สรุปเนื้อหาวิชา PS 708


สรุปเนื้อหาวิชา PS 708
พนมไพร ปารมี รหัส 4322800629
องค์การและการจัดการ หรือ Organization and Management แนวข้อสอบเก่า จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้

    The principles of Administration School 
    หลักการของโรงเรียนบริหาร คือเป็นการศึกษาการบริหารองค์การตามแนวคิดของนักทฤษฎีการบริหาร
ที่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหลักการทั่วไปของการบริหารในภาพรวมขององค์การเป็นการศึกษาในระดับมหาภาค ถือเป็นความพยายามพื้นฐานของนักทฤษฎีการบริหารในอันที่จะหากฏเกณฑ์ทั่วไปเพื่อนำมา สร้างรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุดให้กับองค์การ การสร้างหลักการทั่วไปดังกล่าวเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากทั้งนี้นี้เพราะว่าในการบริหารองค์การใดๆแต่ละองค์การมีเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไป หลักการบริหารจะมีอยู่มากมายแล้วแต่ผู้บริหารจะเลือกนำมาบริหารให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ขององค์การนั้น จึงได้มีโรงเรียนการบริหาร


    The Hawthorne Study
     คือการศึกษาของ Elton Mayo ที่บริษัท Western Electric Company โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ(Physical Environment)กับผลิตภาพในการทำงาน (Productivity)ซึ่ง Elton Mayo เชื่อว่าถ้ามีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภายในการทำงานจะทำให้การทำงานของคนเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม โดยใช้แสงสว่างและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนดสภาพแวดล้อม จากผลการทดลองพบว่าการทำงานของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทำให้พบว่าอิทธิพลของกลุ่มมีผลต่อมาตรฐานในการทำงานของสมาชิกกลุ่ม และการที่คนจะทำงานมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความคิดเห็นภายในของบุคคล โดยความคิดเห็นของบุคคลก็จะถูกครอบงำจากกลุ่ม ผลจากการศึกษา The Hawthorne Study นำไปสู่การศึกษาองค์การและการบริหารแนวใหม่เกิดทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neoclassical Theory of Management ) ซึ่งเน้นการศึกษาในเรื่องของพฤติกรรมองค์การ(Organization Behavior) พบว่า ความสุขของลูกจ้างจะนำมาซึ่งผลิตภาพในการทำงานของลูกจ้าง

    Industrial Humanism
     เป็นแนวทางการศึกษาของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มมนุษย์นิยม (Industrial Humanism) โดยให้ความสำคัญไปที่ลักษณะและความต้องการ
ของปัจเจกบุคคลและกลุ่มในองค์การ การหาสิ่งจูงใจ และการสร้างระบบที่จะให้สมาชิกในองค์การเกิดความพอใจ บางทีเรียกนักทฤษฎีในแนวทางนี้ว่าเป็นพวกที่มีแนวคิดแบบมนุษย์สัมพันธ์(Human Relations Approach)หรือบางทีถูกเรียกว่าเป็นนักทฤษฎีกลุ่ม Neoclassical Organization Theory สรุป การศึกษาของ Industrial Humanism เป็นการมององค์การในระดับ ไมโคร
1.โดยได้ให้ความสำคัญกับความต้องการของปัจเจกบุคคล(Individual)
2.อิทธิพลในองค์การ
3.สนในกระบวนการเลี้ยงดูของบุคคล(Socialization)
4.สนใจบุคลิกภาพของบุคคลในองค์การ (Personality) ส่วนความหมายของแต่ละอ่านได้ในหนังสือ (นม)


    Contingency Theory 
    เป็นทฤษฎีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากแนวคิดในเชิงระบบ ให้ความสำคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อมและพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์ภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ บางที่จะเรียกว่า องค์การและการบริหารตามสถานการณ์(Situational Approach) ประกอบไปด้วย
    1.ปฏิเสธหลักการ One best way โดยไม่เชื่อว่ามีวิธีการทำงานที่ดีที่สุด
    2.Apply System Theory นำแนวคิดเชิงระบบมาใช้ มองว่าองค์การมีระบอบย่อยที่ต่างกันตามสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมาย และตามวิธีการจัดสรรทรัพยากรส่งผลให้โครงสร้างองค์การมีความแตกต่างกัน
    3.ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงองค์การกับสิ่งแวดล้อม
    4.มองว่าองค์การที่ดีอาจจะมีได้หลายรูปแบบ
    5. ใช้แนวคิดระบบเปิดเป็นแนวคิดในการศึกษา

      The Action Approach
       เป็นทฤษฎีที่เน้นการกระทำ มองว่าองค์การเป็น Hard Science มองว่าการศึกษาเกี่ยวกับองค์การและการจัดการนั้นเป็น
    Natural Science หรือเป็นศาสตร์ ธรรมชาติ Action Theory นั้นมองว่าSocial Science แต่เป็นศาสตร์ธรรมชาติเนื่องจาก 1. ทุกอย่างที่มนุษย์ทำนั้นแล้วแต่มีความหมาย 2.และมนุษย์เองเป็นผู้ให้ความหมายกับการกระทำนั้น รวมทั้งการกระทำต่างๆในองค์การมนุษย์ก็ให้ความหมาย
    สรุป 1.การกระทำทางสังคม มีความแตกต่างจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เพราะมนุษย์เป็นผู้ให้ความหมายต่างๆ
    2.นอกจากนี้ Action Approach มองว่าการกระทำของมนุษย์มีความหมายต่างจากการกระทำของสัตว์
    3.การศึกษาปรากฎการณ์ทางสังคมจะต้องให้ความสำคัญกับความหมายที่เกิดจากการกระทำของปัจเจกชน(Meaning)ปฏิเสธกฎเกณฑ์ที่ตายตัว
    4.ความหมายของแต่ละปัจเจกบุคคลอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับการให้ความหมายของแต่ละปัจเจกบุคคล
    5.เน้นผู้นำในการให้ความหมาย
    6.ทฤษฎีนี้ต้องการเน้นการให้ความหมายของปัจเจกชนต่อสถานการณ์ต่างๆ(Identifying of Common Pattern or Roles)

      The Action Perspective
       เชื่อว่า

    1.บุคลากรในองค์การเป็นเพียงมิติหนึ่งของระบบการบริหาร
    2.ค่านิยมปะปนอยู่กับการกระทำเสมอ
    3.การกระทำจะมีผบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดการยอมรับและเกิดภาวะความรับผิดชอบต่อการกระทำ
    4.ผู้บริหารที่ดีจะต้องกระทำสิ่งต่างๆให้คนในองค์การยอมรับ หรือเรียกว่า Proactive Style ดังนั้นผู้บริหารบางครั้งอาจจะไม่ได้ทำในสิ่งที่ดีที่สุดแต่ทำในสิ่งที่คนยอมรับมากที่สุด ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้บางครั้งถูกเรียกว่าการเมือง

      Intrinsic Motivation 
      แรงจูงใจภายใน เช่น ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ A.H.Maslow ที่อธิบายว่าความต้องการของมนุษย์มีลำดับขั้นจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูงสุดแบ่งออก เป็น 5 ลำดับดังนี้

    1.ความต้องการทางด้านกายภาพ (Physiological Needs) เป็นความต้องการทางด้านร่างกายที่สามารถบำบัดได้ในเวลารวดเร็ว เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่นอยากพักผ่อนถ้าได้พักผ่อนก็จะหาย ถ้าหิวก็จะหายหิว
    2.ความต้องการในด้านความปลอดภัย (Safety Needs) เช่นการที่เรามาเรียนหนังสือก็เพื่อต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต เช่นกัน คือการมีการงานที่มั่นคง
    3.ความต้องการทางด้านสังคม(Social Needs) คือความต้องการทางด้านสังคมต้องการมีเพื่อน มีสังคม มีคนที่ช่วยในการปรึกษาปัญหาต่างๆ
    4.ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับ(Status หรือ Esteem Needs) เช่นความต้องการมีชื่อเสียง ก้าวหน้า
    5.ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในอุดมคติ หรืออุดมการณ์(Self-Actualization Needs) คือความต้องการที่จะทำให้สิ่งที่คิดฝันเป็นความจริง เป็นความต้องการขั้นสูงสุดที่ต้องการอยากจะให้เป็น

      Equity Theory คือทฤษฎีความเสมอภาค
       เป็นทฤษฎีที่มีส่วนสัมพันธ์กับพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การในเรื่องแรงจูงใจ

    โดยผู้ปฏิบัติจะต้องได้รับทรัพยากรในการบริหาร ผลตอบแทนต่างๆ ในการบริหารตลอดจนโอกาสต่างๆในองค์การโดยเสมอภาคเท่าเทียมกันในกฎระเบียบขององค์การ ความเสมอภาคในโอกาส - การฝึกอบรม - ประสบการณ์ - การเรียนรู้ - ความเทียมความเสมอภาคในการเลื่อนตำแหน่งเป็นต้น

      Operant Conditioning Theory
       ทฤษฎี เงื่อนไขในการในการศึกษาแรงจูงใจของบุคคลในองค์การจะพบว่าบุคคลจะมีเงื่อนไขในการทำงาน เช่น ถ้าทำได้เท่ามาตรฐานจะได้รับโบนัส หรืออาจจะมีการจูงใจว่าถ้าใครทำงานได้บรรลุเป้าประสงค์จะได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ นั้นคือเงื่อนไขในการจูง คำถาม ท่านคิดว่าการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อการพัฒนาองค์การ การเปลี่ยนระบบการบริหารและการพัฒนาบุคคลเรืองใดสำคัญกว่า กันจงอธิบายและมีลักษณะที่แตกต่างกันของแนวคิดอย่างไร ถ้าให้ท่านเป็นผู้บริหารท่านจะเลือกรูปแบบใดในการพัฒนาองค์การ โครงสร้างขององค์การ คือ การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างภาระกิจหรือกลุ่มงานต่างๆ ให้สัมพันธ์กันเพื่อให้องค์การดำเนินไปตามเป้มหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ระบบการบริหาร(Administration or Management) หมายถึงการใช้ความพยายามร่วมกันาของมนุษย์เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันมีเป้าหมายที่กำหนดไว้และมีการใช้ทรัพยากรโดยกระบวนการดังกล่าวที่ต้องเกิดขึ้นในองค์การ การบริหารงานบุคคลหรือการพัฒนาบุคคล ก็เป็นหน้าที่อีกประการหนึ่งของการเอาคนเข้าสู่องค์การ หรือหน้าที่ Staffing ซึ่งต้องพัฒนาคนดูแลคนตั้งแต่เข้าทำงานจนกระทั่งออกไปจากองค์การ จากการให้ความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่าทุกส่วนมีความสำคัญมากที่จะทำให้องค์การพัฒนาไปสู่เป้าหมายขององค์การ ไม่จะเป็นโครงสร้างขององค์การ การพัฒนาบุคคล รวมทั้งการบริหารองค์การ แต่ในส่วนของโครงสร้างขององค์การนั้นจะมีความสำคัญมากในองค์การยุคเก่าจะให้ความสำคัญกับโครงสร้างองค์การเป็นอย่างมาก โดยมองว่าโครงสร้างขององค์การนำมาซึ่งความสำเร็จในการบริหารงาน ดังนั้นจึงพยายามพัฒนาโครงสร้างขององค์การให้มีมาตรฐาน มีความชัดเจน เขียนแผนภาพ ความสัมพันธ์ได้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในโครงสร้างขององค์การสมัยใหม่มีภารพกิจมักจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย โครงสร้างจึงต้องมีความยืดหยุ่นสูงปรับเปลี่ยนได้ง่ายตามไปด้วย ภาพรวมของโครงสร้างขององค์การจะหมายถึง ความสัมพันธ์ที่เป็นภาพรวมที่ค่อนข้างคงที่ถาวรและปรากฎอยู่ท่ามกล้างองค์ประกอบหลายๆอย่างเช่น ระเบียบ กระบวนการ ระบบสวัสดิการที่ใช้อยู่ในองค์การ โครงสร้างจะสามารถบอกถึงภาระกิจระเบียบและระบบต่างๆการจะเกิดโครงสร้างองค์การนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทีจะจัดโครงสร้างหรือการจัดรูปองค์การหรือ Organizing ขึ้นมา การจัดรูปองค์การคือความพยายามที่จะกำหนดแบบแผนและแนวทางเพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดเป็นให้องค์การเติบโตเกิดโครงสร้างเฉพาะขึ้น

        William Mclarney 
        กล่าวว่าการจัดรูปองค์การเป็นการวางระเบียบให้กิจกรรมต่างๆขององค์การสมดุลกันโดยกำหนดว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
      ทั้งนี่เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุตามแผนที่กำหนดไว้

        Joan Woodward พบว่า

        1.ความสำเร็จขององค์การไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์การเพราะจากการสำรวจพบว่าองค์การที่มีความสำเร็จในการทำงานสูงกับองค์การที่ประสบความสำเร็จในการทำงานต่ำนั้น โครงสร้างอาจจะไม่ได้แตกต่างกัน
        2. ประสิทธิผลขององค์การขึ้นอยู่กับการจัดรูปโครงสร้างให้เหมาะสมกับระบบการผลิตหรือเทคโนโลยี ที่องค์การนั้นใช้
        3.ระบบการผลิตเป็นตัวกำหนดปัจจัยด้านโครงสร้างหรือโครงสร้างจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับปัจจัยในการผลิต จากข้อมูลเบื้องต้นถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้บริหารองค์การจะเลือกรูปแบบการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อพัฒนาองค์การให้เหมาะสมกับการผลิตระดับการผลิตหรือเทคโนโลยี่ที่องค์การมีเพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลขององค์การ
        คำถาม กล่าวโดยสรุปเพราะว่ายาวมาก คือว่า มีองค์การอยู่องค์การหนึ่งมีผู้บริหารที่อ่อนแอไม่เอาถ่านไม่ขี้เถา แต่คิดว่าตัวเองเก่งมีคุณภาพแต่ไม่ได้เรื่องซักอย่างปล่อยให้คนใกล้ชิดเป็นคนจูงจมูกและหาผลประโยชน์ใส่ตัวเองและกลุ่มนำทรัพยากรขององค์การมาบำเรอความสุขของตนและกลุ่มยุแย แตกความสามัคคี ข่มขู่ คนอื่นใครอยากได้ดีต้องเซ่นไหว้ไร้ประสิทธิภาพประสิทธิผล นี่คือโจทย์โดยสรุป
        1.ปัญหาขององค์การที่ยกมาคืออะไร? เป็นปัญหาจากการขาดความสามารถของผู้บริหารคือ
        - ผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะคิดนำองค์การไปสู่เป้าหมายขององค์การ
        - ผู้บริหารขาดการประสานงานที่ดี
        - ผู้บริหารขาดการวางแผนที่ดีจึงเกิดปัญหาในการดำเนินการ
        - ขาดภาวะผู้นำของผู้บริหาร
        - มีปัญหาในการสร้างความร่วมมือร่วมใน
        2.ให้วิเคราะห์ลักษณะของบุคคลในองค์การ เป็นลักษณะของการก่อให้เกิดการเล่นการเมืองในองค์การ เพราะพฤติกรรมของบุคคล มีพฤติกรรมที่สร้างปัญหา คือ
        - การชิงดีชิงเด่น องค์การใดมีการชิงดีชิงเด่นกันมา โอกาสที่จะเกิดการเมืองภายในองค์การก็จะมีสูง โดยแต่ละคนก็พยายามเข้าไปแสดงความดีของตนเองให้ผู้นำรับทราบ มีการแย่งผลงานซ้ำร้ายยังมีการซักจูงผู้นำไปในทางที่ผิด
        - ปฏิบัติงานขาดศักยภาพ เมืองบุคคลทำงานขาดศักยภาพแล้วก็พยายามเล่นการเมืองเพื่อรักษาสถานภาพของตนเอง ว่ามีผลงานว่าดี
        - ขาดความรับผิดชอบ คือการไป ปฏิษัติหน้าที่ของตน เช่นไม่ทำงานในหน้าที่แต่ไปยุ่งกับงานของคนอื่น หรือหนีงานเอาตัวรอด
        - หลีกเลี่ยงงาน ด้วยเหตุนานๆประการ
        - ไม่พยายามพัฒนาตัวเอง เช่นผู้บริหาร
        - ชอบวิพากษ์วิจารณ์ บางคนชอบวิจารณ์แต่ตนก็ทำไม่ได้
        3.ให้วิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มบุคคลในองค์การ
        -ประเภทของกลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นทางการแบ่งได้ เป็น
        กลุ่มตามสายการบังคับบัญชา คือกับกลุ่มคณะกรรมการหรือกลุ่มเฉพาะกิจ
        กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มเพื่อน เช่น กลุ่มเล่นกีฬา
          เหตุผลการเกิดกลุ่มก็เกิดจาก

        1.เหตุผลด้านสถานที่ เช่นนักศึกษา มร.เลย
        2. ด้านเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มคนจน คนรวย
        3.กลุ่มจิตวิทยาและสังคม และ
        4. กลุ่มเหตุผลด้านความมั่นคง เช่น หมู่บ้าน อพป.
        ตามโจทย์ลักษณะการเกิดกลุ่มจากเหตุตามข้อ 3. 
        คือเมื่อผู้บังคับบัญชาไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาการบริหารได้ก็ต้องมีการรวมกลุ่มด้านต่างๆเพื่อความอยู่รอด มีการจับกลุ่มนินทาเจ้านาย ซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ
        4.ให้วิเคราะห์ลักษณะขององค์การนี้ องค์การ หมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการบริหารอันได้แก่ทรัพยากรที่เป็นมนุษย์ เงิน วัสดุสิ่งของ และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ แต่จากสภาพขององค์การตามโจทย์ข้างต้นนั้นเป็นองค์การที่มีปัญหาคือผู้นำขาดภาวะการเป็นผู้นำมีปัญหาด้านบุคลากรในองค์การที่หวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์การจะต้องมีการวิเคราะห์พฤติกรรมองค์การอย่างท่องแท้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
        5.ให้หาแนวทางในการบริหารองค์การแห่งนี้ จะต้องมีการจัดหาผู้บริหารที่มีภาวะของผู้นำเข้าบริหารองค์การ หมายถึงผู้นำที่มีกระบวนการในการบริหารที่จะมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของกลุ่ม โดยพยายามหาวิธีการที่จะนำกลุ่มไปสู่จุดหมายและความสำเร็จ เพราะฉะนั้นบุคคลที่มีภาวะผู้นำจะต้องมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น ลิกเคิร์ท (Rensis Likert) กล่าวว่าผู้บริหารจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
        1.ระบบการใช้อำนาจหน้าที่ รู้จักใช้อำนาจในการควบคุมบังคับหรือเพิกเฉยในบางครั้ง
        2.ระบบการปกครองมนุษย์ที่มีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้นคือเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก คือปกครองแบบเกื้อกูลต่างๆมีการเอาใจใส่มากขึ้นมีผลต่อปฏิกริยาโต้ตอบที่ดีขึ้น
        3.ระบบที่ลูกน้องคอยช่วยเหลือให้ผู้จัดการประสบผลสำเร็จ
        4.ระบบการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างพลังในการแก้ไขปัญหาในการทำงาน Likert ว่าแบบที่ 4 ดีที่สุด ข้อสอบปี2541
        1.Classical Organization Theory หรือTradition Organization Theory คือทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกหรือกลุ่มดั้งเดิม ซึ่งต้องการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้เกิดขึ้นในการบริหาร วิธีการค้นหาประสิทธิภาพสูงสุด ได้การใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และหลักเหตุผลเป็นเครื่องมือ พยายามที่จะจำกัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผล และใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเครื่องมือค้นหาวิธีการปฏิบัติงานที่เหมาะสม แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ Scientific Management การจัดการทางวิทยาศาสตร์และPrinciple Administrative กลุ่มหลักการบริหาร ทั้ง 2 กลุ่มมีหลักการร่วมกันคือ Maximized Efficiency มีเป้าหมายที่ประสิทธิภาพสูงสุดขององค์การคือใช้ทุนน้อยประโยชน์มาก One best way คือมองว่าจะมีวิธีการที่ดีทีสุดในการทำงานในภาวะหนึ่งๆเพียงวิธีเดียว Static condition มองว่าการจะใช้วิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานได้นั้นองค์การจะต้องอยู่ในสภาวะที่คงที่ Rational Model ให้หลักเหตุผลในการได้มาซึ่งหลัก One best way
        2. Organization Theory in Transition เป็นทฤษฎีองค์การในยุคของการเปลี่ยนผ่าน ยุคนี้จะเป็นการเปลี่ยนจากยุคเก่าจะเข้าสู่ยุคใหม่แต่กำลังจะเปลี่ยนผ่านไป ยุคนี้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ยุคคลาสสิกว่าเป็นการมองคนเป็นเครื่องจักรไม่ได้มองคนที่พฤติกรรมไม่สนใจศึกดิ์ศรีของความเป็นคนมองว่าการบริหารในยุคคลาสสิกเอารัดเอาเปรียบคนทำงานนักคิดยุคเปลี่ยนผ่านมีหลายคนเช่น Hugo Munsterberg มองว่าการนำคนเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ ในองค์การนั้นบุคลิกภาพ ทัศนคติ ค่านิยมมีความสำคัญสำหรับตำแหน่งต่างๆ มองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาจะสร้างบรรยากาศในการทำงานได้ Elton Mayo การทดลองเรื่อง Hawthorn Study บาร์นารด์ เขียนหนังสือ The Function of Executive มองว่าการสร้างความเข้าใจให้บุคคลในองค์การมีความร่วมมือประสานกัน และผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่สร้างความร่วมมือและการประสานงานกันระหว่างระบบต่างๆในองค์การ
        3. Organization As System คือการศึกษาองค์การในเชิงระบบ เป็นทฤษฎีระบบสามารถใช้เป็นพื้นฐานในอันที่นะรวบรวมความรู้ทางศาสตร์ต่างๆเข้าไว้ด้วยกันเราอาจให้คำจำกัดความของทฤษฎีระบบไว้ว่า ระบบเป็นการจัดการให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างปัจจัยอิสระหรือระบบย่อยตั้งแต่สองดัวหรือมากว่า และปัจจัยอิสระหรือระบบย่อยรวมทั้งตัวระบบดังกล่าวจะต้องมีขอบเขตที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในอันที่จะแบ่งแยกมันออกจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ ทฤษฎีระบบใช้ได้ทั้ง เรื่องทาง กายภาพ ชีวภาพ และสังคม
        โจทย์ องค์การสาธารณะมีปัญหาด้านประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติไม่กระตือรือร้น ใช้ระบบอุปถัมภ์ประชาชนไม่ศรัทธา แก้ไขหน่อย
        ตอบ
        โจทย์องค์การที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะอย่างไร และองค์การที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องพัฒนาหรือไม่ ท่านว่าองค์การแบบใดต้องพัฒนาและมีวิธีการพัฒนาอย่างไร อธิบาย
        ตอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

adstxt.html

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0