สรุปวิชา PS703

สรุปวิชา PS703

บทบาทของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ในเวทีอาเซียน ? กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของการประชุมในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting: AEM) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Economic Official Meeting: SEOM) โดยเป็นหน่วยงานหลักประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความร่วมมือเศรษฐกิจและการค้าของอาเซียน ประสานท่าทีไทยรวมทั้งจัดทำองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมดังกล่าว ? อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมในการประชุม SEOM เจ้าหน้าที่กรมฯ จะเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมในคณะทำงาน/คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ภายใต้ SEOM และคณะทำงานในสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ ด้วย เช่น สาขาคมนาคม บริการ และการลงทุน เป็นต้น ซึ่งจะมีผู้แทนระดับสูงของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงและกรมที่เกี่ยวข้องเป็นหัวหน้าคณะ ? กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ยังทำหน้าที่วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายเกี่ยวกับมาตรการภาษีและที่มิใช่ภาษีภายใต้อาฟต้า ตลอดจนการตรวจสอบพันธกรณีและการปฏิบัติตามพันธกรณีทางด้านเศรษฐกิจและการค้าภายใต้อาฟต้าซึ่งประเทศอาเซียนได้ให้สัตยาบันไว้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 (1967) ที่กรุงเทพฯ โดยประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 (1984) บรูไน ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 และเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538 (1995) เวียตนามได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนได้เพิ่มเป็น 10 ประเทศ โดยมีสมาชิกใหม่คือ ลาว พม่า และกัมพูชา กลไกการดำเนินงานของอาเซียน ปัจจุบันอาเซียนมีภารกิจกว้างขวาง ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยมีกลไกการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้ (1) การประชุมสุดยอดอาเซียน (Summit Meeting) หรือการประชุมระดับผู้นำของอาเซียนเป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดของอาเซียน ซึ่งกำหนดในมีขึ้นอย่างเป็นทางการทุก 3 ปี และให้มีการประชุมกันอย่างไม่เป็นทางการทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของอาเซียนและริเริ่มกิจกรรมใหม่ๆ (2) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting: AMM) เป็นการประชุมรัฐมนตรีด้านต่าง ประเทศ ประชุมปีละครั้ง มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย แนวทางและประสานกิจกรรมต่างๆของอา เซียน (3) การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Ministers: AEM) เป็นการประชุมรัฐมนตรีด้าน เศรษฐกิจ ซึ่งมักได้แก่ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ปีละครั้งและ ไม่เป็นทางการปีละครั้ง มี หน้าที่รับผิดชอบในการวางนโยบายและการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนและควบคุมดูแลการ ปฏิบัติงานขององค์กรด้านเศรษฐกิจของอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) เพื่อให้แนวทาง ประสานงานและทบทวนการดำเนินงานเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมรัฐ มนตรีเศรษฐกิจเฉพาะด้าน (Sectoral Ministers Meeting) อาจเรียกประชุมเพื่อเสนอแนะ และวางแนวทางความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆของอาเซียน เช่น ด้านพลังงาน ขนส่ง เกษตรและป่าไม้ เป็นต้น (4) การประชุมระดับรัฐมนตรีที่มิใช่ด้านเศรษฐกิจ (Other Non - Economic Ministeral Meeting) เช่น ด้านสิ่ง แวดล้อม สาธารณสุข แรงงาน การศึกษา วิทยาศาสตร์ เป็นต้น จะประชุมเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น เพื่อ กำหนดความร่วมมือระหว่างกัน (5) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meetings) ได้แก่ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านต่าง ประเทศ (SOM) ด้านเศรษฐกิจ (SEOM) และด้านอื่นๆ เพื่อดำเนินการความร่วมมือด้านต่างๆ และรายงานผล ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (6) คณะกรรมการประจำ (ASEAN Standing Committee: ASC) เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงาน ในระหว่างที่ไม่มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อให้มีการติดตามผล และทบทวนการปฏิบัติงานของคณะ กรรมการต่างๆให้เป็นไปตามแนวนโยบายที่รัฐมนตรีต่างประเทศให้ไว้ (7) สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยงานประสานงานและเสริมสร้างการดำเนินการ ตามนโยบาย โครงการและกิจกรรมขององค์กรต่างๆของอาเซียน รวมทั้งทำหน้าที่เลขานุการให้แก่การประชุมอา เซียน ? ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ความเป็นมา 1. ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ประกาศจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ในเดือนมกราคม 1992 โดยความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีของไทย (นายอานันท์ ปันยารชุน) ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม (1995) ลาว และพม่า (1997) และกัมพูชา (1999) 2. วัตถุประสงค์หลักของอาฟต้า คือ การสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ 3. อาเซียนมีความตกลง 2 ฉบับ ที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานอาฟต้า ได้แก่ ความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) ที่ใช้เป็นกรอบการดำเนินการความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือเรียกสั้น ๆ ว่า ความตกลง CEPT [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] ที่ใช้เป็นกลไกในการดำเนินงานเขตการค้าเสรีอาเซียน 4. เมื่อแรกดำเนินการ อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันในสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปลงเหลือ ร้อยละ 0-5 รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีภายในเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 1993 และสิ้นสุด 1 มกราคม 2008 ต่อมาในปี 1994 อาเซียนได้เร่งรัดการดำเนินงานอาฟต้าจากเดิม 15 ปี เป็น 10 ปี คือ จัดตั้งอาฟต้าให้เสร็จภายใน 1 มกราคม 2003 รวมทั้งให้นำสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปซึ่งเคยได้รับการยกเว้นภาษีเป็นการชั่วคราวและสินค้าเกษตรไม่แปรรูปตั้งแต่เริ่มจัดตั้งอาฟต้า เข้ามาลดภาษีภายใต้อาฟต้าด้วย 5. ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวม 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 500 ล้านคน หากการจัดตั้งอาฟต้าเสร็จสมบูรณ์ อาเซียนก็จะเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ปราศจากอุปสรรคทางการค้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี ซึ่งมีศักยภาพสูงในด้านการค้า และการลงทุน หลักการ 6. ประเทศสมาชิกจะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี และยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณของสินค้าหนึ่ง ๆ ทันทีที่สินค้านั้นได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรจากประเทศสมาชิกอื่น แล้วยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ภายในเวลา 5 ปีต่อมา ทั้งนี้ กำหนดเวลาในการลดภาษีจะแตกต่างกันระหว่างสมาชิกดั้งเดิม 6 ประเทศ และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ เนื่องจากสมาชิกใหม่เข้าร่วมในอาฟต้าช้ากว่า กำหนดการลดภาษี 7. สินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป แบ่งออกเป็น 2 บัญชี 7.1 บัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL) แยกเป็น 2 ประเภท (1) สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) จะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี ประกอบด้วยสินค้า 15 กลุ่ม ได้แก่ น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ยาง เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์เซรามิคและแก้ว แคโทดที่ทำจากทองแดง เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย ปูนซีเมนต์ เภสัชภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องอิเล็คทรอนิคส์ (2) สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี 7.2 บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) สมาชิกสามารถขอสงวนสิทธิ์การลดภาษีชั่วคราวได้ โดยนำสินค้าไว้ในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว แต่ต้องเริ่มทยอยนำเข้ามาลดภาษีปีละ 20% ของจำนวนรายการทั้งสิ้น โดยเริ่มนำเข้ามาใน IL ช้ากว่าสินค้าใน IL 3 ปี และลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี 8. สำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูป เริ่มนำเข้ามาลดภาษีช้ากว่าสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป คือ เริ่มในปี 1996 แต่จะต้องสิ้นสุดพร้อมกัน คือ ในปี 2003 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง แบ่งออกเป็น 3 บัญชี 8.1 บัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL) ประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษีสินค้าในบัญชีนี้ลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี 8.2 บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) ประเทศสมาชิกสามารถขอยกเว้นการลดภาษีสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเป็นการชั่วคราวได้ แต่ต้องทยอยนำสินค้าในบัญชีนี้เข้ามาลดภาษีในแต่ละปีเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน และลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 6 ปี 8.3 บัญชีอ่อนไหว (Sensitive List : SL) จะนำเข้ามาลดภาษีช้าที่สุด และต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 9 ปี รวมทั้งมีมาตรการพิเศษอื่น ๆ ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List : HSL) คือ ข้าว ซึ่งมีอัตราภาษีสุดท้ายสูงกว่าร้อยละ 5 และมีมาตรการคุ้มกันพิเศษได้ โดยมี 3 ประเทศที่มีสินค้าอ่อนไหวสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ อินโดนีเซียยังไม่ได้แจ้งปีเริ่มต้นลดภาษี แต่จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 20 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2010 มาเลเซีย จะนำข้าวเข้ามาลดภาษีในปี 2001 และลดภาษีข้าวเหลือร้อยละ 20 ภายในปี 2010 ส่วนฟิลิปปินส์จะนำข้าวเข้ามาลดภาษีในปี 2005 และเสนอจะลดภาษีเหลือร้อยละ 70 ภายในปี 2010 ซึ่งสมาชิกอาเซียนเห็นว่าเป็นอัตราที่สูงเกินไป จึงจะต้องมีการเจรจาในเรื่องนี้ต่อไป 9. นอกจากนี้ อาฟต้ายังมีบัญชียกเว้นทั่วไป (General Exception List : GE) ซึ่งสินค้าในบัญชีนี้ไม่ต้องลดภาษีตลอดไป ได้แก่ สินค้าที่มีผลต่อการปกป้องความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี กำหนดการลดภาษีในบัญชีต่าง ๆ ของอาฟต้า ประเทศ สินค้าอุตสาหกรรมและ เกษตรแปรรูป สินค้าเกษตรไม่แปรรูป IL TEL IL TEL Sensitive สมาชิกเดิม เวียดนาม ลาวและพม่า กัมพูชา 1993-2003 1996-2006 1998-2008 2000-2010 1996-2003 1999-2006 2001-2008 2003-2010 1996-2003 1999-2006 2001-2008 2003-2010 1997-2003 2000-2006 2002-2008 2004-2010 2001-2010 2004-2013 2006-2015 2008-2017 เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์อาฟต้า 10. เป็นสินค้าที่อยู่ในแผนการลดภาษีของทั้งประเทศผู้ส่งออกและนำเข้า และ สินค้าของประเทศหนึ่งจะได้รับการลดภาษีในอีกประเทศหนึ่ง เมื่อต่างก็ลดภาษีลงเหลืออัตรา 20% หรือต่ำกว่า 11. เป็นสินค้าที่มีการผลิตในอาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งประเทศ รวมกันแล้วคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 40% ของมูลค่าสินค้า สถานะล่าสุด การลดภาษี 12. เนื่องมาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 ในเดือนธันวาคม 1998 ผู้นำอาเซียนจึงได้ประกาศใช้มาตรการระยะสั้นเพื่อเร่งรัดการลงทุนจากต่างประเทศ และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เรียกว่า มาตรการเข้มข้น หรือ Bold Measures ซึ่งประกอบด้วยการเร่งรัดอาฟต้า การเร่งรัดการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และการให้สิทธิประโยชน์พิเศษด้านการลงทุน การเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการรอบใหม่ และการผ่อนผันเงื่อนไขภายใต้โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน 13. มาตรการเข้มข้นในส่วนที่เกี่ยวกับการเร่งรัดอาฟต้า มีดังนี้ 13.1 สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ จะเร่งรัดการลดภาษี เหลือร้อยละ 0-5 สำหรับสินค้าทุกรายการในบัญชีลดภาษี (IL) จากเดิมปี 2003 เป็น 2002 และดำเนินการเป็นขั้นตอนโดยลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 จำนวนร้อยละ 85 ของจำนวนรายการใน IL ในปี 2000 แล้วเพิ่มเป็นร้อยละ 90 และร้อยละ 100 ของจำนวนรายการใน IL ในปี 2001 และ 2002 ตามลำดับ ทั้งนี้ให้มีความยืดหยุ่นได้ในปี 2002 13.2 ประเทศสมาชิกใหม่จะพยายามลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในปี 2003 สำหรับเวียดนาม และปี 2005 สำหรับลาวและพม่า 14. ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกันยายน 1999 มีมติให้สมาชิกต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ให้ได้ร้อยละ 60 ของจำนวนรายการใน IL ภายในปี 2003 ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1999 ผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้อาเซียนลดภาษีลงเหลือ 0% ทุกรายการใน IL ภายในปี 2010 สำหรับสมาชิกเดิม และปี 2015 สำหรับสมาชิกใหม่ ยกเว้นสินค้าบางรายการของสมาชิกใหม่ที่ให้ยกเลิกการเก็บภาษีภายในปี 2018 ได้ 15. ตามมาตรการเข้มข้น ในวันที่ 1 มกราคม 2000 ประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษีสินค้าจำนวน ร้อยละ 85 ของจำนวนรายการใน IL ของแต่ละประเทศ ลงเหลือ 0-5% ซึ่งมีสมาชิก 2 ประเทศ ได้แก่ ไทย และฟิลิปปินส์ ที่จะต้องลดภาษีสินค้าเพิ่มเติมให้ได้ตามที่กำหนดในมาตรการเข้มข้นทั้งนี้ ทั้งสองประเทศได้ยื่นรายการสินค้าดังกล่าวในการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อเดือนกันยายน 1999 และที่ประชุมได้ให้การรับรองแล้ว สำหรับการลดภาษีในปี 2001-2003 ประเทศสมาชิกก็จะยื่นรายการที่จะต้องลดภาษีเพิ่มเติมในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนครั้งต่อๆไปเป็นลำดับ 16. สำหรับประเทศไทย เดิมมีสินค้าที่ผูกพันที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ไว้ในบัญชีลดภาษีจำนวน 6,547 รายการ ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเข้มข้น ไทยได้เร่งลดภาษีสินค้าเหลือร้อยละ 0-5 เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวน 1,190 รายการในปี 2000 และจะเร่งลดภาษีเพิ่มเติมอีกประมาณ 455 รายการในปี 2001 399 รายการในปี 2002 และ 512 รายการในปี 2003 ตามลำดับ นอกจากนี้ ไทยกำลังดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อให้เป็นไปตามมติของที่ประชุม AEM ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนตุลาคม 1999 ที่ให้ประเทศสมาชิกเดิมลดภาษีเหลือร้อยละ 0 จำนวน 60% ของจำนวนรายการใน IL ภายในปี 2003 สำหรับรายการสินค้าที่ไทยจะลดภาษีเพิ่มเติมตามมาตรการเข้มข้น มีดังนี้ รายการสินค้าที่ไทยจะลดภาษีเพิ่มเติมตามมาตรการเข้มข้น ลำดับที่ รายการปี 2000 จำนวน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 สัตว์มีชีวิต และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากพืช ไขมัน และน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม สุรา เคมีภัณฑ์ โลหะสามัญยกเว้นเหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ อื่น ๆ 144 221 20 219 88 108 120 46 224 รวม 1,190 ลำดับที่ รายการปี 2001 จำนวน 1 2 3 4 5 6 7 สัตว์มีชีวิต และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากพืช อาหารปรุงแต่ง เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า อื่น ๆ 75 33 25 26 109 145 42 รวม 455 ลำดับที่ รายการปี 2002 จำนวน 1 2 3 4 5 6 7 กระดาษ รองเท้า เหล็กและเหล็กกล้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ของเล่น เครื่องกีฬา ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด อื่น ๆ 50 36 128 38 35 38 74 รวม 399 ลำดับที่ รายการปี 2003 จำนวน 1 2 3 4 5 ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ใช้แทนยาสูบ ปิโตรเคมี ไม้อัด กระดาษ สินค้าที่เคยอยู่ในบัญชี TEL 11 232 33 71 165 รวม 512 17. นอกจากนี้ ทุกประเทศกำลังพิจารณาโอนย้ายรายการสินค้าที่อยู่ในบัญชียกเว้นทั่วไปที่ไม่ต้องลดภาษีตลอดไปเข้ามาอยู่ในบัญชีลดภาษี และจากผลการพิจารณาในเบื้องต้น มีแนวโน้มว่าแต่ละประเทศจะโอนย้ายสินค้าเข้ามาลดภาษีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้อาฟต้ามีรายการสินค้ายกเว้นการลดภาษีเป็นจำนวนน้อยกว่าเดิมมาก การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี 18. การดำเนินงานอาฟต้า นอกจากการลดภาษีแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณ และมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ซึ่งกฎเกณฑ์ของความตกลง CEPT กำหนดว่า เมื่อสินค้าหนึ่ง ๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี (อัตราภาษีลดลงเหลือร้อยละ 20) ก็ต้องยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณนำเข้าทันที และทยอยยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ภายในเวลา 5 ปี ต่อมา ในเรื่องนี้ อาเซียนได้ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ตั้งแต่สิ้นปี 2539 และกำลังดำเนินการปรับประสานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม 20 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมทั้งได้จัดทำความตกลงการยอมรับร่วมในผลการตรวจสอบและรับรองสำหรับสินค้าเครื่องสำอาง ยา และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับสินค้าเกษตรก็กำลังปรับประสานมาตรการด้านสุขอนามัยพืช ในสินค้าเกษตร 14 ชนิด เช่น ข้าว มะม่วง มะพร้าว ขิง กาแฟ เป็นต้น และได้ปรับประสานระดับสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในกะหล่ำปลี และมะเขือเทศ นอกจากนี้ เพื่อลดอุปสรรคและขยายการค้าในอาเซียนสำหรับวัคซีนสัตว์ อาเซียนยังได้จัดพิมพ์ชุดคู่มือวัคซีนสัตว์ที่ประกอบด้วย คู่มือหลักเกณฑ์การรับรองห้องทดสอบวัคซีนสัตว์ มาตรฐานวัคซีนสัตว์ มาตรฐาน อาเซียนสำหรับอุตสาหกรรมวัคซีนสัตว์ และกฎระเบียบการจดทะเบียนวัคซีนสัตว์ในอาเซียน 19. ขณะนี้ อาเซียนกำลังดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีในอาเซียน โดยให้มีกระบวนการแจ้งข้ามประเทศ (cross-notification) ซึ่งประเทศสมาชิกและภาคเอกชนสามารถแจ้งมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประเทศอื่นๆใช้อยู่ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อรวบรวม ตรวจสอบ แล้วให้ประเทศสมาชิกที่ถูกแจ้งนั้นชี้แจงและดำเนินการยกเลิกต่อไป หากพบว่าเป็นอุปสรรคทางการค้าและไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของความตกลง CEPT ผลของอาฟต้าต่ออาเซียน 20. จะทำให้อาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยประชากรเกือบ 500 ล้านคน ซึ่งปราศจากอุปสรรคทางการค้าทั้งด้านภาษี และที่มิใช่ภาษี ส่งผลต่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และ ต่อเนื่องจนถึงการขยายตัวของการผลิตและการค้าภายในภูมิภาค 21. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าของอาเซียนในตลาดโลกอันเป็นผลมาจากการรวมปัจจัยการผลิตเพื่อใช้ในการผลิตขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดและการผลิตตามความถนัด 22. จากการขยายตัวของการค้า และการลงทุนในภูมิภาค จะเป็นการสร้างโอกาสให้กับภาคการผลิตที่มีศักยภาพในการแข่งขัน และ/หรือมีความสามารถในการปรับตัวรับกับการค้าเสรี ทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวส่งผลต่อการจ้างงาน และความเป็นอยู่ของประชาชน 23. ผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี ราคาถูก และมีหลากหลายทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น 24. ทำให้เกิดการขยายการค้าและพึ่งพาอาศัยกันและกันมากขึ้นภายในอาเซียน และลดการพึ่งพาตลาดใหญ่ของประเทศมหาอำนาจ จากสถิติในช่วงปี 1993-1996 การส่งออกสินค้าภายใต้อาฟต้ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด และมีสัดส่วนต่อการส่งออกรวมในอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยเป็นมากกว่า 80% สัดส่วนการส่งออกสินค้าภายใต้อาฟต้า (CEPT) ต่อการส่งออกรวมในอาเซียน (NON-CEPT) หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ Products 1993 1994 1995 1996 CEPT 34,063 47,423 56,278 62,612 CEPT & NON-CEPT 42,771 57,472 68,715 77,895 % of CEPT 79.3 82.5 81.9 80.4 หมายเหตุ ไม่รวมสถิติ CLMV 25. การดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน จะเป็นการแสดงเจตนารมณ์และสร้างภาพพจน์ของอาเซียนต่อประเทศนอกกลุ่มว่า อาเซียนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเจรจาต่อรองกับประเทศอื่น ๆ ในเวทีการเจรจาต่าง ๆ 26. การขยายการค้าและการลงทุนจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีตามมา 27. เขตการค้าเสรีอาเซียน จะเป็นตัวเร่งให้ทุกประเทศอาเซียนแข่งขันกันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้ทัดเทียมกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้มีการขยายการค้าและการลงทุนภายในอาเซียนเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันกับประเทศนอกกลุ่มอีกทางหนึ่งด้วย 28. อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมบางประเภทในประเทศสมาชิก ซึ่งไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ เมื่อปราศจากการคุ้มครองจากมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีย่อมได้รับผลกระทบจากเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยเฉพาะการผลิตสินค้าเกษตรซึ่งการปรับเปลี่ยนต้องใช้เวลา และทำได้ค่อนข้างยาก จึงทำให้เป็นภาระของรัฐบาล ที่จะต้องหามาตรการช่วยเหลือ/รองรับผลจากการเลิกล้มกิจการ การว่างงาน และความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ผลของอาฟต้าต่อประเทศไทย 29. ภาพรวม (1) การลดภาษีของอาเซียนจะทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปอาเซียนมีราคาถูกและสามารถแข่งขันกับประเทศนอกกลุ่มได้ (2) การลดภาษีของไทยจะทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากอาเซียนในราคาถูก ซึ่งจะมีผลต่อการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก ทั้งนี้ จะเห็นได้จากสถิติการค้าระหว่างไทยกับอาเซียน ซึ่งอาเซียนได้ทวีความเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย โดยเฉพาะในด้านการส่งออก ดังนี้ - การส่งออกของไทยไปอาเซียนขยายตัวมากขึ้นน เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าของอาเซียนลดลง โดยในปี 1992 ก่อนเริ่มดำเนินการอาฟต้า ไทยส่งออกไปอาเซียนมูลค่า 4,490.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอันดับสี่ รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น แล้วขยับขึ้นเป็นอันดับสองในช่วงปี 1993-1994 และเริ่มเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยมาตั้งแต่ปี 1995 จนถึงปี 1997 โดยมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 21 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย สำหรับในปี 1999 อาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับสองรองจากสหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออก 10,871.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า 140% จากปี 2535 - ในด้านการนำเข้า อาเซียนเป็นแหล่งนำเข้าาอันดับสามของไทยมาโดยตลอด รองจากญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 13 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย ในช่วงปี 1992-1997 สำหรับในปี 1999 อาเซียนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับสองของไทยรองจากญี่ปุ่น มีมูลค่านำเข้า 7,906.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.8 ของมูลค่านำเข้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 จากปี 2535 ทั้งนี้ ก่อนการดำเนินการอาฟต้าในปี 2536 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนทั้งมูลค่ารวม การส่งออก และการนำเข้า ต่างมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 13 ของมูลค่ารวม การค้าไทย-อาเซียน (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปี 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 มูลค่า 10,031.5 12,524.7 16,508.9 21,747.8 21,753.0 20,861.6 16,296.9 18,778.0 %การขยายตัว 16.8 24.8 31.8 31.7 0.02 -0.04 -21.9 15.22 สัดส่วนต่อมูลค่ารวม 13.7 15.0 16.5 17.1 17.0 17.2 16.8 17.3 การส่งออกของไทยไปอาเซียน (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปี 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 มูลค่า 4,490.2 6,584.8 9,058.4 12,325.3 12,113.4 12,734.0 9,895.8 10,871.6 %การขยายตัว 26.3 46.6 37.6 36.1 -1.7 5.1 -22.3 9.86 สัดส่วนต่อมูลค่ารวม 13.8 17.6 19.9 21.7 21.6 21.8 18.2 18.6 การนำเข้าของไทยจากอาเซียน (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ปี 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 มูลค่า 5,541.4 5,939.9 7,450.4 9,422.5 9,639.6 8,127.6 6,401.1 7,906.4 %การขยายตัว 10.0 7.2 25.4 26.5 2.3 -15.7 -21.2 23.52 สัดส่วนต่อมูลค่ารวม 13.6 12.9 13.7 13.3 13.3 12.8 15.1 15.8 หมายเหตุ สมาชิกอาเซียนเท่ากับ 10 ประเทศ (3) ผู้บริโภคสามารถบริโภคสินค้าอุปโภค บริโภคในราคาถูกลงและมีสินค้าให้เลือกอย่างหลากหลาย (4) การขยายฐานตลาดจะทำให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยมีความได้เปรียบในหลายด้าน ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก แรงงานที่มีประสิทธิภาพ ขนาดของตลาด ลักษณะสังคมเปิด และการเป็นประตูสู่อินโดจีน ทำให้ประเทศไทยน่าจะเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนได้มากกว่าประเทศอื่น (5) การแข่งขันกันภายในอาเซียนจะทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาเทคโนโลยี (6) การขยายการนำเข้าและการส่งออกภายในอาเซียน จะทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการค้ากับกลุ่มอื่นลดลง 30. ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทย การเข้าร่วมในอาฟต้าของประเทศสมาชิก แต่ละประเทศจะต้องเปิดตลาดสินค้าของตนให้กับสมาชิกอื่น ในขณะเดียวกันสินค้าของประเทศตนก็มีช่องทางเข้าสู่ตลาดประเทศอื่นได้มากขึ้นเช่นกัน สำหรับประเทศไทยก็ย่อมได้รับผลกระทบในทำนองเดียวกัน หากพยายามหลีกเลี่ยงให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด เช่น นำสินค้าที่มีปัญหาไปไว้ในรายการยกเว้นลดภาษีชั่วคราว ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมมีเวลาปรับตัวได้ระยะหนึ่ง เป็นต้น (1) อุตสาหกรรมบางประเภทจะได้รับประโยชน์ และมีโอกาสขยายตลาด เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิต รวมทั้งมีแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ เช่น สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น (2) อุตสาหกรรมที่เพิ่มเริ่มก่อตั้ง เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นต้น อาจเสียเปรียบในการแข่งขันกับสิงคโปร์ ซึ่งประกอบการมานานและตั้งตัวได้แล้ว (3) อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเสียเปรียบด้านต้นทุนวัตถุดิบ เช่น น้ำมันปาล์ม เป็นต้น จะมีปัญหาการแข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) ความเป็นมา 1. ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ ผู้นำอาเซียนได้มีมติ เห็นชอบต่อข้อเสนอของสิงคโปร์ที่จะให้จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียน ซึ่งต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ(ASEAN Economic Ministers Retreat) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนภายในปี 2553(คศ 2010) โดยให้ AIA มีลักษณะดังนี้ ? ให้มีโครงการส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน ? ให้การประฏิบัติเยี่ยงคนชาติหรือสิทธิพิเศษเท่าที่จะให้ได้ ? เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจกรรมเกี่ยวกับการลงทุนอาเซียน ? เปิดอุตสาหกรรมทุกชนิดให้แก่นักลงทุนทั้งหมด 2. อาเซียนได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน ให้เสร็จภายในปี 2541(คศ.1998) โดยในการดำเนินการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน จะเน้น หลักการดำเนินการฝ่ายเดียว(Unilateral Action) และให้ยืดหยุ่นเวลาได้แต่ต้องให้เสร็จสิ้นภายในปี 2553 (คศ 2010) 3. รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในความตกลงฯ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ สาระสำคัญของความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน ความตกลงฯ ประกอบด้วย โครงการความร่วมมือ โครงการการอำนวยความสะดวก และโครงการการเปิดเสรีด้านการลงทุนโดยความตกลงฯ มี ทั้งสิ้น 21 มาตรา ดังนี้ คือ 1. คำนิยามของคำว่านักลงทุนอาเซียน นักลงทุนอาเซียน หมายถึง คนชาติหรือนิติบุคคลใดของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ ลงทุนในประเทศสมาชิกอื่น โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นของคนชาติอาเซียนรวมกันแล้วอย่างน้อยที่สุดเท่ากับสัดส่วนขั้นต่ำที่กำหนดให้เป็นหุ้นคนชาติ และสัดส่วนการถือหุ้นประเภทอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายภายในและนโยบายของชาติที่มีการพิมพ์เผยแพร่ของประเทศที่รับการลงทุน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนนั้น 2. ขอบเขต ความตกลงฯ นี้จะครอบคลุมเฉพาะการลงทุนโดยตรง 3. วัตถุประสงค์ เพื่อจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนที่มีสมรรถภาพในการแข่งขัน มีบรรยากาศการลงทุนที่เป็นเสรีมากขึ้นและโปร่งใสระหว่างประเทศสมาชิก และเพื่อส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของการลงทุนโดยเสรีภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) 4. ลักษณะสำคัญ ? มีโครงการความร่วมมือร่วมกัน ? ให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติในทุกมาตรการแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี 2553 (คศ 2010) และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี 2563(คศ. 2020) ทั้งนี้โดยมีข้อยกเว้นได้ ? เปิดเสรีอุตสาหกรรมทั้งหมดให้แก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี 2553 (คศ 2010) และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี 2563(คศ. 2020) ทั้งนี้โดยมีข้อยกเว้นได้ ? ให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในเรื่องการลงทุนมากขึ้น ? มีการไหลเวียนของเงินทุน แรงงานฝีมือ ผู้ประกอบวิชาชีพและเทคโนโลยีที่เป็นเสรีมากขึ้น 5. พันธกรณีทั่วไป ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการที่โปร่งใส พร้อมทั้งเริ่มกระบวนการตามโครงการอำนวยความสะดวก การส่งเสริมและสร้างความเข้าใจและการเปิดเสรี 6. โครงการและแผนปฏิบัติการ โครงการประกอบด้วย ? โครงการความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก ? โครงการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ ? โครงการเปิดเสรี ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะต้องส่งแผนดำเนินการแก่คณะกรรมาธิการเขตการลงทุน อาเซียน(AIA Council) และแผนดำเนินการนี้จะต้องมีการทบทวนทุก 2 ปี 7. การเปิดอุตสาหกรรมและการให้การปฏิบัติ ติเยี่ยงคนชาติ (1) ประเทศสมาชิกจะต้องให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนทันทีที ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ (7 เมษายน 2542 ) โดยสามารถมีข้อยกเว้นได้ (2) ประเทศสมาชิกจะต้องเปิดอุตสาหกรรมแก่นักลงทุนอาเซียนทันทีที่ความ ตกลงฯ มีผลบังคับใช้(7 เมษายน 2542 ) โดยสามารถมีข้อยกเว้นได้ (3) ประเทศสมาชิกจะต้องยื่นบัญชีอุตสาหกรรมและมาตรการการให้การปฏิบัติ เยี่ยงคนชาติที่จะขอยกเว้นตามความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียนเป็นการชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) และบัญชีอ่อนไหว (Sensitive List) แก่คณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน(AIA Council) ภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ลงนามความตกลงฯ แล้ว(เดือนเมษายน 2542) ทั้งนี้ สำหรับนักลงทุนในอาเซียน จะต้องเป็นไปตามหลักการต่อไปนี้ ? บัญชีขอยกเว้นชั่วคราว จะต้องมีการทบทวนทุก 2 ปี และจะต้องทะยอย ยกเลิกไปจนหมดสิ้นภายในปี 2553 (คศ 2010) ยกเว้นเวียดนาม ภายในปี 2556 (คศ. 2013) ลาวและพม่าภายในปี 2558(คศ. 2015) ? บัญชีอ่อนไหวจะต้องมีการทบทวนในวันที่ 1 มกราคม 2546 (คศ. 2003) 8. การปฏิบัติ เยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง สิทธิพิเศษที่ประเทศสมาชิกอาเซียนให้แก่ประเทศคู่สัญญาที่มิใช่สมาชิกอาเซียน จะต้องให้แก่ ประเทศสมาชิกด้วย ยกเว้นพันธกรณีตามความตกลงปัจจุบันที่มีอยู่ ซึ่งจะต้องแจ้งให้คณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียนทราบ 9. การสละสิทธิที่จะได้รับการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง ประเทศสมาชิกที่ไม่พร้อมที่จะให้สิทธิประโยชน์ตามข้อ 7 สามารถรับสิทธิประโยชน์จากประเทศที่ให้ผลประโยชน์แล้วได้ หากประเทศนั้นยินยอม 10. การแก้ไขรายการ ภาคผนวก และแผนปฏิบัติการ การแก้ไขรายการ โครงการความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกและโครงการ ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจและแผนปฏิบัติการภายใต้ความตกลงฯ จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุน สำหรับการแก้ไขรายการโครงการเปิดเสรี แผนปฏิบัติการและภาคผนวกภายใต้ความตกลงฯ จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน 1. ความโปร่งใส ประเทศสมาชิกจะต้องให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับมาตรการ กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติของฝายบริหารที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินการตามความตกลงฯ แก่คณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน ยกเว้นข้อมูลที่เป็นความลับ 12. ความตกลงอื่น การดำเนินการใดๆ ตามความตกลงนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิและพันธกรณีของประเทศสมาชิกตามความตกลงที่ประเทศสมาชิกเป็นภาคีอยู่ก่อน และประเทศสมาชิกมีสิทธิที่จะกระทำความตกลงอื่นที่ไม่ขัดแย้งกับหลักการ วัตถุประสงค์ และเงื่อนไขของความตกลงนี้ 13. ข้อยกเว้นทั่วไป ประเทศสมาชิกสามารถยับยั้งการลงทุนได้ หากประเทศสมาชิกอื่นเข้ามาลงทุนในกิจการ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ศีลธรรมจรรยา การปกป้องชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช 14. มาตรการป้องกันฉุกเฉิน หากการดำเนินการเปิดเสรีภายใต้ความตกลงนี้ มีผลให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง ประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการป้องกันฉุกเฉินได้ แต่ทั้งนี้ ต้องอยู่ในขอบเขตและระยะเวลาเท่าที่จำเป็น และจะต้องแจ้งมาตรการดังกล่าวต่อคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียนทราบ ภายใน 14 วันนับจากวันที่มีการดำเนินมาตรการ 15. มาตรการเพื่อป้องกันดุลชำระเงิน หากประเทศสมาชิกมีปัญหายุ่งยากอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับดุลชำระเงินและการเงิน ประเทศสมาชิกอาจใช้หรือคงไว้ซึ่งข้อจำกัดในการลงทุนที่ตนได้ผูกพันไว้ ทั้งนี้ จะต้องแจ้ง มาตรการดังกล่าวต่อคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียนภายใน 14 วันนับจากวันที่มีการดำเนินมาตรการ 16. ข้อตกลงเกี่ยวกับสถาบัน กลไกที่กำกับดูแลการดำเนินการสำนักงานเขตการลงทุนอาเซียน ประกอบด้วย (1) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(AEM) ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน(AIA Council) ประกอบด้วยรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบด้านการลงทุน เลขาธิการอาเซียน หัวหน้าหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ AIA Council จะกำกับดูแล ประสานงานและทบทวนการปฏิบัติตามความตกลงนี้ และช่วยเหลือ AEM ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (2) AIA Council ได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านการลงทุน (Coordinating Committee on Investment : CCI) ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ อาวุโสรับผิดชอบด้านการลงทุนและเจ้าหน้าที่อาวุโสจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง โดยมีหน้าที่ช่วยเหลือ AIA Council 17. การระงับข้อพิพาท หากมีข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก ให้ใช้พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน หากจำเป็นอาจมีการจัดทำกลไกระงับข้อพิพาทเฉพาะขึ้นได้ 18. การแก้ไขความตกลงฯ การแก้ไขใดๆในความตกลงฯ ให้ทำโดยฉันทามติและจะมีผลบังคับใช้เมื่อรัฐบาลประเทศสมาชิกทั้งหมดได้ยื่นสัตยาบันสารหรือสาร ยอมรับต่อเลขาธิการอาเซียน 19. ความตกลงหรือข้อตกลงเพิ่มเติม กำหนดการ แผนปฏิบัติการ ภาคผนวก และข้อตกลงหรือความตกลงอื่นใดที่เกิดขึ้นภายใต้ความตกลงนี้จะรวมเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงนี้ 20. การภาคยานุวัติของสมาชิกใหม่ สมาชิกใหม่ของอาเซียนจะภาคยานุวัติความตกลงนี้ตามเงื่อนไข ซึ่งเป็นที่ตกลงกันระหว่างสมาชิกใหม่และสมาชิกผู้ลงนามความตกลงนี้ และโดยการมอบภาคยานุวัติสารต่อเลขาธิการอาเซียน 21. บทบัญญัติสุดท้าย ความตกลงนี้ จะมีผลบังคับใช้เมื่อรัฐบาลที่ลงนามทั้งหมดได้ยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับต่อเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ การยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับต้องทำในเวลา 6 เดือนหลังจากลงนามในความตกลงฯ มาตรการเข้มข้น เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้การลงทุนในภูมิภาคอาเซียนลดลงมากกว่า 50% ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความเจริญเติบโตของ อาเซียน ผู้นำอาเซียนจึงได้ประกาศมาตรการเข้มข้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 ระหว่าง วันที่ 14-15 ธันวาคม 2541 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยในส่วนของการลงทุน ผู้นำได้มีมติให้ร่นระยะเวลาการยกเลิกบัญชียกเว้นชั่วคราวสำหรับนักลงทุนอาเซียนให้เร็วขึ้นเป็นปี 2546 (คศ. 2003) จากเดิมปี 2553(คศ. 2010) โดยลาว และเวียดนาม สามารถยืดหยุ่นเวลาได้จนถึงปี 2553(คศ. 2010) สำหรับกัมพูชาซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้รับการยืดหยุ่นเวลาได้จนถึงปี 2553(คศ. 2010) เช่นกัน นอกจากนี้ ยังได้ประกาศมาตรการระยะสั้นที่จะขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยจะให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนทั้งในและนอกอาเซียนในอุตสาหกรรมการผลิตที่ยื่นคำขอและได้รับการอนุมัติโดยหน่วยงานการลงทุนของอาเซียนแต่ละประเทศในปี 2542-2543 มาตรการระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนในอาเซียน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 สิทธิพิเศษที่ให้แก่โครงการใหม่หรือโครงการที่ขยายจากเดิม 1.1 สิทธิประโยชน์ด้านการเงิน (1) ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าอย่างน้อย 3 ปี หรือร้อยละ 30 ของภาษีรายได้นิติบุคคล การยกเว้นภาษีดังกล่าวไม่ได้ให้ตาม incremental basis นอกเหนือหรือมากกว่าสิทธิประโยชน์ที่ให้อยู่แล้ว (2) ยกเว้นภาษีสินค้าทุนสำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริม 1.2 การเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ สามารถเข้าสู่ตลาดภายในประเทศได้อย่างเสรี 1.3 การถือหุ้น สามารถถือหุ้นได้ 100% 1.4 สิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับอุตสาหกรรม ได้รับสิทธิในการใช้/เช่าที่ดินสำหรับอุตสาหกรรมเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 ปี 1.5 พิธีศุลกากร โครงการที่ได้รับอนุมัติสามารถนำวัตถุดิบและสินค้าทุนผ่านพิธีการ ศุลกากรอย่างเร็ว โดยผ่านช่องทางพิเศษสำหรับสินค้าอาฟต้า หรือวิธีการอื่น ที่เทียบเท่าของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน 1.6 การจ้างงานต่างชาติ สิทธิประโยชน์ครอบคลุมถึงการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ ดังนี้ (1) สามารถจ้างงานต่างชาติในตำแหน่งบุคคลากรชำนาญการ ผู้จัดการ เทคนิค ตามที่ผู้ลงทุนร้องขอ (2) ต่ออายุ multiple entry visa และอนุญาตเดินทางออก(exit permit) สำหรับคนงานต่างชาติในตำแหน่งบุคลากรชำนาญการ จัดการ เทคนิคและครอบครัว ให้อย่างน้อย 1 ปี (3) ข้อจำกัดและอากรสำหรับการว่าจ้างคนงานต่างชาติในตำแหน่งบุคลากรชำนาญการ การจัดการ เทคนิค หากมี ส่วนที่ 2 สิทธิประโยชน์ที่ให้สำหรับนักลงทุนที่เพิ่มทุนในกิจการเดิม จะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งหมดในส่วนที่ 1 เช่นกัน ยกเว้นสิทธิประโยชน์การ ยกเว้นภาษีการค้าและในการเช่าที่ดิน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนผู้เพิ่มทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ของกิจการเดิมหรือตามเงินทุนที่เพิ่มชึ้น ส่วนที่ 3 มาตรการพิเศษที่สำคัญที่ให้แก่นักลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน บรูไน ดารุสซาลาม อนุญาติให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและอุตสาหกรรมที่ส่งออก อินโดนีเซีย ให้ต่างชาติที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมลงทุนในการค้าปลีกและค้าส่งได้ 100% เพิ่มเติมจากลงทุนได้ 100%ในอุตสาหกรรมภาคการผลิต นอกจากนี้ ลดขั้นตอนระยะเวลาการอนุมัติสำหรับเงินลงทุนที่น้อยกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 10 วัน ในสาขาการธนาคาร สามารถลงทุนได้ 100 % ในธนาคารที่ได้ขึ้นบัญชีไว้ ลาว ลาวยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทุน สำหรับโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริม มาเลเซีย อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% สำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรมโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องการส่งออกสำหรับการลงทุนใหม่ทั้งหมด การขยาย หรือการเปลี่ยนแปลงการลงทุน ยกเว้น สินค้าหรือกิจกรรมที่ระบุไว้ 7 สาขา นอกจากนี้ ต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้โดยมีข้อจำกัด พม่า ขยายการยกเว้นภาษีการค้าอย่างน้อย 3 ปี แก่โครงการลงทุนใหม่ทุกโครงการในทุกสาขา รวมทั้งยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมในช่วง 3 ปีแรกของการประกอบการ ฟิลิปปินส์ เปิดธุรกิจการค้าปลีกและการจัดจำหน่าย รวมทั้งธุรกิจก่อสร้างของภาคเอกชนในตลาดท้องถิ่นแก่นักลงทุนต่างชาติ สิงคโปร์ ลดต้นทุนการทำธุรกิจเพิ่มเติมจากการยกเว้นภาษีการค้า 30% สำหรับโครงการอุตสาห-กรรมภาคผลิตและภาคบริการที่ได้รับการคัดเลือก กิจกรรมเหล่านี้รวมไปถึงอุตสาหกรรมการผลิต วิศวกรรม หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค และบริการที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไทย อนุญาตให้ถือหุ้น 100 % สำหรับโครงการอุตสาหกรรมโดยไม่คำนึงถึงสถานที่ตั้ง ยิ่งไปกว่านั้น โครงการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรซึ่งส่งออก 80% จะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร โดยไม่คำนึงถึงเขตที่ตั้ง เวียดนาม ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทุนทุกโครงการ และการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับโครงการที่ส่งเสริมและโครงการที่ตั้งในเขตภูเขาหรือเขตที่ห่างไกลในช่วง 5 ปีแรกของการประกอบการ การออกใบอนุญาตสำหรับหลายโครงการจะลดเหลือ 15 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารสมบูรณ์ นอกจากนี้ เมืองและมณฑลต่างๆ สามารถออกใบอนุญาตสำหรับโครงการที่ลงทุนต่ำกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่ 4 เงื่อนไข นักลงทุนจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้ เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ระบุ ไว้ในสวนที่ 1 หรือ 2 (1) ลงทุนขั้นต่ำตามที่ประเทศกำหนด(หากมี) (2) อุตสาหกรรมที่ลงทุนต้องอยู่ในประเภทกิจการที่ให้ความสำคัญที่ระบุว่าจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (3) ต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่อยู่ในรายการขอสงวน (4) นักลงทุนต้องแสดงหลักฐานการนำเข้าทุนทั้งหมดจากต่างประเทศ หากเจ้าของประเทศที่ลงทุนต้องการ ทั้งนี้ หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจะต้องดำเนินการรับสมัครภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้รับใบสมัครสมบูรณ์ นักลงทุนต้องยื่นใบสมัครต่อหน่วยงานลงทุนของเจ้าของประเทศก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2000 และนักลงทุนหรือบริษัทจะได้รับหนังสือรับรองอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษต่างๆ การเข้าตลาด และสัดส่วนการถือหุ้นในขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ ส่วนที่ 5 ระยะเวลาของสิทธิประโยชน์ สิทธิประโยชน์จะได้รับตลอดโครงการ ยกเว้นระบุไว้ในบันทึกฉบับนี้ หรือเวลาที่ออกใบอนุญาต หรือระยะเวลาที่กำหนดใน website ของประเทศสมาชิก นอกจากนี้ สิทธิประโยชน์จะคงมีผลบังคับใช้บังคับ ถึงแม้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือกฎหมายอื่นในประเทศสมาชิก ถ้าโครงการที่ได้รับการส่งเสริมไม่ได้ดำเนินการตามตารางเวลาที่กำหนดซึ่งได้ ตกลงไว้ระหว่างนักลงทุนและรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม สิทธิประโยชน์ข้างต้นสามารถถูกถอนได้ ส่วนที่ 6 ศูนย์กลางการติดต่อเพื่อขอข้มมูลเพิ่มเติมของประเทศต่าง ประเภทกิจการที่ให้ความสำคัญ บัญชีขอสงวน และรายละเอียดที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์จะปรากฎใน website ของแต่ละประเทศสมาชิก ดังนี้ บรูไน ดารุสซาลาม http://www. brunet.bn or http://www.bsmehp.htm อินโดนีเซีย http://www.bkpm.go.id มาเลเซีย http://www.mida.gov.my ฟิลิปปินส์ http://www.dti.gov.ph/boi สิงคโปร์ http://www.sedb.com ไทย http://www.boi.go.th สถานการณ์ปัจจุบัน ที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียนอาเซียน(AIA Council) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2542 ณ จังหวัดภูเก็ต ได้มีมติให้ขยายกรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียนให้ครอบคลุมถึงสาขาต่างๆ ได้แก่ ประมง เกษตรกรรม ป่าไม้และเหมืองแร่ รวมไปถึง การบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตและสาขาต่างๆ ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีมติให้ยื่นบัญชี ยกเว้นทั่วไป(GE) ทั้งนี้ การยื่นบัญชีดังกล่าวให้เป็นไปตามความสมัครใจ ในการจัดทำบัญชีบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตและสาขาต่างๆ นั้น ขอบเขตของอุตสาหกรรมดังกล่าวจะใช้รายการกิจกรรมใน Central Product Classification(CPC) ของ GATS ในหมวดที่ 88 และรายการอุตสาหกรรมดังกล่าวภายใต้ International Standard Industrial Classification(ISIC) เป็นหลัก พร้อมด้วยหลักเกณฑ์ 3 ข้อคือ (1) จะต้องเป็นการรับจ้าง (2) โดยปกติแล้ว ผู้รับจ้างจะไม่เป็นเจ้าของวัตถุดิบที่นำมารับบริการ ยกเว้นในบางกรณีอาจจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้ (3) การให้บริการจะเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป สำหรับเรื่องรูปแบบการเจรจานั้น จะใช้หลักการเดียวกับการเปิดเสรีอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้ AIA ขณะนี้ ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันความตกลงฯ ดังกล่าวและได้ยื่นรายการบัญชี อุตสาหกรรมการผลิตและสาขาต่างๆ ที่จะขอยกเว้นจากการเปิดเสรีและการให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติแล้ว สำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตและสาขาต่างๆ นั้น กำหนดจะต้องยื่นบัญชีรายการดังกล่าวในการประชุม AIA Council ครั้งที่ 3 ในเดือนตุลาคม 2543 นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังได้ยื่นแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการตาม AIA โดยแผนการดังกล่าวจะประกอบด้วยแผนการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก และแผนการเปิดเสรี และได้จัดทำแผนการเดินทางส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน(ASEAN Joint Investment Promotion Missions) ไปยังประเทศเป้าหมายสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ โตเกียว และยุโรป ประโยชน์ การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน จะทำให้นักลงทุนสามารถประกอบธุรกิจต่างๆ ตลอดจนร่วมทุนกันได้สะดวกมากขึ้น และมีต้นทุนที่ต่ำลง ประกอบกับอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลงจากอาฟต้า จึงอาจใช้เป็นฐานการผลิตสินค้า เพื่อขยายตลาดทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียน การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน ความเป็นมา 1. ประเทศไทยมีพันธกรณีและข้อผูกพันภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service - AFAS) ในการเจรจากับประเทศสมาชิก เพื่อทำข้อ ผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขา ให้แก่กันและกัน ให้มากกว่าที่ประเทศสมาชิกได้ผูกพันไว้ภายใต้ GATS ของ WTO อันได้แก่ สาขาบริการด้านการเงิน ด้านการท่องเที่ยว ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ด้านการขน ส่งทางทะเล ด้านการขนส่งทางอากาศ ด้านการก่อสร้าง และบริการด้านธุรกิจ โดยให้สรุปผลการเจรจา ภายใน 31 ธันวาคม 2541 เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ได้มีการประกาศไว้ใน Bangkok Declaration 1995 สถานะปัจจุบัน 2. ประเทศไทยได้ส่งคณะผู้แทนซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบริการทั้ง 7 สาขา เข้าร่วมการประชุมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเมื่อต้นปี 2538 และเจรจาจัดทำ ข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการให้แก่กันและกันกับประเทศสมาชิกอาเซียนในคณะกรรมการประสานงานว่าด้วย การบริการของอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Services - ACCS) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมติของที่ ประชุมเจ้าหน้าที่เศรษฐกิจอาวุโสของอาเซียน (SEOM) ให้กำกับดูแลให้มีการเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดเสรีดัง กล่าวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยปัจจุบันมีรองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้รับแต่งตั้งให้ทำ หน้าที่เป็นประธาน ACCS 3. การเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งปัจจุบันมีประเทศลาว และพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วยได้ดำเนินการมากว่าครึ่งทาง โดยสมาชิก 7 ประเทศได้ตกลงยื่นข้อผูกพันเปิด เสรีการค้าบริการในเบื้องต้นให้แก่กันและกันใน 5 สาขา ซึ่งยังไม่รวมสาขาบริการด้านการเงินและการก่อ สร้าง และไทยตกลงยื่นข้อผูกพันเบื้องต้นใน 2 สาขาคือ สาขาการท่องเที่ยวและการขนส่งทางทะเล ข้อผูกพัน เปิดเสรี 5 สาขาบริการของสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศดังกล่าวได้รวมเป็น ASEAN Initial Package of Commitments ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 29 ณ เมืองซูบัง จายา ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2540 แต่จะเริ่มมีผลบังคับให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ได้ ทำไว้ เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้ลงนามให้การยอมรับ Protocol to Implement the Initial Package of Commitments under AFAS ในการประชุม Second Informal ASEAN Summit ในเดือนธันวาคม 2540 และรัฐบาลประเทศผู้ลงนามใน Protocol ได้ยื่นสัตยาบันสารหรือสารให้การยอมรับ Protocol ดังกล่าว ครบทุก ประเทศแล้ว ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เสร็จอย่างช้าภายในวันที่ 31 มีนาคม 2541 4. ลาวและม่าซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ได้ตกลงยื่นเปิดเสรีสาขาท่องเที่ยวเพื่อรวมเข้าใน ASEAN Initial Package of Commitments ซึ่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียน (AEM) จะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่รัฐ มนตรีเศรษฐกิจจะร่วมลงนามใน Protocol ดังกล่าว ในการประชุม Second Informal ASEAN Summit ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation : AICO) 1. ความเป็นมา รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน เมื่อเดือนเมษายน 2539 ทั้งนี้ ความตกลงฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป 2. วัตถุประสงค์ (1) ขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน (2) เพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียน (3) สนับสนุนการแบ่งผลิต (4) ลดต้นทุนการผลิตโดยการลดภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป และวัตถุดิบ (5) เพิ่มการลงทุนระหว่างอาเซียนและการลงทุนจากนอกอาเซียน (6) เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของอาเซียน 3. หลักการดำเนินการ 3.1 ผู้ประกอบการ (1) ผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศอาเซียนประเทศหนึ่งร่วมมือกับผู้ประกอบการอีกอย่างน้อย 1 ราย ในอีกประเทศอาเซียนหนึ่งยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ ภายใต้ AICO ต่อหน่วยงานที่แต่ละประเทศกำหนด (2) AICO จะมีผู้ประกอบการมากกว่า 1 รายในแต่ละประเทศ และมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 2 ประเทศก็ได้ 3.2 ประเภทสินค้า สินค้าทั่วไป ยกเว้นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ขัดต่อศีลธรรมวัฒนธรรมอันดีงาม หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช โดยมีแหล่งกำเนิดในอาเซียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 การอนุมัติสินค้าจะระบุพิกัด HS 8-digit ขึ้นไป 3.3 องค์กรที่มีสิทธิขอรับสิทธิประโยชน์ (1) บริษัทที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นใหม่ หรือบริษัทที่ก่อตั้งและดำเนินกิจการอยู่แล้วใน อาเซียน (2) ต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นคนชาติที่บริษัทนั้นตั้งอยู่อย่างน้อยร้อยละ 30 (3) ต้องชี้แจงแสดงเหตุผลว่าจะร่วมมือกันอย่างไร 3.4 สิทธิประโยชน์ (1) สินค้าและวัตถุดิบทีใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-5 (2) สินค้านั้นได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ (3) สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ ประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์ (4) ไม่ถูกจำกัดด้วยระบบโควต้าหรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี 3.5 หน่วยงานหลัก (National Authority) National Authority ของไทยสำหรับโครงการ AICO คือ สำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 4. สถานะปัจจุบัน 4.1 ในปัจจุบัน (เดือนพฤษภาคม 2543) มีคำขอโครงการ AICO ของอาเซียนรวมทั้งสิ้น 75 โครงการ โดยมีโครงการที่ไทยเข้าร่วมด้วย 53 โครงการ แยกเป็นอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนี้ (1) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 46 โครงการ (2) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 3 โครงการ (3) อุตสาหกรรมเครื่องยนต์การเกษตร 1 โครงการ (4) อุตสาหกรรมอาหาร 2 โครงการ (5) อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก 1 โครงการ 4.2 ในจำนวนคำขอที่ไทยเข้าร่วมด้วยทั้ง 53 โครงการ แยกตามสถานะคำขอได้ ดังนี้ (1) คำขอที่ได้รับอนุมัติแล้ว 42 โครงการ (1.1) ได้รับ COE (Certificate of Eligibility) แล้ว 33 โครงการ (1.2) รอคู่ประเทศอนุมัติ 9 โครงการ (2) คำขอที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 6 โครงการ (3) คำขอที่ไม่ได้รับการอนุมัติ 3 โครงการ (4) คำขอที่บริษัทขอยกเลิก 1 โครงการ (5) คำขอที่ถูกเลิกโดยอัตโนมัติ 1 โครงการ (ประเทศผู้ร่วมโครงการอื่น ไม่อนุมัติโครงการ) 4.3 คำขอที่ไทยอนุมัติ 42 โครงการ แยกเป็นอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (1) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 36 โครงการ (2) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 3 โครงการ (3) อุตสาหกรรมเครื่องยนต์การเกษตร 1 โครงการ (4) อุตสาหกรรมอาหาร 2 โครงการ 4.4 ในจำนวน 42 โครงการที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้าน อุตสาหกรรมกับต่างประเทศให้เป็นโครงการ AICO แบ่งเป็นโครงการระหว่างประเทศไทยกับประเทศอาเซียนต่าง ๆ ดังนี้ โครงการ ระหว่าง จำนวน โครงการ มูลค่าการนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐ) มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ) ดุลการค้า (ล้านเหรียญสหรัฐ) ไทย-มาเลเซีย 17 78.46 72.55 -5.91 ไทย-อินโดนีเซีย 10 96.55 154.48 53.04 ไทย-ฟิลิปปินส์ 14 177.18 153.91 -23.28 ไทย-สิงคโปร์ 2 18.26 9.31 -8.95 หมายเหตุ มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 1 โครงการ เนื่องจากในการคำนวณมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก จำเป็นต้องแยกโครงการของบริษัท Matsushita ระหว่างไทย-มาเลเซีย-ฟิลิปปินส์ ออกเป็น 2 โครงการ (ตาม AICO Monitor ของสำนักเลขาธิการอาเซียนคิดเป็น 1 โครงการ) 5. การสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้ประโยชน์จากโครงการ AICO - ยกเว้นเป็นการชั่วคราวต่อหลักเกณฑ์ที่กำำหนดให้อาเซียนต้องถือหุ้นภายใต้ โครงการ AICO อย่างน้อยร้อยละ 30 สำหรับคำขอโครงการ AICO ที่ยื่นในช่วงปี 1999-2000 - เร่งรัดระยะเวลาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารรณาโครงการ AICO โดยลดระยะเวลา ในการพิจารณาคำขอโครงการ AICO จาก 60 วัน เป็น 45 วัน การออก COE จาก 14 วัน เป็น 10 วัน และการดำเนินการเรื่องภาษีจาก 60 วัน เป็น 45 วัน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ AICO เพิ่มขึ้น - กล่าวโดยสรุป ขณะนี้มีบริษัทฯ ต่างๆ ในอาเซียนยื่นเสนอขอโครงการ AICO ทั้งสิ้น 75 โครงการ มีโครงการที่ไทยเข้าร่วมด้วย 53 โครงการ โดยคณะกรรมการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับต่างประเทศได้อนุมัติไปแล้ว 42 โครงการ 6. แนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการ AICO ของอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ขนาดเล็ก (SMEs) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 31 เมื่อวันที่ 27 กันยายน - 2 ตุลาคม 2542 มีมติให้บริษัทการค้า (Trading company) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) สามารถเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ ทั้งนี้ การยินยอมอนุมัติให้บริษัทการค้าเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ ก็เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถเข้าร่วมโครงการ AICO ได้ เนื่องจากขณะนี้ SMEs ประสบปัญหาสำคัญในการเข้าร่วมโครงการ AICO โดยมีข้อจำกัดในการดำเนินการด้านช่องทางการตลาด และไม่สามารถจับคู่เพื่อแลกเปลี่ยนการผลิตสินค้าในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น การพิจารณาหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ AICO ของ SMEs ได้ยึดหลักการปฏิบัติเป็นพิเศษ และมีความยืดหยุ่น โดยไม่ต้องมีหลักเกณฑ์ร่วมของ อาเซียน แต่ให้ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการ AICO ของ SMEs กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) ความเป็นมา 1. ประเทศอาเซียนได้ร่วมกันลงนามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 (ASEAN Summit) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เดือนธันวาคม 2541 ร่างความตกลงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ให้มีระบบการขนส่ง ผ่านแดนที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1.1 กรอบความตกลงฉบับนี้จะใช้กับการขนส่งสินค้าผ่านแดน สำหรับการขนส่งข้ามแดนจะแยกจัดทำเป็นกรอบความตกลงอีกฉบับต่างหาก 1.2 ภาคีคู่สัญญาจะได้รับสิทธิพิเศษในการขนส่งผ่านแดนโดยได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีและค่าบริการอื่นๆ เว้นแต่ที่เก็บเพื่อบริการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งดังกล่าว 1.3 ภาคีคู่สัญญาจะกำหนดเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านแดนโดยจัดทำพิธีสารแนบท้าย กรอบความตกลง 1.4 ภาคีคู่สัญญาจะกำหนดสถานที่ทำการชายแดน ณ จุดชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผ่านแดน 1.5 ภาคีคู่สัญญาจะพยายามดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อประสานกฎระเบียบจราจรใช้บังคับในดินแดนของตนให้เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนนปี ค.ศ. 1968 และอนุสัญญาว่าด้วยป้ายและสัญญาณทางถนนปี ค.ศ. 1968 1.6 พาหนะที่ใช้ในการขนส่งผ่านแดนทางถนนจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคของรถเกี่ยวกับขนาดรถ น้ำหนักรถ น้ำหนักบรรทุกสูงสุด การปล่อยไปเสีย ตามที่กำหนดไว้ในพิธีสารแนบท้ายกรอบความตกลง 1.7 ภาคีคู่สัญญาจะยอมรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถซึ่งใช้ในการขนส่งผ่านแดนที่ออกให้โดยภาคีคู่สัญญาอื่นตามความตกลงว่าด้วยการยอมรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถที่ใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับรถบรรทุกสินค้าและรถบริการสาธารณะที่ออกโดยประเทศสมาชิกอาเซียน 1.8 ภาคีคู่สัญญาจะยอมรับใบอนุญาตขับขี่รถซึ่งออกให้โดยภาคีคู่สัญญาอื่นตามความตกลงว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับขี่ภายในประเทศที่ออกให้โดยประเทศสมาชิกอาเซียน 1.9 รถที่วิ่งเข้าดินแดนของภาคีคู่สัญญาอื่นจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการประกันภัยรถในส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลที่สาม 1.10 ภาคีคู่สัญญาจะจัดตั้งระบบศุลกากรผ่านแดนเพื่ออำนวยความสะดวกในการ เคลื่อนไหวของสินค้าในดินแดนตน 1.11 ภาคีคู่สัญญาจะจัดตั้งมาตรการเกี่ยวกับการตรวจโรคในคนและพืช โดยกำหนดราย ละเอียดในพิธีสารแนบท้ายกรอบความตกลง 1.12 ภายใต้กรอบความตกลงนี้ไม่อนุญาตให้ทำการขนส่งสินค้าอันตรายผ่านแดน เว้น แต่ได้รับใบอนุญาตพิเศษจากภาคีคู่สัญญาผู้รับ 1.13 ภายใต้กรอบความตกลงนี้ไม่อนุญาตให้ทำการขนส่งสินค้าต้องห้ามหรือสินค้าที่ ถูกจำกัดผ่านดินแดนภาคีคู่สัญญา 1.14 ภาคีคู่สัญญาจะพยายามอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่าย 1.15 ภาคีคู่สัญญาจะต้องใช้กฎหมายและระเบียบภายในประเทศเกี่ยวกับการขนส่ง สินค้าอย่างเท่าเทียม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อการขนส่งผ่านแดน 1.16 พาหนะที่ใช้ในการขนส่งของภาคีคู่สัญญา รวมทั้งบุคคลและสินค้า เมื่ออยู่ใน ดินแดนของภาคีคู่สัญญาอื่น ให้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบภายในประเทศที่ ใช้บังคับในดินแดนนั้น 1.17 หากพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง รวมทั้งบุคคลและสินค้าของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เกิดอุบัติเหตุในการจราจรในดินแดนของภาคีคู่สัญญาอื่น ภาคีคู่สัญญาอื่นนั้นจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่พาหนะ รวมทั้งบุคคลและสินค้า และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของภาคีคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว 1.18 ให้จัดตั้งคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ (National Transit Transport Coordinating Committee) ในภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่าย เพื่อให้การประสานงานและการดำเนินการมีประสิทธิภาพ 1.19 ให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการบริหารการประสานการขนส่งผ่านแดน (Transit Transport Coordinating Board) ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสจากภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่าย รวมทั้งผู้แทนจาก สำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อทำหน้าที่ดูแลการประสานงานและดำเนินการตามความตกลงในภาพรวม 1.20 การระงับข้อพิพาทระหว่างภาคีคู่สัญญา ให้ใช้บทบัญญัติแห่งความตกลงอาเซียนว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท ซึ่งทำ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 1.21 กรอบความตกลงนี้หรือการปฏิบัติตามกรอบความตกลงนี้จะไม่กระทบสิทธิและข้อผูกพันที่ภาคีคู่สัญญามีภายใต้ความตกลงหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศใดๆ ซึ่งภาคีคู่สัญญาเป็นสมาชิกอยู่ 1.22 กรอบความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับ เมื่อภาคีคู่สัญญาทั้งหมดได้ส่งหนังสือสัตยาบันหรือสารการยอมรับให้เลขาธิการอาเซียนเก็บรักษาไว้ ทั้งนี้ กรอบความตกลงนี้ห้ามทำข้อสงวนไม่ว่าในเวลาลงนามหรือให้สัตยาบัน 1.23 ภายหลังการลงนามกรอบความตกลง คณะทำงานอาเซียนที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทำพิธีสารแนบท้ายความตกลง 9 ฉบับ ดังนี้ พิธีสารฉบับที่ 1 Designation of Transit Transport Routes and Facilities (กำหนดเส้นทางการขนส่งผ่านแดนและจุดอำนวยความสะดวก) พิธีสารฉบับที่ 2 Designation of Frontier Posts (กำหนดด่านพรมแดนสำหรับเข้า-ออก) พิธีสารฉบับที่ 3 Types and Quantity of Road Vehicles (ประเภทและปริมาณของรถ) พิธีสารฉบับที่ 4 Technical Requirements of Vehicles (ข้อกำหนดทางเทคนิคของรถ) พิธีสารฉบับที่ 5 ASEAN Scheme of Compulsory Motor Vehicle Third-Party Liability Insurance (แผนประกันอุบัติภัยทางรถภาคบังคับของอาเซียนในส่วนของ ความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม) พิธีสารฉบับที่ 6 Railways Border and Interchange Stations (จุดผ่านแดนสำหรับรถไฟและสถานีชุมทาง) พิธีสารฉบับที่ 7 CustomsTransit System (ระบบศุลกากรผ่านแดน) พิธีสารฉบับที่ 8 Sanitary and Phytosanitary Measures (การจัดตั้งมาตรการเกี่ยวกับการตรวจโรคในคนและพืช) พิธีสารฉบับที่ 9 Dangerous Goods (สินค้าอันตราย) 2. แผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action : HPA) กำหนดให้ประเทศอาเซียนเริ่มดำเนินการตามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ภายในปี 2543 (ค.ศ.2000) โดยให้ดำเนินการจัดทำพิธีสารที่เกี่ยวข้องรวม 9 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนธันวาคม ปี 2542 (ค.ศ.1999) ความคืบหน้าการจัดทำพิธีสารแนบท้าย (Protocol) 9 ฉบับ ของกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน 3. ขณะนี้พิธีสารฯ ฉบับที่ 3 และ ฉบับที่ 4 ได้ร่างเสร็จแล้ว และรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน (ATM) ได้ลงนามในเดือนกันยายน 2542 สำหรับพิธีสารฯ อีก 7 ฉบับ ที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการร่างโดยอาเซียนสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านการขนส่ง ด้านการเกษตร ด้านพิธีการศุลกากร ทั้งนี้คาดว่าพิธีสารฯ เหล่านี้จะร่างเสร็จภายในปี 2543 เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกรอบความ ตกลงให้ได้ภายในปี 2543 ซึ่งระบุไว้ในแผนปฏิบัติการฮานอย ที่มา : สำนักความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าภูมิภาค / กลุ่มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการค้าอาเซียน / มิถุนายน 2543 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์/ ธันวาคม 2540 / [Online] Available URL ; http://www.moc.go.th/thai/dbe/ AFTA ความเป็นมา ในปีพ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความ ตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT)Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA) เพื่อจัดตั้งเขตการค้า เสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างควาสามารถในการแข่งขันให้กับ สินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM : ASEAN Aconomic Ministers) ครั้งที่ 26 ปีพ.ศ. 2537ได้มีมติให้ร่มระยเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ 10 ปี และให้นำสินค้าเกษตร ไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษีรวมทั้งนำสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาทยอยลดภาษีด้วย เป้าหมาย ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 และยกเลิกมาตราการที่มิใช่ภาษีศุลากากรใน 10 ปี (พ.ศ. 2536-2546) ขอบเขตสินค้า ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั้นคงศิลธรรม ชีวิตและศิลปะ หลักการดำเนินการ การลดภาษี แบ่งสินค้าออกเป็น 4 กลุ่ม สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 7 ปี (พ.ศ. 2536-2543) มี 15 สาขาสินค้าได้แก่ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟพ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ และหวาย นำมันพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและผลิตภัณฑ์แก้ว เภสัชภัณฑ์ และแคโทดที่ทำจาก ทองแดง สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track)ลดภาษีลงให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 10 ปี (ฑ.ศ. 2536-2546) สินค้ายกเว้นชั่วคราว (Temporary Exclusion List) ได้แก่สินค้าที่แต่ละประเทศสงวนสิทธิ์ไม่ลดภาษีชั่วคราว แต่จะทยอยนำมาลดภาษีภายใน 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539-2543 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและการเกษตรแปรรูป และทยอยนำมาลดภาษีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2546 สำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ทั้งนี้อัตราภาษีสุดท้ายจะลดลงร้อยละ 0-5 เช่นกัน สินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) ได้แก่สินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่มีการตกลงให้เริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าอื่นๆ คือเริ่ม ลดลงตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544 และลดเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงได้แก่ ข้าวและนำตาล ซึ่งมีมาตราการพิเศษโดยเฉพาะเช่น เริ่มลดช้ากว่าอัตราภาษีสุดท้ายสูงกว่าร้อยละ 0-5 เป็นต้น การลด / เลิกมาตราการที่มิใช่ภาษี ยกเลิกมาตราการจำกัดด้านปริมาณเมื่อสินค้านั้นรลดภาษีอยู่ที่ระดับร้อยละ 20 หรือตำกว่า และยกเลิกมาตราการที่ มิใช่ภาษีอื่นภายใน5 ปีต่อมา เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ 1. สินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ จะต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในรายการที่ลดภาษีและมีแผนการ ลดภาษีที่ได้รับความเห็นชอบ จากรัฐมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) 2. ประเทศนั้นจะต้องลดภาษีของตนในสินค้าชนิดเดียวกันให้เหลือร้อยละ 20 หรือต่ำกว่า จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ การลดภาษีสินค้านั้นจากประเทศอื่นอย่างไรก็ตามในกรณีที่ยังลดภาษีลงมาไม่ถึงร้อยละ 20 ก็ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศอื่น ที่ยังลดภาษีลงมาไม่ถึงร้อยละ20 ในสินค้าเดียวกัน 3. สินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์จะต้องเป็นตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า คือ จะต้องมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายใน อาเซียนอย่างน้อยร้อยละ 40 สำหรับสสินค้าสิ่งทอ ผู้ส่งออกสามารถเลือกใช้กฎเกณฑ์การแปรรูปในสาระสำคัญ (Substantial Transformation) ก็ได้ 4. ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จะต้องกรอบแบบใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า(form D) ที่ออกโดยหน่วยงานทีร่มีอำนาจในการ ออกใบรับรองของประเทศผู้ส่งสินค้านั้น (สำหรับไทยคือกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) พันธกรณีของสมาชิกใหม่ ประเทศสามาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่เวียดนาม ลาวและพม่า จะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงต่างๆ ของอาเซียน ทุกฉบับรวมทั้งความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ CEPT Agreement ทั้งนี้ประเทศทั้งสามจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ทั้งด้านการลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีเช่นเดียวกับสมาชิกอื่นๆ แต่ได้รับการผ่อนผันระยะเวลา ในการดำเนินการยาวนานกว่าเนื่องจากทั้งสามประเทศเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนทีหลัง จึงเริ่มดำเนินการช้ากว่า เช่น ในกรณีลดภาษีสินค้า อุตสาหกรรม และเกษตรแปรรูป เวียดนามซึ่งเข้าเป็นสมาชิกปี พ. ศ. 2538 หลังจากเริ่มดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน 3 ปี ก็มีเวลา ในการลดภาษีนานกว่าสมาชิกดั้งเดิม 3 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2549 ส่วนลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนปีพ.ศ. 2540 ก็มีเวลาลดภาษีจน ถึงปี พ.ศ. 2551 เป็นต้น ผลการดำเนินการ ในปีพ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) ตามแผนการลดดภาษีของอาเซียน มีการนำสินค้าเข้ามาลดภาษีทั้งหมด 45,762 รายการหรือ ร้อยละ 90 ของจำนวนรายการทั้งหมด ทั้งนี้อัตราภาษีของอาเซียนในปีพ.ศ. 2540 เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 6.38 ลดลงจากร้อยละ 12.76 ในปีพ.ศ. 2546 จะมีอัตราเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.55 มาตราการที่มิใช่ภาษี อาเซียน ได้ตกลงยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ (surcharge) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 และกำลังดำเนินการ ยกเลิกมาตราการที่มิใช่ภาษีอี่นๆ เช่น ปรับประสานมาตรฐานสินค้าให้ใกล้เคียงกัน จัดทำความตกลงการยอมรับซึ่งกันและกันในเรื่อง มาตรฐานและความสอดคล้อง ปรับประสานมาตรการด้านสุขอนามัย เป็นต้น ไทยได้อะไรจาก AFTA 1. การเสริมสร้างสถานะการแข่งขัน การนำเข้าวัตถุถดิบในราคาต้นทุนต่ำ การขยายตลาดการผลิตสินค้าที่แต่ละประเทศมีความ เชียวชาญและได้เปรียบด้านต้นทุน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคนโลยีที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศจะทำให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ ในราคาต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสถานะการแข่งขันการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ 2. การลงทุน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดการลงทุน จากต่างประเทศและก่อให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศ สมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม ลาว และพม่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานราคาไม่สูง รนวมทั้งมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค และปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในระดับค่อนข้างสูง การเข้ารวมตัวกับอาเซียนของประเทศทั้งสาม จึงเท่ากับเป็นการสร้างศักยภาพในการขยายตัวทางการค้าการลงทุนให้กับอาเซียนโดยเฉพะประเทศ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิด และมีความสัมพันธ์ ทางการค้า การลงทุน ระหว่างกันมาช้านานน่าจะมีโอกาสและได้เปรียบประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ทั้งในการโยกย้ายฐาน ผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานมาก การเข้าไปลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐาน และการเป็นประตูสู่ประเทศทั้งสาม 3. การขยายการค้า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำหนดให้ลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศ สมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียนเพิ่มข้น ทั้งสินค้าสำเร็จรูป สินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ โดยมีสินค้าที่คาดว่าประเทศไทย จะมีความได้เปรียบและสามารถส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ปูนซีเมนต์ สิ่งทอบางชนิด อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด 4. การเสริมสร้างอำนาจการต่อรอง การจัดตั้งเขตการค้าอาเซียนเป็นการแสดงเจตนารมณ์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือภายในกลุ่มแล้วยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย ที่มา : สำนักความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าภูมิภาค / กลุ่มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการค้าอาเซียน / มิถุนายน 2543 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์/ ธันวาคม 2540 / [Online] Available URL ; http://www.moc.go.th/thai/dbe/ และ [Online]. Available.: http://library.sk.ac.th/digital/org.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0