คนที่มีเงินมาก ๆ ลงทุนให้พรรคแล้วมาอยู่ในบัญชีรายชื่อพรรคในระบบต้น ๆ ก็อาจได้เป็นรัฐมนตรี 3. อาจได้รัฐมนตรีระบบโควต้า คือ ส่งตัวแทนหรือส่งลูกน้องลงในเขตแทน แล้วตัวเองลงบัญชีรายชื่อพรรคโดยกำหนดโควต้าว่าถ้าได้ ส.ส. จำนวนเท่าใดจะขอเป็นรัฐมนตรี เป็นต้น จึงทำให้อาจได้คนไม่มีความสามารถ ความรู้ที่เหมาะสม เป็นการมัดมือชกประชาชนไม่สามารถเลือกได้ในระบบบัญชีรายชื่อพรรค รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการแยกอำนาจการบริหารระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง 1. การศึกษา 2. เศรษฐกิจ 3. สัง4. คม 4.1 สัง4.2 คมอุปถัมภ์ 4.3 ระบบเครือญาติ 4.4 อาวุโส 4.5 ระบบมรดก 5. ค่านิยม 5.1 ชอบคนมีบารมี ,มีอิทธิพล 5.2 ชอบคนใจกว้าง5.3 5.4 ชอบกินของฟรี 5.5 ชอบให้อภัย 6. ชอบลืมง่าย 7. ชอบคนบริจาคมาก 8. เชื่อเรื่องผีสางเทวดา 9. ชอบคนดีเด่นมีชื่อเสียง10. 11. เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ -5- 12. ชอบคนใจนักเลง13. 14. ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 15. ไม่ชอบมีจริยธรรม 16. อาวุโส 17. คนไทยกตัญญ18. ู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0