สรุปวิชา PS704

สรุปวิชา PS704

รายงาน (การบ้าน)วิชา PS 704 แนวคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศไทย จัดทำโดย นายพนมไพร ปารมี รหัส 4322800629 เสนอ อาจารย์ ผศ.พิมล พูพิพิธ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ (2 กุมภาพันธ์ 2544) โจทย์ ความหมายการพัฒนาของท่านคืออะไร ? ตอบ ตามแนวคิดของข้าพเจ้า การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆมากมายที่เกิดมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอาจจะทั้งในด้านวัตถุธรรมหรือนามธรรมหรือทั้งสองประการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆโดยมีเป้าหมายที่แน่นอนเป็นที่ยอมรับกันว่าดีขึ้นกว่าเดิม" หรืออาจจะแปลตามตัวหนังสือเลยคำว่า "พัฒนา"มาจากคำว่า "พัฒนะ"ซึ่งแปลว่า ความเจริญ นั้นเอง แต่โดยหลักที่จะยอมรับว่ามีการพัฒนานั้นจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลักษณะขององค์รวม (Holistic) จะต้องมีการกระทำในลักษณะที่เป็นองค์รวมเช่นถ้าระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการคอรัปชั่นมากก็จะกระทบต่อปัญหาด้านการเงินของประเทศจะส่งผลต่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน ปัญหาาของประเทศก็จะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเต็มศักยภาพเพราะการคอรัปชั่น มีบูรณาการ(Integration) คือการไม่แบ่งแยกการรวมกันเป็นกลุ่มการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อม เป็นสหการวิทยาการ การพัฒนานั้นจะมองด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้จะต้องทำควบคู่กันไปทุกด้านต้องมองผลกระทบทุกด้าน เช่นการพัฒนาการเมือง เกี่ยวโยงกับส่วนอื่นๆ เช่นการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และจะต้องมีความสมดุลย์ (Balance) จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอไม่เอนเอียงให้มีดุลยภาพอยู่ตลอดเวลาจึงจะเรียกว่าการพัฒนา การพัฒนาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Change) การเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผลกระทบต่อทั้งระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และระดับประเทศ ซึ่งลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่ 2 แบบคือการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป(Gradual Change) ซึ่งจะมีช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนานอาจจะหมายถึงการปฏิรูป(Reform) เช่นการปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยก็จะเริ่มตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และแบบฉับพลัน(Drastic Change) จะเป็นไปอย่างรวมเร็วในเวลาอันสั้น ซึ่งอาจจะหมายถึง การปฏิวัติ(Revolution)เช่นการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยในปี 2475 นี้ก็ถือว่าการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องมีการเติบโต (Growth) ซึ่งจะต้องเติบโตทั้งในเชิงปริมาณ (Quantitative)และในเชิงคุณภาพ(Quality) ถ้ามีการเติบโตเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งก็จะไม่ถือว่าเป็นการพัฒนา เช่น มีรถราคาแพงๆขับแต่ทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นถนนก็แสดงให้เห็นว่าพัฒนาแต่วัตถุ(เชิงปริมาณ)แต่จิตใจไม่พัฒนา(เชิงคุณภาพ) สรุป การพัฒนาในความหมายของข้าพเจ้าคือการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการต่างๆอาจจะทั้งในด้านวัตถุธรรมหรือนามธรรมหรือทั้งสองด้านควบคู่กันไปแล้วก่อให้เกิดความเจริญงอกงามที่ดีกว่าเดิม ทั้งในด้าน คุณภาพ และปริมาณ อย่างมีความสมดุลย์กัน …… รายงาน (การบ้าน)วิชา PS 704 แนวคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศไทย จัดทำโดย นายพนมไพร ปารมี รหัส 4322800629 เสนอ อาจารย์ ผศ.พิมล พูพิพิธ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ (2 กุมภาพันธ์ 2544) โจทย์ ทันสมัยแต่ไม่พัฒนาคืออะไร ? ตอบ ทันสมัย (Modern) คือความเป็นสมัยใหม่ซึ่งจะมองในแง่ของการเพิ่มขึ้นในแง่ของปริมาณ เช่น การมีตึก สูง 100 ชั้น จำนวนมากในประเทศ การมีองค์กรตรวจสอบต่างๆเพิ่มขึ้นมากมายเหมือนประเทศถือว่าทันสมัยหรือประเทศสมัยอย่างในตะวันตก การมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยสื่อสารได้รวดเร็ว จำนวนมาก การที่คนในประเทศมีรถยุโรปราคาแพงๆจำนวนมาก นี้คือความทันสมัย คืออารยประเทศถือว่าเจริญแล้วอย่างในตะวันตกมีอะไร เราก็มีอย่างนั้น แต่เป็นในเชิงปริมาณ ส่วนการพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลง(Change)ต่างๆที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นทั้งวัตถุธรรมหรือนามธรรม หรือทั้งสองประการเปลี่ยนแปลงพร้อมกัน ไปในทิศทางที่ยอมรับว่าดีกว่าเดิม หรือเจริญงอกงามหรือเติบโต(Growth)ขึ้นกว่าเดิมทั้งในแง่ของปริมาณ (Quantitative)คุณภาพ(Quality) อย่างสมดุลย์(Balance) กัน จากความหมายที่กล่าวข้างต้นนั้นก็จะทราบว่าความทันใหม่นั้นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นในแง่ของปริมาณ(Quantitative) ที่ถือว่าทันสมัยเท่านั้น แต่ไม่มีการเพิ่มขึ้นในแง่ของ คุณภาพ(Quality) จึงทำให้ไม่มีความสมดุลย์ (Balance) กัน ในสังคมนั้นจึงเป็นความทันสมัย(Modern) คือความเป็นสมัยใหม่ แต่ไม่พัฒนา (Development) ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจทำให้คนไทยมีเงินมากขึ้นมีกำลังซื้อมากขึ้นแต่กำลังซื้อนั้นก็ไม่มีคุณภาพ เช่นใช้เงินในการซื้ออาหารฟ๊าสฟูด(Fast Food) รับประทานทั้งที่เป็นอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย หรือนำเงินไปซื้อกระเป๋ายี่ห้อดังของต่างประเทศราคาตั้งหลายหมื่นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความทันสมัยแต่นั้นคือการเพิ่มแต่ปริมาณแต่ไม่มีคุณภาพหรือไม่พัฒนา ที่จะทำให้ประชาชนทราบว่าต้องใช้เงินซื้อสิ่งใดที่จำเป็นกับการดำรงชีพของตนเอง หรือมีเงินมากๆ ซื้อรถ เบนซ์ราคา หลายสิบล้านขับ แต่กลับทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นถนน เป็นต้น ในการของการตัดถนนใหม่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสี่ เลนจากตัวเมืองเข้าชนบทให้มีระบบการคมนาคมส่งขนที่สะดวกมีน้ำประปามีไฟฟ้าใช้ นั้นคือการนำความเจริญความทันสมัยจากเมืองเข้าไปสู่ชนบท แต่กลับมีการตัดต้นไม้ใหญ่ทำลายระบบนเวศน์วิทยาอย่างมากมายเพื่อแลกกับความทันสมัย และยังทำให้โครงสร้างทางสังคมชนบทที่นับถือเครือญาติ มีน้ำใจเอื้ออารีต่อกันเปลี่ยนแปลงไป ยึดในวัตถุนิยม ปัจเจกชนนิยมใครมีเงิน มีรถราคาแพงก็นับถือ ไม่มีญาติพี่น้อง อพยพแรงงานไปทำงานในเมืองทิ้งให้ชนบทเป็นบ้านร้างมีแต่คนแก่ กับเด็กเฝ้าบ้าน อย่างนี้ก็คือความทันสมัยที่มีถนน มีไฟฟ้า ประปา แต่ก็มีปัญหาสังคมต่างๆตามมามากมาย ก็แสดงว่าเพิ่มแต่ปริมาณแต่ไม่มีคุณภาพาจึงเป็นความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา สรุป ทันสมัยแต่ไม่พัฒนาก็คือการเปลี่ยนแปลงเติบโตแต่ปริมาณในความทันสมัยแต่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีความสมดุลย์ จึงไม่พัฒนา การพัฒนาจะต้องเปลี่ยนแปลงเติบโตควบคู่กันไปทั้งปริมาณ และคุณภาพ อย่างสมดุลย์ รายงาน (การบ้าน)วิชา PS 704 แนวคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศไทย จัดทำโดย นายพนมไพร ปารมี รหัส 4322800629 เสนอ อาจารย์ ผศ.พิมล พูพิพิธ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ (2 กุมภาพันธ์ 2544) โจทย์ แนวคิดการพัฒนาในปัจจุบันมีการอิงกระแสหลักหรือไม่ ? ถ้ามีเน้นอะไร ตอบ แนวในการพัฒนาประเทศไทยตั้งแต่เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2504 - 2509)จนถึง ฉบับที่ 8 (2540 - 2544) และฉบับปัจจุบันที่กำลังจัดทำอยู่ในขนาดนี้ก็จะมีการอิงกระแสหลัก จากแผนฯฉบับที่ 1 - 6 จะมุ้งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก เน้นการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น ทางรถไฟ การผลิตกระแสไฟฟ้า และในแผนฯ ฉบับที่ 3 ( 2515 - 2519) ก็เริ่มหันมาสนใจความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนบ้าง ในแผนฯ 5 ( 2525 - 2529) เป็นต้นมาจนถึงแผนฯ 8 (2540 - 2544) ได้หันมาสนใจการพัฒนาคนมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยเฉพาะในแผนฯ 8 เน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เพราะรัฐบาลได้ตระหนักแล้วว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นไม่ใช่การพัฒนาเศรษฐกิจหรือการพัฒนาด้านอื่นแต่เป็นการพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนถ้าคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการอยู่ที่กินดี มีการจิตสำนึกที่ดี การพัฒนาด้านอื่นๆก็จะตามมาอย่างแน่นอนและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)ด้วย ฉะนั้นแนวคิดในการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบันจึงมีการอิงกระแสหลักโดยเน้นที่การพัฒนา "คน" ใช้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ดังจะเห็นได้จากเค้าโครงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545 - 2549) จะเน้นที่ "การพัฒนาคน เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง" จะเน้นการพัฒนาคนให้มีความพอเพียงมีความพออยู่พอกินมีการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างรอบครอบอย่างมีจิตสำนึก เมื่อคนมีการพัฒนา คือ มีการศึกษาดี มีรายได้พอเลี้ยงชีพได้อย่างพอเพียง มีคุณภาพชีวิตที่ดี คนก็จะกลายเป็นทรัพยากรในการพัฒนาด้านอื่นๆอย่างทรงประสิทธิประภาพและประสิทธิผล กว่าปัจจัยในการพัฒนาอื่นๆทั้งปวง มีจิตสำนึกที่ดีในทางการเมือง สำนึกว่าตนคือสมชิกคนหนึ่งของสังคมที่จะต้องทนุบำรุงสังคมมีความรับผิดต่อส่วนรวม ก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านปริมาณ (Quantitative)คุณภาพ(Quality) อย่างสมดุลย์(Balance) กัน สรุป แนวความคิดในการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบันจะอิงกระแสหลักเน้นในการพัฒนา คน ถือ "คน" เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเพราะถ้าสามารถพัฒนา คนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความอยู่กินดีแล้ว คนก็จะเป็นทรัพยากรการพัฒนาที่ทรงประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล(Effectiveness) อย่างหาปัจจัยใดเปรียบไม่ได้ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)ต่อไป..
การวิเคราะห์ การพัฒนาประเทศไทยกับบริบทระหว่างประเทศ ว่าประเทศไทยพัฒนามาแล้ว 50 ปี มีอะไรดีขึ้นบ้าง?

การพัฒนา(Development) หมายถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงและแปรรูปสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรม ของระบบปัจเจกบุคคล ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ในแง่ที่เป็นการยอมรับกันว่าดีขึ้น เจริญงอกงามขึ้นกว่าเดิม เพื่อสนองตอบข้อเรียกร้อง และความต้องการของมวลมนุษย์ชาติ ในแง่ของความเขลาหรือความไม่รู้ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความหิวโหย การพัฒนาของประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นระยะ 50 ปีนั้นไม่สามารถที่กระทำได้ตามลำพัง จะต้องอาศัยและขึ้นอยู่กับ บริบทระหว่างประเทศ ด้วย บริบท ก็คือสิ่งที่มีอิทธิพล รอบด้านของการพัฒนา การพัฒนาของประเทศไทยก็เช่นเดียวกันจะต้องขึ้นอยู่กับบริบทของโลกด้วย เช่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยก็ได้มีนโยบายในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยคิดว่าการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์คือการพัฒนา โดยได้รับแรงกดดันจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั่วโลกได้หันมาสนใจการพัฒนาอย่างจริงจังช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะประเทศต่างๆได้รับความเสียหาย ความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้ง 2 จึงได้หันมาคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาแบบสันติวิธีป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากสงคราม และได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นในปี ค.ศ.1945 โดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะให้ทั่วโลกมีการติดต่อสัมพันธ์กันในทางที่ดีงาม จะได้มีสันติภาพ ไม่ต้องมีสงครามใหม่อีก ประเทศอาณานิคมทั้งหลายต่างก็ตื่นตัวที่จะพยายามปกครองตัวเองจึงดิ้นรนต่อสู้เพื่อกู้เอกราชจึงทำให้เกิดมีประเทศเอกราชเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งประเทศที่ประสบภัยสงครามและประเทศที่พ้นจากอาณานิคมต่างก็ต้องมีการฟื้นฟูสร้างสรรค์ความเจริญกันขึ้น แต่ก็ต้องใช้เงินทุนในการดำเนินการมากมาย จึงได้จัดตั้ง ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกชื่อเป็นทางการว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank For Reconstruction and Development: IBRD) ในวันที่ 27 ธันวาคม 1945 เพื่อให้การช่วยเหลือด้านการเงินในการบูรณะปฏิสังขรณ์(Reconstruction) แก่ประเทศที่ประสบความบอบช้ำจากภัยสงคราม และให้เงินสำหรับการพัฒนา(Development) แก่ประเทศพึ่งได้รับเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคม - 2 - ได้มีการใช้ปัจจัยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีจัดแบ่งประเทศในโลกออกเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว(Developed Countries)หรือประเทศอุตสาหกรรม (Industrial Countries) เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วจะมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ(Economic Development) และประเทศด้อยพัฒนา(Underdeveloped Countries) หรือประเทศ กำลังพัฒนา(Developing Countries)โดยจะเอาปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นตัววัดความเจริญ จึงทำให้ประเทศต่างๆที่ต้องการเป็นประเทศพัฒนาแล้วต่างก็มุ่งพัฒนาให้ประเทศของตนเป็นประเทศอุตสาหกรรมจึงทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติถูกทำลาย ปี ค.ศ.1960 - 1970 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศกำหนดให้ทศวรรษแห่งการพัฒนา(Development Decade)เพื่อเร่งแก้ไขปัญหา 3 อย่าง คือ จน(Poverty) , โง่ (Ignorance) และเจ็บ(Disease) เพราะจนเพราะขาดปัจจัยในการดำรงชีพจึงโง่เพราะขาดการศึกษาและเจ็บไข้ได้ป่วยเพื่อเป็นการลดช่องว่างมาตรฐานการครองชีพของประเทศด้อยพัฒนากับประเทศพัฒนา ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาในทศวรรษแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติคือ ปี ค.ศ.1960 - 1970 โดยเกี่ยวโยงกับธนาคารโลกเพราะประเทศไทยได้ขอกู้ยืมเงินจากธนาคารโลกเพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก่อนนั้นประเทศไทยก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆแต่จะไม่ได้ทำไว้เป็นแบบแผนการพัฒนา จะใช้คำว่า "ทำนุ บำรุงหรือ ทะนุ บำรุง" ประเทศไทยได้นำคำว่า "พัฒนา" มาใช้ครั้งแรก เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้เสนอ "โครงการพัฒนาท้องถิ่น" ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติให้เป็นโครงการชาติในวันที่ 25 กรกฎาคม 2496 และถูกนำมารวมเข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2503 ในปี พ.ศ.2493 ประเทศไทยได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ที่จะพัฒนาเจริญกิจแต่ยังไม่ใช้ว่า "พัฒนา" แต่ใช้คำว่า "สภาเศรษฐกิจ" การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มในปี พ.ศ.2500 เมื่อรัฐบาลได้แถลงนโยบาย "…พัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจให้ถึงมือประชาชนทั่วถึง" ธนาคารโลกหรือ World Bank ได้ส่งคณะสำรวจเศรษฐกิจไทยใช้เวลาในการดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2500 ถึง เดือนมิถุนายน 2501 ตามคำร้องขอของรัฐบาลไทย - 3 - โดยได้เสนอรายงาน "โครงการพัฒนาการสำหรับรัฐบาลไทย"(A Public Development Program for Thailand) และในปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ตรา พระราชบัญญัติ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งจะมีความคำว่า "พัฒนาการ" ซึ่งจะมีปรากฎอยู่ในชื่อของ ธนาคารโลก ที่นิยมเรียกว่า "สภาพัฒน์" ในปัจจุบันและในปี 2504 สภาพัฒน์ก็ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ( 2504 - 2509) ซึ่งถือว่าเป็นผลงานชิ่นแรกของ สภาพัฒน์ และในปีเดียวกันนี้ ธนาคารโลกหรือ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD) และองค์การพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) ก็ได้เข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยก็ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2504 จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาของประเทศไทยจะต้องขึ้นอยู่กับ บริบทระหว่างประเทศ หรือบริบทโลก โดยเฉพาะกับประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศไทยจะพึ่งพาตลอด เช่น ในปี พ.ศ.2493 ประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ (กศว.)มีหน้าที่ประสานงานที่เกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและวิชาการจากสหรัฐอเมริกา นี่ก็คือ บริบทระหว่างประเทศ นับแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ประเทศไทยก็ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆของประเทศ น้ำไหล ไฟฟ้าสว่าง ทางดี มีเงินใช้ จนรัฐบาลในสมัยนั้นได้แถลงอย่างมั่นใจว่า " การปฏิวัติครั้งนี้จะได้ผลสำเร็จหรือล้มเหลวก็อยู่ที่เรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจนี่เอง…การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหัวใจของการพัฒนาทั้งหมด" มีคำขวัญว่า " งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" และ "ศึกษาดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์" นี่คือชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจของประเทศในสมัยนั้น รัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขึ้นมาหลายหน่วยงาน เช่น ในปี พ.ศ. 2505 จัดตั้งกรมพัฒนาชุมชน ปี พ.ศ.2506 จัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ปี พ.ศ.2507 จัดตั้งสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทและยังได้จัดตั้งสถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)ในปี 2509 ซึ่งเป็นองค์กรทางการศึกษา เป็นต้นนี่คือการพัฒนาของไทยในการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 - 4 - สิ้นสุดการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับ 1 ก็เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 2 (2510 - 2514 ) จะสังเกตเห็นคำว่า "และสังคม" ซึ่งจะเริ่มเข้ามาใช้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ก็เพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน(Sustainable Development) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมที่ดีงาม จึงได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อพระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ มาเป็นคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2515 จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2510 - 2514 ) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาแล้วจำนวน 8 ฉบับ (ตั้งแต่ฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 8 จะระยะเวลาฉบับละ 5 ปี )จะเริ่มบังคับใช้ฉบับที่ 9 ในปี พ.ศ. 2545 - 2549 จะมีเพียงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 6 ที่น่าประสบความสำเร็จมากที่สุด ส่วนแผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 และที่ ฉบับที่ 8 จะประสบปัญหามากที่สุด แผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 ประสบปัญหาเนื่องจากทุกประเทศทั่วโลกจะประสบปัญหาภาวะน้ำมันโลกขาดแคลน ภาวะน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2526 และภาวะการกีดกันสินค้าการเกษตรส่งออกของตลาดยุโรป (EU)รวมทั้งสงครามเศรษฐกิจในรูปแบบอื่นๆ วงการเศรษฐกิจโลกซบเซา ราคาสินค้าทางการเกษตรของไทยในตลาดโลกตกต่ำ การกีดกันทางการค้าและกำแพงภาษีของประเทศมหาอำนาจ นี่คือเป็นปัจจัยภายนอกประเทศหรือ บริบทระหว่างประเทศ โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่เหมาะสมกับสังคมไทย เจริญรอยตามแบบจำลองการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตะวันตกมากไป ปัญหาที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมารัฐบาลจะพยายามเน้นการเจริญเติบโตทางภาคอุตสาหกรรมการส่งออก มีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตภาคเกษตรกรรมจากการใช้งานคน สัตว์หันมาใช้เครื่องจักรกลเพื่อเพิ่มจำนวนผลิต(Mass Production) เพื่อการส่งออก จากดรรชนีการเติบโตทางภาคอุตสาหกรรม อยู่ในระดับที่พอใจ เศรษฐกิจดีขึ้นประชาชนมีเงินใช้ มีเครื่องอำนวยความสะดวกในเรือนแทบทุกบ้าน แต่ผลจากการเน้นการพัฒนาเพียงด้านเดียวก็เกิดปัญหาด้านสังคม การเงิน สิ่งแวดล้อม เช่น มีการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย และสับเปลี่ยน ผลของการพัฒนาก็ก่อให้เกิดปัญหา มลพิษ ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม หันไป - 5 - นิยมวัตถุนิยม ตามอย่างตะวันตก ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเริ่มสูญหายไป ปัญหาสังคมมีความซับซ้อนแก้ไขยากขึ้น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ ผลจากการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 - 7 นั้นมีคำกล่าวว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน" ดั้งนั้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540 - 2544) จึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง โดยมีข้อคิดว่า "ชาติสร้างคน คนสร้างชาติ" เพราะ รัฐบาลได้ตระหนักแล้วว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นไม่ใช่การพัฒนาเศรษฐกิจหรือการพัฒนาด้านอื่นแต่เป็นการพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนถ้าคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการอยู่ที่กินดี มีการจิตสำนึกที่ดี การพัฒนาด้านอื่นๆก็จะตามมาอย่างแน่นอนและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)ด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับกระแสของโลกของการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนา(Development)โดยใช้สิ่งแวดล้อม(Environment) เข้าเป็นตัวควบคุมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องการการพัฒนาหรือความเจริญทางเศรษฐกิจเติบโตนั้นอยู่ในภาวะที่สิ่งแวดล้อมรองรับได้ หรือจะพูดว่า "เจริญไปโดยไม่รังแกธรรมชาติ" หรือจะพูดว่า "เศรษฐกิจ"(Economy) คู่ "นิเวศวิทยา"(Ecology) โดยมีคนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว เป็นผู้บริหารจัดการการพัฒนานั้น ซึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2545 - 2549 ) ก็ได้สานต่อที่ "คน" เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ผสมผสานให้ไปกับการสร้างให้เกิดความสมดุล โดยใช้ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ถึงแม้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จพอสมควรในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในการใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 - 7 โดยเฉพาะความเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมจนมีการกล่าวว่าประเทศไทยจะเป็น NICS หรือเสือตัวที่ 5 ในเอเชีย แต่ประเทศไทยก็ต้องมาเจอวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก ในการใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 เมื่อมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้มีธุรกิจหลายประเภท โดยเฉพาะสถาบันทางการเงินต้องล้ม ทำให้ประเทศไทยต้องไปขอกู้ยืมเงินจากกองทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ หรือ IMF มาใช้ในการพัฒนากระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน นี้ความการพัฒนาที่ไม่สมดุลของไทย การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นการก้าวกระโดด ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมในพื้นฐานที่แข็งแรงพอที่จะรองรับปัญหาต่างๆ ที่มีควบคู่มากับความเจริญได้ เช่น ปัญหาการกระจุกตัวของเมือง ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาความแตกต่าง - 6 - ระหว่างเมืองกับชนบท และที่สำคัญประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจเปิดเมื่อมีปัจจัยภายนอกใดๆมากระทบก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีปัญหา เพราะเศรษฐกิจของไทยต้องพึ่งพิง นักลงทุนจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีทุนเป็นของตัวเองเมื่อนักลงทุนถอนการลงทุนระบบเศรษฐกิจของไทยก็จะกระทบไปด้วย ประเทศไทยจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณะ (Dualism) สำหรับการพัฒนาการเมืองไทยนั้นก็มีปัญหามาโดยตลอดตั้งแต่ประเทศเปลี่ยนแปลงการกครองในปี 2475 ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเพื่อแสวงหาการปกครองทีดี ก็คือประชาธิปไตย ที่เชื่อกันว่า "เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุด" แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยมาเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ก็จะไม่ก้าวหน้าที่ที่ควรก็จะวนเวียนอยู่วงจรอุบาทว์ซ้ำแล้วซ้ำอีกก็เพราะการพัฒนาการเมืองไทยกระทำไปอย่างไม่สมดุลและไม่รอบด้าน ดังนี้ นี่คือวงจรการพัฒนาการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ.2535 ระบบการเมืองไทยที่ถดถอยไม่ก้าวหน้า เนื่องจาก 1.ความรุนแรงจาการใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจทางการเมือง 2.ความล้าหลังในการบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 3.ความด้อยคุณภาพของสมาชิกรัฐสภา ด้านความซื่อสัตย์สุจริต และจริยธรรมทางการเมือง 4.ระดับความรุนแรงทางการเมือง เดือน ตุลาคม 2516 และ 2519 และเดือน มิถุนายน 2535 - 7 - จุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยของไทยในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา 1.ทหารมีบทบาททางการเมืองมากเกินไป 2.พรรคการเมืองยังไม่ก่อตัวเป็นสถาบันทางการเมือง ส่วนใหญ่จะเป็นพรรคเฉพาะกิจตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับอำนาจใครบ้างคน เมื่อผู้ก่อตั้งพรรค เลิกไปหรือหมดอำนาจไปพรรคก็จะยุบตามไป ทำให้ประชาชนไม่ยึดหนั่นในพรรคการเมืองการเมืองไทยจึงไม่เข้มแข็ง 3.ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนมีน้อย ขาดกำลังสนับสนุนจากชนชั้นกลาง 4.การไม่ยอมรับสถาบันการเมือง เช่น พรรคการเมือง รัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ 5.องค์กรเอกชน (NGO) มีน้อยและไม่เป็นที่ยอมรับ สรุป ประเทศไทยเริ่มกระบวนการพัฒนาการเมืองมาตั้งแต่ปี 2475 มาเป็นระบบการปกครองในระบบประชาธิปไตย แต่การพัฒนาการเมืองที่ผ่านมานั้นไม่มีแบบแผนการพัฒนาที่ชัดเจน มาปี 2504 ประเทศไทยก็ได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 โดยเน้นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ คือ น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 นี่ประสบความสำเร็จพอสมควร รัฐบาลในสมัยนั้นได้แถลงอย่างมั่นใจว่า " การปฏิวัติครั้งนี้จะได้ผลสำเร็จหรือล้มเหลวก็อยู่ที่เรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจนี่เอง…การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหัวใจของการพัฒนาทั้งหมด" มีคำขวัญว่า " งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" และ "ศึกษาดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์" นี่คือความสำเร็จในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สิ้นสุด แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ก็ต่อด้วย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2510 - 2514 ) จะเห็นว่ามีคำว่า และสังคมแห่งชาติ เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาด้านสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development) และมาแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 (2540- 2544 ) จะเน้นที่การพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง "ชาติสร้างคน คนสร้างชาติ" เพื่อเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 - 7 นั้นจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียวทำให้เกิดปัญหาต่างด้านสังคม ปัญหาส่งแวดล้อมตามมา - 8 - จนมีคำกล่าวว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน" และในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 (2545 - 2549 ) ก็จะเน้นที่การพัฒนา "คน"และปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" การพัฒนาที่ผ่านมาล้มเหลวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงต้องหันมาสนใจยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ(International Development strategic) คือ 1.ต้องเร่งความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง 2.ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3.ต่อสู้กับความยากจน (ทำสงครามกับความยากจน) 4.ให้ความสนใจต่อสภาพแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)…
วิเคราะห์ สังคมชุมชนที่นักศึกษารู้จักว่ามีการพัฒนาอย่างไรดีขึ้นตามทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาหรือไม่ ?

ชื่อ นายพนมไพร ปารมี รหัส 4322800629 สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดอำนาจ วิเคราะห์ เรื่องการพัฒนาในเทศบาลตำบลเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เสนอ อาจารย์ ผศ.พิมล พูพิพิธ 1. ประวัติความเป็นมา เทศบาลตำบลเลิงนกทา ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจาก สุขาภิบาลเลิงนกทา ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามผลของพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลาง จังหวัดยโสธร ระยะห่างประมาณ 67 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร 50 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญ 40 กิโลเมตร เนื้อที่และอาณาเขตห่างจากกรุงเทพฯ 700 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 4.1 ตารางกิโลเมตร จากจำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 - 2 , 13 บางส่วน ตำบลสวาท สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศเป็นที่ราบโดยทั่วไป อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแม่น้ำไหลผ่าน ชื่อว่า "ลำเซบาย" พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ไม่มีภูเขา สภาพภูมิอากาศอากาศโดยทั่วไปจะร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัด ลมกรรโชกในฤดู หนาวปริมาณฝนตกอยู่ในเกณฑ์ดี 2.สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม ราษฎรตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ (มีลักษณะเป็นชุมชนดั้งเดิม : Traditional Society)ไม่มีการอพยพละทิ้งถิ่นฐาน ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์มีอาชีพเกษตรกรรมโดยส่วนใหญ่จะทำการเกษตรนอกเขตเทศบาลแบบกึ่งสมัยโบราณเช่นมีการทำการเกษตรเพื่อพอยังชีพไม่เน้นเพื่อการค้าขายโดยใช้แรงงานคนแรงงานสัตว์และกึ่งสมัยใหม่ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำการเกษตรกรรมเช่นการใช้ครื่องจักรกลมาทดแทนแรงงานคน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีการทำปศุสัตว์ เพื่อการค้า และมีประชากรประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์มีอาชีพทำการค้าขายในแหล่งชุมชน เช่น ร้านค้าขายของชำ(โซฮ่วย) ร้านขายวัสดุก่อสร้าง มินิมาร์ท กิจการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จะเป็นการรองรับผู้บริโภคที่มาจากรอบนอกเขตเทศบาลเป็นส่วนใหญ่เพราะรอบเขตเทศบาลพื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตรจะมีสังคมแบบเกษตรกรรมดั้งเดิมทั้งสิ้น ดั้งนั้นเขตเทศบาลจึงเป็นศูนย์ - 2 - กลางในการติดต่อค้าขายทุกอย่างเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวเปลือกจากประชาชนรอบนอก เพราะมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่เป็นศูนย์ในการรับซื้อข้าวเปลือก และเทศบาลฯยังมีลานสินค้าชุมชุมไว้รองรับให้ประชาชนทั้งในเขตเทศบาลตลาดจนบริเวณใกล้เคียงนำสินค้า ผลิตทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรมมาทำการแลกเปลี่ยนค้าขายกันในเขตเทศบาลประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะเพียงแก่การยังชีพในชุมชนกึ่งชนบทกึ่งเมือง(ค่าครองชีพจะไม่สูงนัก) 3. ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ 3. 1.การคมนาคม/ขนส่ง ก. มีเส้นทางคมนาคมหลักไปสู่อำเภออื่นและตัวจังหวัดคือ ถนนสาย เลิงนกทา - จังหวัดมุกดาหาร , ถนนสายเลิงนกทา - จังหวัดอำนาจเจริญ , ถนนสายเลิงนกทา - อำเภอกุดชุม - อำเภอทรายมูล - จังหวัดยโสธร ก. เส้นทางคมนาคมภายในเขตเทศบาลส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง , ถนนคอนกรีต และมีบางสายเป็นถนนลูกรัง สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี ก. การคมนาคมขนส่งสะดวกสบายสามารถเดินทางได้ตลอดเวลา มีการ คมนาคมเฉพาะทางบก โดยรถยนต์ 3.2.การไฟฟ้า ราษฎรมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน โดยประมาณ 100% ใช้ไฟฟ้าถูก ต้องตามระเบียบแต่อีกส่วนหนึ่งใช้ไฟฟ้าแบบพิเศษที่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในราคาสูงกว่าปกติ เนื่องจากอยู่นอกเขตบริการไฟฟ้า 3.3.การประปา มีการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเลิงนกทา บริการประปาให้ เกือบทุกครัวเรือน และบริการใช้ตลอดทั้งปีโดยใช้แหล่งน้ำกินจากลำเซบาย 3. 4.การสื่อสารและโทรคมนาคม สามารถติดต่อสื่อสารได้ดีทั้ง ไปรษณีย์โทร เลขและโทรศัพท์ ประชาชนมีโทรศัพท์ทุกครัวเรือน มีโทรศัพท์ใช้ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ 3. 5.การใช้ที่ดิน ที่ดินภายในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีเอกสาร สิทธิ์โดยถูกต้อง มีที่ดินสาธารณประโยชน์และมีที่ดินราชพัสดุ ซึ่งให้ราษฎรเช่าทำการค้าขาย - 3 - 3.6.การจราจร เนื่องจากเป็นชุมชนไม่หนาแน่น จึงไม่มีปัญหาด้านจราจรติดขัด ในพื้นที่ แต่จะมีรถยนต์ประเภทต่าง ๆ เดินทางผ่านไปมาจำนวนมาก 4.ด้านเศรษฐกิจ/รายได้ของประชากร 4.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร ประชาชนประกอบอาชีพค้า ขายและเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ย 50,000 ต่อคนต่อปี 4.1 การเกษตรกรรม ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยทำ เกษตรกรรมนอกเขต 4.3 การอุตสาหกรรม มีโรงสีข้าว 1 แห่ง ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง 4.4 การพาณิชยกรรม/การบริการ การค้าขายจะดำเนินธุรกิจบริเวณตลาดสดเทศบาลฯและบริเวณโดยรอบ ได้แก่ ร้านค้าขายของเบ็ดเตล็ด กิจการรับสินค้าทางการเกษตร ร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ ในเขตชุมชนเทศบาลฯจะถือว่าเป็นเขตเมืองที่มีธุรกิจประเภทต่างไว้เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนทั้งในเขตเทศบาลฯและรอบนอกเขตเทศบาลฯอีกจำนวนประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร 4.5 การท่องเที่ยว ส่วนใหญ่นิยมการจัดประเพณีบุญบั้งไฟในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี และมีการจัดกิจกรรมสืบทอด 5. ด้านสังคม 5.1 ประชากร แยกตามเพศและอายุ จำนวน 4,503 คน แยกเป็นชาย 2,243 คน หญิง 2,260 คน เป็นกลุ่มชนภายในท้องถิ่นไม่มีการอพยพมาจากที่อื่น จำนวนหลังคาเรือน 910 หลัง ดังนี้ อายุ (ปี) ชาย หญิง รวม คิดเป็นร้อยละ 0-6 204 213 417 9.26 7-12 200 157 357 7.92 13-17 250 143 393 8.72 18-60 1,424 1,553 2,977 66.11 60 ปีขึ้นไป 165 194 359 7.97 รวม 2,243 2,260 4,503 100 - 4 - 5.2 การศึกษา ศาสนา ประเพณีศิลปวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ อ่านออกเขียนได้ นับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีไทยท้องถิ่น มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง วัด 2 วัด ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง วิทยาลัย 1 แห่ง 5.3 การสาธารณสุข มีโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง หนึ่งแห่ง มีสำนักงานมาลาเรีย 1 แห่ง 5.4 การสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม มีการจัดทำบัตรสุขภาพให้แก่ผู้ยากจนและสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น 5.5 การชุมชนและการเคหะ ไม่มีชุมชนแออัด สลัมในพื้นที่การสร้างบ้านเรือน เป็นแบบท้องถิ่นอีสาน เป็นบ้าน 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ 5.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ในระดับค่อนข้างดี 5.5 ด้านการเมืองการบริหาร โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของเทศบาล เป็นเทศบาลชั้น 7 มีรายได้จากการจัดเก็บเองไม่รวมเงินอุดหนุน 3 ล้าน บาทรวมเงินอุดหนุน มีงบประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี มีบุคลากรจำนวน 14 คน แยกเป็นพนักงาน 4 คน พนักงานประจำ 2 คน ลูกจ้างชั่วคราว 8 คน หมู่บ้านที่ประกอบเป็นเขตเทศบาล จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1,2,13 ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร การคลังท้องถิ่น - รายได้ รายได้ต่ำกว่า 10 ล้านบาท(รวมมเงินอุดหนุน) - รายจ่าย แยกเป็นรายจ่ายต่อปี - รายจ่ายประจำ ประมาณร้อยละ 29 - รายจ่ายเพื่อการลงทุน ประมาณร้อยละ 711 5.5 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุก ระดับคิดเป็นร้อยละ 80 มีการจัดตั้งประชาคมหมู่บ้านและจัดตั้งชุมชน มีคณะกรรมการบริหารชุมชน 5.5 การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - 5 - - มีตู้ยามตำรวจภูธรตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง - มีรถยนต์ดับเพลิง 1 คัน พร้อมเจ้าหน้้าที่บริการตลอด 24 ชั่วโมง - มียามท้องถิ่นคอยตรวจสอดส่องดูแลความเรีียบร้อยของชุมชนจำนวน 2 คน 6 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.1 ทรัพยากรน้ำ - มีลำน้ำไหลผ่าน คือลำเซบาย ซึ่งใช้ประกอบการเกษตรกรรมและใช้ในการสูบน้ำดื่มเพื่อนำไปกรองทำน้ำประปา 6.2 ทรัพยากรป่าไม้ - ไม่มี (ไม่มีป่าสาธารณะแต่มีป่าชุมชนของเอกชน) 6.2 สภาพสิ่งแวดล้อม - ปัจจุบันมีแนวโน้มในการก่อมลภาวะเนื่องจากปริมาณ ขยะมูลฝอยทวีจำนวนมากขึ้นและตกค้างทุกวันเพราะความเจริญของบ้านเมืองที่ประชาชนเริ่มใช้วัสดุที่ผลิตจากพลาสติกในการหีบห่อประกอบกับศักยภาพในการขนขยะมูลฝอยไปกำจัดทำลายอยู่ในระดับต่ำ คือ ขาดรถบรรทุกขยะแบบมาตรฐานและสถานที่กำจัดขยะที่ถูกหลักวิธีการสาธารณสุข 7. การพัฒนาศักยภาพ 7.1 ลักษณะที่ตั้ง อยู่ห่างจากจังหวัดยโสธร แต่เป็นจุดเชื่อมต่อจังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดมุกดาหาร เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังกลุ่มประเทศอินโดจีน และจังหวัดชายแดนไทยอันเป็นเส้นทางเศรษฐกิจหนึ่งในภูมิภาค เหมาะที่จะสนับสนุนและพัฒนาเป็นเมืองสู่อินโดจีน 7.2 แรงงาน มีประชากรอยู่ในวัยแรงงาน จำนวนมาก 7.2 ผลผลิต ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักซึ่งเอื้อ อำนวยต่อ อุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร และตลาดกลางผลิตผล เนื่องจากเป็นเส้นทางสู่อินโดจีน โดยตั้งโรงงานผลิตภัณฑ์จากด้านการเกษตร 7.2 ประเพณีบุญบั้งไฟของท้องถิ่น จัดเป็นประจำทุกปี มีนักท่องเที่ยวมา เที่ยวเป็นจำนวนมาก การพัฒนาจากศักยภาพ จัดลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. ฝึกอาชีพราษฎร 1. จัดตลาดนัดการเกษตร - 6 - 1. ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟ ของท้องถิ่นให้เป็นสถานที่ การท่องเที่ยว จากสภาพความเป็นทั่วไปของเทศบาลตำบลเลิงนกทานั้นจะเป็นลักษณะสังคมดั้งเดิมหรือสังคมประเพณี(Traditional Society)ซึ่งมีฐานการผลิตภาคเกษตร ของประชากรประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่โดยรอบของเขตชุมชุนเทศบาลฯ(จะอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลฯแล้วไปประกอบอาชีพซึ่งมีที่ดินอยู่นอกเขตเทศบาลฯ)ส่วนอีก ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรจะมีการประกอบอาชีพประเภทกิจการพาณิชย์(เช่นการค้าขาย ร้านขายสินค้าต่างๆ สถานบริการการบันเทิงต่างๆ เป็นต้น) ในเขตชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นเขตเมือง จะสอดคล้องกับ ทฤษฎี การพึ่งพิงหรือพึ่งพา (Dependency Theory) ดังนี้ Periphery เทศบาลตำบลเลิงนกทาจะเป็นศูนย์กลางความเจริญคือจะมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรม เป็นศูนย์กลางความบันเทิง เป็นที่จำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆที่เกี่ยวกับการดำรงชีพของประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลฯและที่รอบนอกเขตเทศบาลฯ ประชาชนในชุมชนเทศบาลฯจึงมีรายได้ต่อหัวประชากรมากกว่าประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบนอก เป็นสถานที่รับซื้อขายสิ้นค้าทุกประเภท จะมีความเจริญเติบโตของเมืองมาก โดยสังเกตได้จาก โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เครื่องอำนวยความสะดวกในครัวเรือน เป็นต้น ส่วนที่อยู่โดยรอบนอกของเทศบาลฯนั้นจะเป็นพื้นที่ทางการเกษตรของประชาชนในเขตเทศบาลฯ และที่อยู่อาศัยของประชาชนในเขตชนบทซึ่งเป็นพื้นที่ขององค์การ - 7 - บริหารส่วนตำบลสวาท พื้นที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 14,000 คน จะต้องนำสินค้าทางการเกษตร สินค้าหัตกรรม และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดจากการผลิตเข้ามาจำหน่ายในเขตเทศบาลฯ และจะเข้ามาซื้อสิ้นค้าอุปโภค บริโภคที่สำคัญต่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวันกลับไปด้วย จึงเป็นการนำเงินมาใช้จ่ายในเขตเทศบาล ฯจึงทำให้เศรษฐกิจในเขตเทศบาลฯดี ดังนั้นเขตเทศบาลฯจึงมีการพัฒนามากกว่าบริเวณโดยรอบมีเศรษฐกิจดีกว่า และความทันสมัยในด้านวัตถุมากกว่า และในเขตเทศบาลฯยังเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องที่จำเป็นในการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบนอกด้วย การพัฒนา(Development) หมายถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงและแปรรูปสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรม ของระบบปัจเจกบุคคล ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ในแง่ที่เป็นการยอมรับกันว่าดีขึ้น เจริญงอกงามขึ้นกว่าเดิม เพื่อสนองตอบข้อเรียกร้อง และความต้องการของมวลมนุษย์ชาติ ในแง่ของความเขลาหรือความไม่รู้ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความหิวโหย จากความหมายของการพัฒนาข้างต้นก็แสดงว่าเทศบาลฯมีการพัฒนาแต่เป็นการพัฒนาลักษณะของ การเปลี่ยนแปลงค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Change) เพราะเป็นสังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานมาแต่ดั้งเดิม (Traditional society)จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เทศบาลตำบลเลิงนกทาถือว่าได้ผ่านการพัฒนาในด้านการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นมาแล้วเนื่องจากแต่ก่อนที่เทศบาลฯจะเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลนั้นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารงานในรูปของคณะกรรมการสุขาภิบาลซึ่งมีตัวแทนของส่วนราชการเข้าไปเป็นกรรมการโดยการแต่งตั้ง และกรรมการโดยการเลือกตั้งจำนวน 9 คน ซึ่งถือว่าไม่เป็นการปกครองในระบบประชาธิปไตย จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเลิงนกทาเป็นเทศบาลตำบลเลิงนกทาในวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มาตรา 285 ที่กำหนดให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการผู้บริหารท้องถิ่น โดยให้สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นนั้นให้มากจาการ - 8 - เลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ซึ่งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ในการบริหารเทศบาลนั้นจะเลียนแบบมาจากการปกครองในระดับประเทศ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาการเมือง(Political Development) เป้าหมายคือการปกครองที่ดี คือการปกครองในระบบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจอยู่ที่ประชาชน(Populist) สรุป ถ้าสังกัป "การพัฒนา" (Development ) จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Change) มีความทันสมัย ความเป็นสมัยใหม่ (Modernization)และ การเจริญเติบโต(Growth) ก็แสดงว่าเทศบาลตำบลเลิงนกทาก็มีการพัฒนา ตามทฤษฎีการพัฒนาแล้ว การพัฒนาของเทศบาลตำบลเลิงนกทาที่ผ่านมาจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระหว่างประเทศ(International Development strategy) คือ 1.ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นที่ฐาน เช่น ถนน ขยายเขตไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ เพื่อการส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร และอุตสาหกรรมขนาดเล็กให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคม เช่นส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการเล่นกีฬา แก้ไขปัญหายาเสพติด ดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเลิงนกทาจะให้ความสนใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมากเพราะถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ประชาชนกับการคณะผู้บริหารเทศบาลจะใกล้ชิดกันมากตั้งแต่มีการเลือกตั้งมาแล้ว 2 ครั้ง คือ 4 กรกฎาคม 2542 และ 25 มีนาคม 2543 ตั้งแต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ 2.มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดูจากแผนพัฒนาเทศบาลฯ แผนพัฒนา 5 ปี แผนพัฒนาประจำปี ล้วนเน้นไปด้านการส่งเสริมให้คนในชุมได้รับความรู้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆของทางราชการและการดำรงชีวิตประจำวัน 3.ให้ความสนใจกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม มีโครงการฝึกอบรมสัมนาเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายโครงการทั้งที่เทศบาลฯดำเนินการเองและหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เช่นกระทรวงวิทย์ฯเข้ามาดำเนินการฝึกอบรมในเขตเทศบาลฯ 4.มีส่งเสริมโครงการส่งเสริมอาชีพของประชาชนโดยให้ประชาชนมีอาชีพเสริม ให้มีอาชีพรองจากอาชีพหลักปฏิบัติอยู่เป็นประจำทุกวัน เช่น การส่งอาชีพอิสระต่างๆ - 9 - ช่างตัดเสื้อ ทำขนม ช่างไฟฟ้า จัดตั้งประชาคมหมู่บ้าน มีการจัดตั้งสหกรณ์หมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่มาของรายได้ของประชาชน เทศบาลตำบลเลิงนกทามีการพัฒนา(Development)ที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป(Gradual Change) ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลมาเป็นเทศบาลเพราะระบบการปกครองเดิมไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 มาตรา 258 เพราะเป็นการปกครองในรูปคณะกรรมการจึงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นเทศบาลซึ่งเลียนแบบรูปแบบการปกครองการบริหารมาจากการบริหารประเทศคือ ระบบรัฐสภา และก็มีการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล มีทั้งแผนพัฒนาระยะปานกลาง (แผนพัฒนา 5 ปี)และแผนพัฒนาเทศบาลประจำปี สำหรับใช้กรอบในการบริหารงานเทศบาลซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระหว่างประเทศ(International Development strategy)
สรุป PS 704 Concepts and policy of development ท.การพัฒนาของอาจารย์ ชัยชนะ

การพัฒนาคือการทำให้ดีขึ้นประกอบไปด้วยกระบวนการคือ 1.มีการศึกษาเป็นองค์รวม (Totality) เช่นราคาน้ำมันขึ้นก็กระทบทั้งด้าน ศก.สค.กม.2.โดยใช้สหวิทยาการ(Interdisciplinary) ใช้วิชาการต่างๆเข้ามาใช้ในการศึกษา 3.การเปลี่ยนแปลง(Change)โดยแบ่งการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 2 ประเภท คือ การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป( gradual change)เช่นการปฏิรูป( Reform) และการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน(drastic change) เช่นการทำการประวัติ 4.ในการพัฒนานั้นจะต้องมีการเติบโต( Growth)ต้องเติบโตทั้งด้านปริมาณ (Quantitative)และทั้งในด้านคุณภาพ(Qualitative) เช่นการมีตึกสูง 100 ชั้นมีความสะดวกสบายแต่ทำเฉพาะในกรุงเทพอย่างนี้ก็ถือว่าไม่เติบจริงเพราะไม่ทั่วถึง หรือการที่คนมีเงินซื้อรถเบนส์ขี่แต่ยังทิ้งขยะลงบนถนนก็ยังถือว่าไม่พัฒนาหรือเรียกว่าพัฒนาแต่ไม่สมัย(Modernization without Development) 5.เมื่อพัฒนาจนถึงขั้นสูงสุดแล้วก็มีการเสื่อม(Decay) เช่นอเมริกา มีปัญหาด้านสังคม สิ่งแวดล้อมในขณะที่ ศก.ประสบผลสำเร็จ6. เพระทุกอย่างมันล้วนอนิจจัง(Fall and Rise ) มันเป็นเรื่องธรรมชาติมีขึ้นยอมมีลงอามินตะพุทธ…… Nom 01- 393 9718 ถ้าถามว่า ศก.เป็นปัจจัยของการพัฒนาการเมืองใช่หรือไม่ ? การกำหนดว่า ศก.เป็นเงื่อนไขในการพัฒนาการเมืองนั้น ไม่ใช่สิ่งตายตัวมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย เช่น การศึกษาสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ปัญหาของประเทศกำลังพัฒนา … 1.ขาดแคลนเทคโนฯและองค์ความรู้ในการพัฒนา 2.ขาดแคลนเงินทุน 3.ขาดความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ 4.ขาดการศึกษา ปัจจัยเหล่านี้แหล่ะที่เป็นที่มาของการกำหนดทศวรรษแห่งการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ในปี 1960-1970 (Development Decade)เพื่อเร่งแก้ไขปัญหา 3 อย่าง คือ จน(Poverty) , โง่ (Ignorance) และเจ็บ(Disease) เพราะจนเพราะขาดปัจจัยในการดำรงชีพจึงโง่เพราะขาดการศึกษาและเจ็บไข้ได้ป่วยเพื่อเป็นการลดช่องว่างมาตรฐานการครองชีพของประเทศด้อยพัฒนากับประเทศพัฒนาในการมุ่งแข่งขันการพัฒนาที่จะเป็นประเทศอุตสาหกรรมซึ่งทำให้เกิดปัญญหาต่างๆตามมาเช่น ปัญหาสังคม ปัญหาโรคจิตและที่สำคัญก็คือปัญหาสภาพแวดล้อม เป็นปัญหาที่สำคัญไปทั่วโลกทำให้ต้องคิดหาแนวทางการพัฒนาใหม่ คือการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development) Modernization Theory เป็น ท.การพัฒนาการอย่างตะวันตกโดยจะมุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านวัตถุเป็นหลัก เชื่อว่า เทคโนฯและวัตถุจะทำให้มนุษย์ดีขึ้น การผลิตแบบใหม่ การศึกษาแบบใหม่ การเป็นมนุษย์แบบใหม่(Modern Man) การพัฒนาให้ทันสมัยหรือพัฒนาถึงความทันสมัย 1.ต้องเป็นสังคมเมือง(Urbanization) เพราะเป็นการพัฒนามาจากสังคมอุตฯเป็นเกษตรกรรมเพียงไม่เกิน 5% 2.ความเป็นอุตฯ(Industrialization) รายได้เกิดจากอุตฯ 3.การแบ่งงานกันทำ(Division of Labor) 4. การสื่อสารคมนาคม(Communication) 5.การมีชนชั้นกลาง(Middle Class) ผลจากการพัฒนาทำให้เกิดโรคทันสมัย(Modernization Syndrome) ความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา((Modernization Development) จึงได้มีการเสนอทางเลือกในการพัฒนา(Alternative Development) ทางเลือกของการพัฒนา เพราะการพัฒนาในระบบของ Modernization ชูมัคเกอร์ เขียนหนังสือ จิ๋วแต่แจ๋ว (Small is Beautiful) ซึ่งนำเสนอแนวทางการพัฒนาเชิงพุทธ เป็นการเสนอแนวคิดการพัฒนาที่พอเพียง (Sufficiency Development) อมาตยา เชน ชาวอินเดีย เสนอ ทางเลือกของการพัฒนา ต้องติดอาวุธให้กับประชาชน สิทธิเสรีภารพ ในกฏบัตรของสหประชาติ จะต้องทำจริง มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมการเมืองโปร่งใส ประชาชนให้อำนาจในด้านต่างๆ เช่น การเริ่มเสนอกฎหมาย การตรวจสอบนักการเมือง กระจายอำนาจ ใ ห้ประชาชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง กระจายทางการศึกษา โดยดึง ปชช.เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่องค์กรใดองค์หนึ่งไปทำเพียงลำพัง นโยบายในการพักหนี้ 3 ปี กองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านสามารถแก้ไขปัญหาที่รากหญ้าได้จริงหรือไม่? 1.เกษตรกรรมซึ่งถือว่าเป็นฐานการผลิตใหญ่ของประเทศ เป็นกำลังการผลิต การบริโภค และการเสียภาษีทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มของเกษตร เกิดการหมุนเวียนของ ศก.ของภาคอื่นๆ การค้า การขนส่ง การบริการ 2. ฟื้นฟูการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ถ้ามีทุนการผลิตดี ก็จะมีการหมุนเวียนของ ศก. 3.ป.ไทยมีเงินออมในระบบมาก แต่รัฐบาลขาดจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาของคนส่วนใหญ่คือภาคเกษตร 4.ต้องหันมาจัดการทรัพยากร เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ แก้ไขปัญหาการผลิต การมีคนทำการพัฒนาคุณภาพชีวิต ปฏิรูปการศึกษาและอื่นๆ เพิ่มผลผลิต มีรายได้เพิ่ม ศก.ก็จะฟื้นตัว มีเงินจ่ายหนี้ 5.พักหนี้เกษตรที่ย่ำแย่มากๆเพื่อช่วยเหลือให้เกษตรตั้งต้นฟื่นฟูอาชีพของตนเองให้ได้ลดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ชั้นดี 6.ต้องปฏิรูปด้านอื่นๆควบคู่กันไปด้วยกัน เช่นลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้การแนะนำการผลิตที่มีคุณภาพ การตั้งกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท 1.ต้องให้เกิดการจ้างงาน เกิดผลการพัฒนาการผลิต 2.ต้องปรับองค์กรให้ชนบท ไม่จ่ายเงินเป็นเบี้ยหัวแตก 3.ต้องทำในแง่การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอุตฯขนาดย่อม จึงจะทำให้ฟื้นฟู ศก.ปละช่วยคนส่วนใหญ่ของสังคมได้จริงจัง การล้มเหลวของการพัฒนาการเมืองไทย 1.ผู้นำแย่งชิงอำนาจเพราะผลประโยชน์ขัดแย้งกัน 2.ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากเกินไป 3.นักธุรกิจสนับสนุนนักการเมือง แล้วถอนทุน
NEXT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0